วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อย่ากลัวผิดคำพูดว่าจะทำดี แต่ให้กลัวว่าจะไม่ได้ทำดี, คนผิดคำพูดว่าจะทำดี คือ คนที่ทำแล้วพลาด, แต่คนที่ไม่ทำเลย คือ คนชั่วบริสุทธิ์ ไม่มีดีเจือเลย.

อย่ากลัวผิดคำพูดว่าจะทำดี แต่ให้กลัวว่าจะไม่ได้ทำดี, คนผิดคำพูดว่าจะทำดี คือ คนที่ทำแล้วพลาด, แต่คนที่ไม่ทำเลย คือ คนชั่วบริสุทธิ์ ไม่มีดีเจือเลย.

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คนที่อ้างแต่ว่า "ในพระสูตรฟังธรรมจบแล้วบรรลุเลย ไม่ต้องทำฌาน" คือ พวกมานะแรงกล้า ยกตนเสมออุคฆฏิตัญญู

เนยยะบุคคลที่ฟังธรรมามากก็ยังไม่บรรลุ ซ้ำยังขี้เกียจทำฌานเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นอุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู ตามที่พระไตรปิฎก และเนตติปกรณ์แนะนำไว้ มักจะอ้างว่า...

"ในพระสูตร มีคนฟังแล้วบรรลุธรรมกันเยอะแยะ ไม่เห็นต้องทำฌานเลย"

โดยอ้างเช่นนั้นมา เพื่อที่จะบอกว่า "เมื่อคนพวกนั้นไม่ต้องทำฌานยังบรรลุ, งั้นพวกเราก็ไม่จำเป็นต้องทำฌาน ก็คงจะบรรลุได้ เช่นกัน"

คนพวกนี้เป็นพวกยกตนเสมอท่าน มีมานะที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง ตนเองไม่ใช่อุคฆฏิตัญญู แต่ก็จะไปเอาข้อปฏิบัติของอุคฏิตัญญูมาอ้าง เพื่อจะทำเลียนแบบ ทั้งๆ ที่ไม่สมควรกับฐานะของตน

ระวังตัวให้ดี อย่าให้เป็นแบบนั้นนะครับ ถ้าคิดจะลัดขั้นตอนโดยไม่ดูฐานะของตัวเองอย่างนั้น สุดท้าย ก็จะไม่พ้นจากสังสารวัฏฏ์แน่นอน.

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีรอดตายในสังคมแบบต่างๆ

คนไม่รู้จักคิด ไม่เห็นแก่ตัว 
> ตาย

คนไม่รู้จักคิด เห็นแก่ตัว 
> รอดไปวันๆ รอวันล่มจมทั้งชาตินี้และชาติหน้า

คนรู้จักคิด เห็นแก่ตัว 
> รอดไปชาตินึง รอล่มจมอย่างหนักในชาติต่อๆ ไป

คนรู้จักคิด ไม่เห็นแก่ตัว 
> รอดทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขณปัจจุบัน (ย่อ)

ขณะปัจจุบัน คือ ขณะปัจจุบันของขณะอดีตกับขณะอนาคต. ซึ่งขณะอดีต ก็คือ ขณะปัจจุบัน ของขณะอดีตของตนกับขณะอนาคตของตน เช่นกัน.
เรื่องเหล่านี้เป็นกาล ที่อัฏฐสาลินี ระบุไว้ว่า เป็นเพียงบัญญัติ.
แต่ปรมัตถธรรมที่มีอุปาทะ ฐิติ ภังคะ (สังขตลักษณะ-ลักษณะของสังขารธรรม) ที่ถูกจิตเข้าไปบัญญัติว่า ขณะอดีตบ้าง ขณะอนาคตบ้าง ขณะปัจจุบันบ้าง, ปรมัตถธรรมที่มีสังขตลักษณะนี้นั่นแหละ คือ ปรมัตถธรรม. (สรุปจาก อัฏฐสาลินี)
ฉะนั้น จะขณะอดีต ขณะอนาคต ขณะปัจจุบัน ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ครับ เพราะทั้งหมดตอนที่ถึงพร้อมด้วยสังขตลักษณะ ก็ล้วนเป็นขณะปัจจุบันเหมือนๆ กัน.
เรื่องนี้ ต้องแม่น ธัมมสังคณีมาติกา อตีตติกะนะครับ, อย่าลืมว่า อตีตติกะ เป็นปรมัตถ์เท่านั้น ครับ. ฉะนั้น ขณะอดีต ใน อตีตติกะ ก็ต้องเป็นปรมัตถ์ ถึงพร้อมด้วยสังขตลักษณะเช่นกัน ครับ.
จริงๆ ยังมีเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับปัจจุบันแบบต่างๆ อีกมาก, ผมเองก็ตั้งใจจะเขียนบทความมาตั้งนานแล้ว ถ้าสำเร็จ (อาจ) จะเอามาเผยแพร่อีกครั้ง ครับ.