วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วิเคราะห์สภาพธรรมขณะอ่านเรื่องนั่งร้านไม่ไผ่

แท้จริงชวนจิตในปัญจทวารและอตีตัคคหนวิถีตทนุวัตติกมโนทวารอาศัยอุตุชรูปแล้ว จิตประมวลปัจจัตตลักษณะขึ้นในสมูหัคคหณวิถีแล้ว จิตบัญญัติสังขารอุปาทาบัญญัติขึ้นในอัตถัคคหนวิถีตทนุวัตติกมโนทวารแล้ว นามัคคหณวิถีจิตในตทนุวัตติกมโนทวารเรียกนามบัญญัติว่า "ไม้ไผ่" จากนั้นสุทธมโนทวารของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น และไม่ได้ฝึกฝนในธรรมวินัยของพระอริยะ ก็เอามาหลงยึดติดพอใจบ้าง ปฏิฆะบ้างว่า  "เรื่องไม้ไผ่ของฉัน"บ้าง  "ไม่ใช่เรื่องไม้ไผ่ของฉัน"บ้าง ทั้งที่ไม่มีสาระ ไม่ทำให้พ้นทุกข์ เพราะไม่รู้มหาภูตตามความเป็นจริง คือ คือไม่รู้เห็นปัจจัยปัจจยุปบันเป็นเหตุเกิดเหตุดับ จึงไม่สละ ไม่ละคลายความยินดี. คนประกอบไม้ไผ่บรรลุ ก็นัยเดียวกัน แต่เป็นสมุฏฐาน 4 สัตว์บัญญัติ.

ก็ถ้าปุถุชนผู้ได้สดับ ได้เห็น และได้ฝึกฝนในธรรมวินัยของพระอริยะ ย่อมขยันหมั่นตามเห็นทุกๆ ขณะไม้ไผ่ คนผูกไม้ไผ่ และแม้ตัวคนอ่านคนพิจารณาที่กำลังอ่านและพิจารณาอยู่นี้ตามความเป็นจริง คือ เป็นสังขตธรรมที่ปัจจัยปัจจยุปบัน เหตุเกิดเหตุดับ ซึ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ตามเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในความดับทุกๆขณะที่ตามเห็นประจักษ์อยู่ ตามเห็นอย่างสละยางเหนียวยึดติดแน่นในสังขตธรรมทั้งปวง ตามเห็นเพื่อดับความยึดติด ตามเห็นเพืีอสละความยิตติดในสังขตธรรทั้งปวงทุกๆขณะเสียได้. ปุถุชนเช่นนี้ ถ้าไม่ตายก่อนก็ย่อมได้ ธรรมที่ควรบรรลุ ความเป็นหน่อไผ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพุทธบุตร ผู้ยินดียิ่งในการทรงจำและนำคำของพระพุทธเจ้ามาใช้งาน.

ดัดแปลงจาก มูลปริยายสูตร ม.ม. ข้อ 1

---------------

ข้าพเจ้าขอกราบพระรัตนตรัย กับทั้งผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ทั้งผู้ได้ฌานวิปัสสนาและทรงพระไตรปิฎกที่ PaAuk Forest Monastery พะอ็อคตอยะ พม่า (อัครมหาบัณฑิตด้านวิปัสสนาพม่า; อภิวังสะ; ทรงพระไตรปิฎก), และผู้ฟื้นฟูการศึกษาในไทย ทั้งหลาย เช่น สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (นักอภิธรรม), พระอาจารย์โชติกะ, ท่านพระอาจารย์สุมนต์ นันทิโก, ท่านพระอาจารย์ สมทบ ปรักกโม, ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขต, พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก, ท่านพระอาจารย์สันติ อุตตมปุญโญ, ท่านพระอาจารย์มหาพยอม ธัมมรักขิโต (ป.ธ.9;วินัยปิฎก), ท่านพระอาจารย์มหาอัมพร อาภัสสโร (วินัยปิฎก), ท่านพระอาจารย์มหาจรัญ พุทธัปปิโย (ป.ธ.9;วินัยปิฎก), ท่านพระมหาสุพล สุจิณโณ ป.ธ.9;วินัยปิฎก), พระอาจารย์นาบุญ, พระอาจารย์หยง มีชัย, และผู้สอนผู้แปลพระไตรปิฎกทั้งบาลีและไทยทั้งหลาย เป็นต้น.

