วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิปัสสนา พลววิปัสสนาญาณ ภังคญาณ ในปฏิสัมภิทามรรค แปลทับศัพท์เอาองค์ธรรม

#สูตร
อย่างไร คือ การปฏิสังขาอารมณ์ คือ ภังคานุปัสสนาปัญญา  คือ วิปัสสนาญาณ?
(ปฏิสังขา=ญาณทบทวนไตรลักษณ์ คือ ทำแบบญาณที่แล้วนั่นแหละ,
ภังคานุปัสสนาปัญญา=การเห็นขันธ์โดยไตรลักษณ์ต่างๆ และ โดยอนุปัสสนาอีก 4 ด้วย ในระดับตามเห็นภังคานุขณะ[ญาณที่แล้ว ระดับเห็นทั้งอุปาทะ, ทั้งภังคะ],
วิปัสสนาญาณ=พลววิปัสสนาญาณ)
#วุตติ
จิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ใด อุปาทะแล้วย่อมภังคะไป. เมื่อโยคีปฏิสังขาอารมณ์นั้นแล้ว, จึงตามทำวิปัสสนาในจิตนั้นแหละอีกที.
#อุทาหรณ์
(ในวุตติ) ที่ว่า ตามทำวิปัสสนา(อนุปัสสนา 7 ในวิปัสสนาจิต)  นั้น คืออย่างไร?
(ต่อจากจุดนี้แปลเอาอรรถกถาและวิสุทธิมรรคมาใส่ให้หมดเลย)
จิตตามเห็นจิตที่ทำรูปขันธานุปัสสนา โดยอนิจจลักษณะ ไม่ใช่โดยนิจจสัญญา (อนิจจานุปัสสนา) .
จิตตามเห็นจิตที่ทำรูปขันธานุปัสสนา โดยทุกขลักษณะ ไม่ใช่โดยสุขสัญญา (ทุกขานุปัสสนา) .
จิตตามเห็นจิตที่ทำรูปขันธานุปัสสนา โดยอนัตตลักษณะ ไม่ใช่โดยอนัตตสัญญา  (อนัตตานุปัสสนา) .
จึงเบื่อหน่าย(นิพพิทานุปัสสนา) ไม่ใช่ยินดี, จึงละคลาย (วิราคานุปัสสนา)  ไม่ใช่ติดใจ, จึงดับ (นิโรธานุปัสสนา) ไม่ใช่เกิดอีก, จึงสละคืน (ปฏินิสสัคคานุปัสสนา) ไม่ใช่ยึดถือ.
(จิตในที่นี้ คือ วิปัสสนาญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท)
(จากนี้เอาขันธ์ 4 ที่เหลือมาแจกตามข้างต้น และวนธรรมะ 201 แบบญาณก่อนๆ ไม่ได้แปลให้ ดูตามบาลี หรือ ตามเล่มแปลฉบับอื่นได้เลย).
#คาถาสรุป
  1. องค์ของปฏิสังขาวิปัสสนา (3) คือ 1. ญาณทบทวนภังคอนุขณะ(ภังคญาณในทั้งขันธ์เป็นต้น และภังคญาณในวิปัสสนาจิตที่เข้าไปพิจารณาขันธ์นั้นด้วย) + 2. ญาณหลีกออก(วิวัฏฏญาณ) + 3. อาวัชชนะที่มีกำลัง (พลวอาวัชชนะวิถีของพลววิปัสสนาชวนะ).
  2. ปฏิสังขาวิปัสสนา ถือเป็นการววัตถานอารมณ์ทั้ง 2 ว่าเป็นไปตามปัจจุบันธรรม (ปัจจักขธรรม) ที่ทำทำปฏิสังขาวิปัสสนาไปแล้วนั้นด้วย (อตีตขันธ์ อนาคตขันธ์). (ววัตถาน=การแต่งตั้ง, แปลตามวิสุทธิ.ฏีกา. และบัญญัตินิทเทส).
    (ที่ท่านแสดงว่า ปัจจุบัน เท่ากับอดีต เท่ากับ อนาคต ไว้ในที่นี้ เพราะกาลเป็นเพียงบัญญัติ, อุปันนธรรม คือ ธรรมที่มีสังขตลักษณะ เป็นปรมัตถ์ ที่ถูกจิตเอาไปคิดบัญญัติว่าเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน).
  3. วยลักษณวิปัสสนา (วิปัสสนาเห็นลักษณะเสื่อม[วยญาณ]) คือ การอธิมุต(น้อมไป) ในภังคะ.
  4. องค์ของ อธิปัญญาวิปัสสนา (3) คือ 1. การปฏิสังขาในอารมณ์ (ปฏิสังขาวิปัสสนา), 2. การอนุปัสสนาความดับ (ภังคานุปัสสนา), 3. การปรากฎชัดว่าเป็นของสูญ (ว่างเปล่าจากแก่นสารที่สามารถใช้ยึดถือได้จริง).
  5. องค์ของผู้ฉลาดจะไม่มีทางหวั่นไหวไปกับทิฏฐิต่างๆ ...
    (3 ข้อนี้ คือ การทำอนุปัสสนา 7 จนภังคะปรากฎชัดนั่นเอง).
    1. เพราะความฉลาดในอนุปัสสนา 3 (อนิจจานุปัสสนา ฯลฯ), 
    2. เพราะความฉลาดในวิปัสสนา 4 (อนุปัสสนา 4 ข้อหลังที่เหลือของอนุปัสสนา 7 ) 
    3. เพราะความฉลาดในการปรากฎชัดของธรรมะ 3 อย่าง (ขยะ วยะ สุญญะ=สิ้น เสื่อม สูญ=ภังคะ).
วิปัสสนาญาณนั้น เรียกว่า ญาณ เพราะเป็นสภาวะรู้ชำนาญ, เรียกว่า ปัญญา เพราะเป็นสภาวะรู้นัยยะต่างๆ.

โดยคำอธิบายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ(ทั้งวุตติ อุทาหรณ์ คาถาสรุป และสรุปสูตร) จึงกล่าว(สูตร)ว่า "อย่างไร คือ การปฏิสังขาอารมณ์ คือ ภังคานุปัสสนาปัญญา คือ วิปัสสนาญาณ?"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...