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

คำถามของแอดมินเพจถึงพระอาจารย์กรรมฐานรูปหนึ่งของพาอ้าว และคำตอบของท่าน

คำถามของแอดมินเพจถึงพระอาจารย์กรรมฐานรูปหนึ่งของพาอ้าว และคำตอบของท่าน ที่แสดงถึงความใจเย็น ใจกว้าง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีมานะ และมีเมตตาอย่างยิ่ง สาธุ สาธุ สาธุ:
#ถาม1. ถ้ากล่าวว่า พระอาจารย์ใหญ่ "อ่าน" มาเยอะ จะเป็นการทำให้คนไทยเข้าใจผิดว่า ท่านเพียงแค่ "อ่าน" เหมือนที่ชาวพุทธไทยทั่วไปเข้าใจกันหรือไม่ครับ? เพราะว่า ที่พม่านั้นท่องจำเยอะมาก กว่าจะจบธัมมาจริยะ (ไม่นับรวม ที่พระอาจารย์ใหญ่ท่านไปท่องจำพระไตรปิฎกเองอีกต่างหาก)
ในคลิปนาทีที่ 25:40 จะเห็นว่า สามเณรที่ paauk ท่องจำกันจริงจังมาก
https://youtu.be/gI4W0Qrysck?t=1540อนึ่ง เมื่อสักครู่ ฟังพระอาจารย์เล่าเกี่ยวกับพระอาจารย์ใหญ่แล้ว ไม่มีคำว่า "ท่องจำ ท่องซ้ำๆ" อยู่เลย มีเพียงคำว่า "อ่าน" เกรงว่า คนไทยจะไม่เห็นความสำคัญในการท่องจำพระบาลี ครับ.
ส่วนธรรมะอย่างอื่น ไฟล์ของปีนี้ สมบูรณ์ ไร้ที่ติ แต่เป็นความผิดที่ผมเอง ที่ยังปฏิบัติตามไม่ได้ ครับ.
#ตอบข้อที่1 เท่าที่ทราบประวัติพระอาจารย์ อ่านพระไตรปิฏกจบ 6 รอบ บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 10 ปี อายุ 17 ปีจบ ปฐมแหง่ อายุ 18 จบ ปฐมลัตต์ อายุ 19 จบ ปฐมจี่ อายุ 20 บวชพระแล้วได้ศึกษาบาลีอรรถกถาต่อกับพระอาจารย์ที่จบอภิวังสะหลายรูปจนสามารถสอบผ่าน ธรรมจริยะตอนอายุ 22 ปี หลังจากนั้นอีก 8 ปีท่านตระเวนปฏิบัติกับอาจารย์กรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน หลังจากนั้นจึงอยู่ป่าศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองถึง 16 ปี จึงออกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระอ๊อดและเรอ่าสอนตอนอายุ 50
หลังจากนั้น 12 ปี จึงสามารถเรียบเรียงตำรานิพพานคามินี ปฏิปทา เป็นตำรา 6 เล่มใหญ่ที่ร้อยเรียงและอ้างอิงบาลีอรรถกถาทั้งหมดเสร็จและจัดพิมพ์ตอนอายุ 63 ปี
จะเห็นได้ว่า:
1 ถ้าท่านไม่ทรงจำก็จะไม่สามารถประมวล บาลีอรรถกถาทั้งหมด ให้เป็นรูปแบบการปฏิบัติที่ระบบตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้ (ในสมัยนั้นไม่มีคอมช่วยสืบค้นด้วย)
2 ถ้าท่านไม่ได้มีประสบการณ์ปฏิบัติกับครูอาจารย์กรรมฐาน 8ปี และอยู่ป่าศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองอีก 16 ปี กับสอนลูกศิษย์อีก12 ปี ก็จะไม่มั่นใจในวธีการตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคเช่นกัน
สรุปว่าการทรงจำสำคัญมาก และการปฏิบัติก็สำคัญเช่นกันจึงจะสมบูรณ์
เราโชคดีที่มีครูบาอาจารย์เยี่ยงอย่างท่าน เจริญพร
-------------------------------------------
#ถาม2. การกล่าวบ่อยๆ กับลูกศิษย์และผู้ฟังว่า "พระอาจารย์ใหญ่และพระอาจารย์กรรมฐานที่ paauk พม่า" มีอัธยาศัยท่องจำพระไตรปิฎกบาลีกันเป็นปกติ จะเป็นผลดีต่อประเทศที่ขาดแคลนผู้ทรงพระไตรปิฎกบาลี อย่างประเทศไทย เพียงไร ครับ? ผมจำได้ว่า เคยสนทนากับ พ.อ.เรวตะ (ที่เชียงใหม่) ว่าการท่องจำสำคัญมาก และท่านก็บอกผมว่า ท่านก็เห็นด้วยว่าสำคัญมาก และมีคนเล่าว่า ท่านจะไปเรียนเพิ่ม แต่ พ.อ.ใหญ่ ยังไม่อนุญาต (เพราะไม่มีคนทำงาน) อีกครั้งหนึ่ง ผมเคยเห็น พระที่ติดตามพระอาจารย์ใหญ่ทางเฟซบุ้ค ไลฟ์สดท่องจำพระไตรปิฎกบาลีด้วย เป็นต้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุที่ paauk ที่เป็นระดับอาจารย์ มีอัธยาศัยในการท่องจำพระไตรปิฎกบาลีเพียงไร ยิ่งในคลิปสามเณรของพาอ้าว ยิ่งเห็นถึงการปลูกฝังแต่เล็กทีเดียว
#ตอบข้อที่2 เป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่มีประโยชน์มาก ที่จะทำไห้นักปฏิบัติเห็นความสำคัญของปริยัติว่าจะทำไห้การปฏิบัติเป็นระบบไม่ออกนอกทางและตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
จะเห็นได้ว่า อาจารย์กรรมฐานวัดพะอ๊อก มีอัธยาศัยในการศึกษาและทรงจำ อย่างน้อยต้องทรงภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุนีปาติโมกข์ได้ และส่วนใหญ่จะจบขั้นตำ่ธรรมจริยะ และเท่าที่ทราบก็มีจบอภิวังสะ ประมาณ 2-3รูป เจริญพร
-------------------------------------------
#ถาม3. การกล่าวว่า "พระพุทธโฆสาจารย์ รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค" กับกล่าวว่า "พระพุทธโฆสาจารย์รวบรวมอรรถกถาจากอาจารย์ต่างๆ (ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงในลังกา) มาไว้ในวิสุทธิมรรค" อย่างไหนจะใกล้เคียงกับที่ว่า "พระอาจารย์ใหญ่รวบรวมพระสูตร อรรถกถา ฏีกา ต่างๆ มาร้อยเรียง" มากกว่ากัน ครับ?
ตอบข้อ 3 "พระพุทธโฆสาจารย์รวบรวมอรรถกถาจากอาจารย์ต่างๆ (ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงในลังกา) มาไว้ในวิสุทธิมรรค" น่าจะใกล้เคียงกับที่ว่า "พระอาจารย์ใหญ่รวบรวมพระสูตร อรรถกถา ฏีกา ต่างๆ มาร้อยเรียง" ไม่อนุญาตให้มีรูปท่านในหนังสือเพราะบอกว่าท่านเป็นเพียงผู้รวบรวมร้อยเรียงจากบาลีอรรถกถาเท่านั้น ต้องพยายามทำให้ได้อย่างท่านบ้างนะ เจริญพร
----------------------------------------
ท่านยังเทสนาสอนผมด้วยว่า:
เมื่อไรอิ่มในปริยัติแล้วการปฏิบัติจะก้าวหน้า เจริญพร
และถ้าปฏิบัติได้ดีกลับไปศึกษาปริยัติอีกจะ มีความสุข และเข้าใจพุทธพจน์ลึกขึ้นอีกมาก เจริญพร

วิสุทธิครบ 7 พร้อมวิธีปฏิบัติ ในพระสูตร [เหตุสูตร]

วิสุทธิครบ 7 พร้อมวิธีปฏิบัติ ในพระสูตร เหตุสูตร
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=5222&w=&modeTY=2&h=ทิฏฺฐิ|กงฺขา|ปฏิปท|วิสุ|ปจฺจย#hl

ให้ใช้นัยนี้ หาคำอธิบายวิสุทธิในตัวพระสูตรตรงๆ ได้เลย ไม่ต้องผ่านวิสุทธิมรรค ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า ปฏิสัมภิทามรรค อภิธรรม และวิสุทธิมรรค รจนาขึ้นมาจากพระสูตรอย่างไร? จะช่วยให้หมดความลังเลสงสัยในอรรถกถา ฏีกา ได้อย่างมาก.
อนึ่ง คำว่า วิตรณ ในสูตรนี้ใช้คำว่า ปหีนา,
คำว่า มคฺคามคฺค ในสูตรนี้ใช้คำว่า ปฏิปทา กับ คามินี,
คำว่า ญาณ มาในสูตรที่มี สัจจ 4 ที่มีคำว่าญาณ เช่น ราธสูตร เป็นต้น ก่อนหน้าสูตรนี้ ต้องโยคตามมาในสูตรนี้ด้วย.
คำว่า ทสฺสน ก็คือ คำว่า ทิฏฺฐิ ในที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นสัมมาทัสสนะ.
เท่านี้ ครบ 7 แล้ว และมีวิธีปฏิบัติอยู่ในตัวสูตรนี้ด้วย, สามารถนำศัพท์ในสูตร ไปหาคำขยายจากตัวพระสูตรตรงๆ ได้อีกมากด้วย.

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Appearing breaths at somewhere near by nose tip is ok for Anapanassati

PariMukkhaṃ Satiṃ upaṭṭhapetvā = the practitioner focuses the mindfulness on only Breaths.

So satova assasati satova passasati = he is focusing the mindfulness like that and breathing out/in.

Breaths are not nose tip, touching, or feeling. Breaths are long or short wind flowing at nose tip.

Sometime breaths appear at right nostril tip, sometime left, sometime middle, some time top lip.

But you are focus on clearing appearing breaths at somewhere of those, so wherever of them is OK.

The other touching points such as in side the nose or lung is over width for clear focusing on breath and easily to get Restlessness (uddhacca), so appearing breaths on somewhere at the nose tip is the best choice for the meditation.

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิธีทำงานร่วมกัน ไม่ให้เกิดความบาดหมาง

การทำงานร่วมกันนั้น แต่ละคนจะมีข้อจำกัดของตนเอง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเพื่อนร่วมงานที่ต่างกัน ซึ่งผู้บริหารรับผิดชอบดูแล #ปัญหา ทั้งหลายนี้อยู่ โดยผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถต่อรองได้ใน #บางโอกาส แต่ต้อง #นับข้อจำกัด ของคนเองที่ยื่นต่อผู้บริหาร ไม่ให้มากจนเกินไป และไม่เอาแต่ใจของตนเองจนเกินไป เช่น ทำท่าทีตึงตัง, หรือ ไปนินทากันลับหลัง

สิ่งที่ดีที่สุด คือ พยายามพูดให้เกิดความสามัคคี พูดให้สมาชิกเพื่อนร่วมงาน ทุกคน เข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีรอยยิ้มให้กันอย่างจริงใจ สบายใจ มีความสุข เหมือนคนในครอบครัว

ส่วนนี้ ผู้บริหารมักจะทำได้อยู่แล้ว แต่สมาชิกคนอื่นๆ อาจจะยังทำไม่ได้ อาจจะยังมีการใส่อารมณ์ไปบ้างในขณะที่เกิดปัญหา ก็เป็นหน้าที่ของสมาชิกผู้นั้น ที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ให้ก้าวไปสู่ความเป็น #ผู้ใหญ่ ในระดับเดียวกับ #ผู้บริหาร และก็เป็นหน้าที่ของเพื่อนสมาชิกท่านอื่นๆ ในการให้คำแนะนำ ประคับประคองพัฒนาร่วมกันไป ด้วยความสามัคคี เห็นอกเห็นใจ แนะนำซึ่งกันและกันอย่างตรงไปตรงมา

ในสาราณียธรรม 6 (วิธีทำให้คิดถึงกันได้อย่างสบายใจ) นั้น ท่านบอกว่า ความเข้าใจซึ่งกันและกัน (ทิฏฐิสามัญญตา) เป็นหัวหน้าของสาราณียธรรมข้อที่เหลือ ซึ่งการจะเข้าใจซึ่งกันและกันได้นั้น ก็จะต้องมีกติกาที่ตกลงกันด้วยดีในที่ประชุม (สีลสามัญญตา) ไม่ใช่ไปคุยกันต่อนอกรอบ แต่จะต้องคุยทุกอย่างในที่ประชุมให้จบให้เคลีย ก็จะทำให้เกิด สาธารณโภคี (ได้ของ/ได้งาน แตกต่างกันตามฐานะก็จริง แต่เสมอกันเพราะตกลงกันเคลียในที่ประชุมแล้ว) เมตตากายกรรม (ทำงานร่วมกันเพื่อความรักสามัคคี) เมตตาวจีกรรม (พูดถึงกันเพื่อความรักสามัคคี) เมตตามโนกรรม (คิดถึงกันเพื่อความรักสามัคคี)

จงอย่าลืมว่า ข้อเสีย ข้อจำกัดของคุณก็มี และนั่นเป็นสิ่งที่เพื่อนร่วมงานทุกคนแบกรับแทนคุณอยู่ จงสงสารเห็นใจเพื่อนร่วมงานด้วย และคิด ทำ พูด ด้วยความเห็นใจ การพูดถึงปัญหาต่างๆ จึงจะนุ่มนวล มีน้ำเสียงไพเราะน่าฟัง และไม่นำมาซึ่งความแตกแยก บาดหมาง ต่อกันและกัน

วิธีเอากรรมฐานของตัวเอง มาเป็นบาทฐานในการเรียนบาลี

 ถ้าท่านที่ศึกษาพระไตรปิฎก ตระหนักในการท่องจำพระสูตรบาลีซ้ำๆ ซากๆ การเรียนนี้ ก็จะสำเร็จได้ไว และได้ผลงอกงามมาก.
เช่น อาจารย์สามารถให้การบ้านว่า ท่านทำกรรมฐานสูตรไหนอยู่ ก็ให้ไปท่องจำบาลีสูตรนั้น (ถ้าทำกรรมฐาน ก็ควรจะท่องได้อยู่แล้ว?) ให้ชำนาญ และให้ฝึกอธิบายตามหลักสังวรรณนาสูตรเดิมๆนั้นแหละ ทุกวัน จนจบหลักสูตร.
เช่น ทำอานาปานัสสติในมหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ ก็ต้องรู้ว่า กถํ ใช้สังวรรณนาอะไร? จ ใช้สังวรรณนาอะไร? วา ใช้สังวรรณนาอะไร? อิติ ใช้สังวรรณนาอะไร? กาเย กับ กายสฺมึ วิภัต ใช้บ่งบอกอะไร? วา หลัง อิติ ใช้คั่นอะไร? วา ปน ใช้แยกอะไร? จ หลัง วา ปน ใช้รวบอะไร? ทำไมเดี๋ยวใช้วา เดี๋ยวใช้ จ? 
 นี้เป็นตัวอย่างคำถาม ที่คนทำอานาปานัสสติ เรียนบาลี เรียนสังวรรณนา ควรถามขึ้นได้เอง เพราะกรรมฐานของตัวเอง ถ้าไม่ชำนาญไม่แตกฉาน เรียนสังวรรณนาแล้ว ก็ยังไม่สามารถเอามาอธิบายกรรมฐานของตัวเองได้ นิรุตติปฏิสัมภิทา (แม้ที่ไม่ใช่ของปฏิสัมภิทัปปัตโต) ก็คงยากจะบรรลุ ครั

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ท่านทำหน้าที่ของฆราวาสที่ดีหรือยัง?

ท่านทำหน้าที่ของฆราวาสที่ดีหรือยัง?

พระภิกษุกำลังขาดแคลนไวยาวัจกรที่มีความรูอย่างมาก. 

พระจับเงินไม่ได้ ยินดีในตัวเงินก็ไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตไวยาวัจกรไว้ช่วยจัดหาปัจจัย 4 ที่สมควรมาให้แทน ไม่ให้พระไปยุ่งกับเงิน.

ฉะนั้น ก็เป็นหน้าที่ของญาติโยม ที่ต้องเข้าไปช่วยพระภิกษุ ไปเป็นไวยยาวัจจกร ไปเป็นคนวัด ช่วยพระให้รักษาพระวินัย และปฏิบัติธรรมได้สะดวก.

ต่อให้ฆราวาสเรียนเก่งแค่ไหน ก็คงไม่อาจจะท่องจำพระไตรปิฎกบาลีและเข้าใจได้เท่ากับพระภิกษุแน่นอน เพราะฆราวาสไม่ได้มีเวลาอยู่กับพระธรรมคำสอนเท่ากับพระภิกษุ.

ฉะนั้น การอุปถัมภ์อุปัฏฐากพระภิกษุจึงเป็นสิ่งสำคัญในการธำรงพระธรรมคำสอนคือพระปริยัติของพระพุทธเจ้าไว้.

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562

แปล ยํ กิญฺจิ สมุทย ธมฺมํ ให้ถูก

ผิด: ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ธรรมเหล่านั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา

ถูก: ทุกขอริยสัจเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีเหตุเกิดคือสมุทัยอริยสัจ, นิโรธอริยสัจเป็นเหตุดับทุกขอริยสัจทั้งหมดนั้น

อ้างอิง:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_th.php?B=30&A=1967&h=สมุทย,นิโรธ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=10&A=8767&h=ธรรมเป็นเหตุ
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=18&h=ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

แปลอรรถกถามรรคสัจจนิทเทส

ควรอ่านลิงก์นี้ก่อน

               พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐินิทเทสดังต่อไปนี้ 
               พระสารีบุตรแสดงจตุสัจกรรมฐานด้วยมีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ ดังนี้. 
               บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ, ๒ ข้างหลังเป็นวิวัฏฏะ. 
               ในสัจจะเหล่านั้น ภิกษุย่อมมีความตั้งใจมั่นในอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวัฏฏะ ไม่มีความตั้งใจมั่นอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวิวัฏฏะ. อธิบายว่า พระโยคาวจร(ตั้งใจมั่นในอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวัฏฏะโดย)ทำกรรมด้วยการเรียนสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยสังเขปอย่างนี้ว่า "ปญฺจกฺขนฺธา ทุกฺขํ, ตณฺหา สมุทโย - ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์", และโดยพิสดารว่า "กตเม ปญฺจกฺขนฺธา, รูปกฺขนฺโธขันธ์ ๕ เป็นไฉน, คือ รูปขันธ์" เป็นต้น แล้วท่องกลับไปมาบ่อยๆ ด้วยวาจา
               ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจร(ไม่ต้องมีความตั้งใจมั่นอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวิวัฏฏะเพียง)ทำกรรมด้วยการฟังเท่านั้นอย่างนี้ว่า นิโรธสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ, มคฺคสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ - นิโรธสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ มรรคสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ. 
               (ปฏิเวธะ=สัมมาทิฏฐิ=ปัญญินทรีย์=ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณํ ปญฺญินฺทฺริยํ=แทงตลอดสภาวะธรรมในวัฏฏะและวิวัฏฏะปฏิจจสมุปบาท คือ สัจจะทั้ง 4 ในบุพพภาคมรรคแทง 2 เท่านั้น ในโลกุตตรมรรค แทง 4 ในขณะจิตเดียว)
               (อภิสมัย=เวลาประชุม=เวลาที่โลกุตตรอริยมรรคจิตตุปบาทเกิด มรรค 8 ประชุมทำกิจพร้อมกัน หลังจากฝึกโลกิยบุพพภาคมรรคจนมีกำลังสมบูรณ์พรั่งพร้อมแล้ว, แต่ว่าในบุพพภาคมรรคอาจแยกกันธรรม เช่น สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นเจตสิกที่ไม่เกิดกับโลกิยะอัปปนาสัมมาสมาธิ เป็นต้น. ดู อภิสมยกถา)
               พระโยคาวจรนั้นเมื่อทำกรรมดังกล่าวนั้น (สัมมาทิฏฐิ)ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยปฏิเวธครั้งเดียว (โลกุตตรอริยมรรคจิตตุปบาท)ย่อมทำกิจพร้อมกันด้วยอภิสมัยครั้งเดียว. อธิบายว่า (สัมมาทิฏฐิ)ใช้ปริญญาปฏิเวธแทงตลอดทุกข์, ใช้ปหานปฏิเวธแทงตลอดสมุทัย, ใช้สัจฉิกิริยาปฏิเวธแทงตลอดนิโรธ, ใช้ภาวนาปฏิเวธแทงตลอดมรรค. (โลกุตตรอริยมรรค 8)ย่อมใช้ปริญญาภิสมัยทำ(ปริญญา)กิจในทุกข์ด้วยกัน ฯลฯ ย่อมใช้สัจฉิกินิยาภิสมัยทำ(สัจฉิกิริยา)กิจในมรรคด้วยกัน.
               เอวมสฺส ปุพฺพภาเค ทฺวีสุ สจฺเจสุ อุคฺคหปริปุจฺฉาสวนธารณสมฺมสนปฺปฏิเวโธ โหติ ทฺวีสุ สวนปฺปฏิเวโธเยว ฯ
               อปรภาเค ตีสุ กิจฺจโต ปฏิเวโธ โหติ นิโรเธ อารมฺมณปฺปฏิเวโธ ฯ
               ตตฺถ สพฺพมฺปิ ปฏิเวธญาณํ โลกุตฺตรํ สวนธารณสมฺมสนญาณํ โลกิยํ กามาวจรํ ฯ
               ปจฺจเวกฺขณา ปน มคฺคสจฺจสฺส(๑) โหติ อยญฺจ อาทิกมฺมิโก ฯ
               ตสฺมา สา อิธ น วุตฺตา ฯ
               อปรภาเค ปน ทุกฺขํ ปริญฺญาตเมว โหติ ฯเปฯ มคฺโค ภาวิโตว โหติ ฯ
#๑. ม. ปตฺตสจฺจสฺส ฯ
 
               ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ฉะนั้น... 
               ในช่วงบุพพภาคมรรค ในสัจจะ ๒ อย่างแรก ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ การท่องบทบริกรรมกรรมฐาน การสอบถาม การฟังคำอธิบาย(คำตอบ) การทรงจำ การสัมมสนะ และการปฏิเวธ, 
               ในสัจจะ ๒ อย่างหลัง  ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ การฟังคำอธิบาย และการปฏิเวธเท่านั้น. 
              ในช่วงอริยมรรค ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ ปฏิเวธสัจจะ 3 โดยการทำกิจ และปฏิเวธนิโรธโดยการทำให้เป็นอารมณ์. 
               ในกิจเหล่านั้น ปฏิเวธญาณแม้ทั้งหมดเป็นโลกุตระ(ทั้งสัจจะ 2 แรกและหลัง), ญาณที่ฟังคำอธิบาย ญาณที่ทรงจำ ญาณที่สัมมสนะ เป็นโลกิยกามาวจร. 
               ส่วนปัจจเวกขณญาณย่อมเป็นของผู้บรรลุสัจจะไปแล้ว แต่ในที่นี้เป็นญาณก่อนปัจจเวกขณญาณของผู้ที่ยังไม่ได้บรรลุไปแล้ว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ในที่นี้ อธิบายว่า ก่อนหน้านั้น ภิกษุนี้ย่อมไม่มีอาโภคะ สมันนาหาระ มนสิการะ และปัจจเวกขณะว่า "เราทำปริญญาในทุกข์อยู่ เราทำปหานะในสมุทัยอยู่ เราทำสัจฉิกิริยาในนิโรธอยู่ เราทำภาวนาในมรรคอยู่" ดังนี้, ภิกษุมามีก็หลังจากได้กำหนดรู้แล้ว. แต่หลังจากนั้น ทุกข์เป็นอันภิกษุทำปริญญาแล้ว ฯลฯ มรรคเป็นอันภิกษุภาวนาแล้ว. 
               ในสัจจะเหล่านั้น สัจจะ ๒ ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก, สัจจะ ๒ เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง. จริงอยู่ ทุกขสัจจะปรากฏแต่เกิด, ในขณะถูกตอและหนามทิ่มแทงเป็นต้น ก็ร้องว่าโอยเจ็บ!  สมุทยสัจจะปรากฏแต่เกิดด้วยอยากจะเคี้ยวอยากจะกินเป็นต้น. สัจจะแม้ทั้งสองข้อหลัง ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะแทงตลอดด้วยลักษณะ. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยากด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อเห็นสัจจะ ๒ อย่างหลังนั้น นอกนั้นก็เหมือนเหยียดมือเพื่อถือเอาภวัคคพรหม เหมือนเหยียดเท้าเพื่อสัมผัสอเวจี และเหมือนการจรดปลายขนทรายที่แยกออกร้อยส่วนด้วยปลายขนทราย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้งด้วยประการฉะนี้. 
               พระสารีบุตรกล่าวบทมีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ นี้หมายถึงการเกิดแห่งญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการทำกิจในสัจจะ ๔ คือ การท่องคำบริกรรม เป็นต้น ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง แต่ในขณะแทงตลอด ญาณนั้นมีเพียงญาณเดียวเท่านั้น. 

----------ส่วนต่อไปนี้ยังไม่ได้ปรับสำนวน----------------
               ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า ญาณในสัจจะทั้งหลายมี ๔ อย่าง คือ สุตมยญาณ - ญาณเกิดจากการฟัง ๑ ววัตถานญาณ - ญาณเกิดจากการกำหนด ๑ สัมมสนญาณ - ญาณเกิดจากการสัมมสนะ ๑ อภิสมยญาณ - ญาณเกิดจากการถึงพร้อมด้วยกัน ๑. 
               ในญาณเหล่านั้น สุตมยญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรฟังสัจจะ ๔ โดยย่อหรือโดยพิสดารย่อมรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค. นี้ชื่อว่าสุตมยญาณ. 
               ววัตถานญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดความของการฟัง โดยเหตุเกิดและโดยลักษณะ (สมุทยเหตุ 4+นิพพัตติลักษณะ) ย่อมลงความเห็นว่า ธรรมเหล่านี้นับเนื่องในสัจจะนี้ นี้เป็นลักษณะของสัจจะนี้. นี้ชื่อว่า ววัตถานญาณ. 
               สัมมสนญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นกำหนดสัจจะ ๔ ตามลำดับอย่างนี้แล้วถือเอาทุกข์เท่านั้น ย่อมพิจารณาตลอดไปถึงโคตรภูญาณ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. นี้ชื่อว่าสัมมสนญาณ. 
               อภิสมยญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยญาณหนึ่ง ในขณะโลกุตรมรรค ไม่ก่อน ไม่หลัง คือย่อมตรัสรู้ทุกข์โดยการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อมตรัสรู้สมุทัย โดยการตรัสรู้ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้นิโรธ โดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง, ย่อมตรัสรู้มรรค โดยการตรัสรู้ด้วยการเจริญ. นี้ชื่อว่าอภิสมยญาณ. 

โครงสร้างมรรคสัจจนิทเทสอรรถกถา

ในมัคคสัจจนิทเทสอรรถกถา:

ตั้งแต่ "ปฏิเวธกฺขเณ ปน เอกเมว ตํ ญาณํ โหติ" ขึ้นมา เป็น เอกปฏิเวเธเนว, หลังจากนั้นไป เป็นเอกาภิสมเยน.

เพราะปฏิเวธะด้วยสัมมาทิฏฐิ (ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณํ ปญฺญินฺทฺริยํ) แต่มีสัจจะถึง 4 ท่านจึงอธิบายว่า ปุพพภาคมรรคนั้นรู้มรรคไม่ครบ 4 แต่ในมรรคขณะนั้น ปฏิเวธะด้วยอริยมัคคสัมมาทิฏฐิดวงเดียวในมัคคจิตตุปบาท.

ส่วนอภิสมยญาณกถาในปฏิสัมภิทามรรค หมายถึง มัคคสมังคีจิตตุปบาท, ฉะนั้น เอกาภิสมเยน จึงหมายถึง การประชุมขององค์มรรคทั้ง 8 พร้อมกันในมรรคจิตตุปบาทเดียว (ตามพระบาลีในอภิสมยกถาเลย ครับ)

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

ญาณทัศนะ รู้ชัด ปัญญา

คำว่า ญาณทัสสนะ ใช้อธิบายองค์ธรรมด้วยคำว่า ปัญญา ได้ แต่เวลาใช้ในพระสูตร น้ำหนักไม่เท่ากับปัญญา ครับ.

ปัญญา=เข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างชัดเจนแทงตลอด (ปการโต ชานนํ เช่น อานาปานัสสติก็เข้าใจลมเข้า/ออก ยาว/สั้นอย่างชัดเจน ก็ใช้ศัพท์ว่า ปชานาติ ไม่ใช่ ชานาติ/ญาต),
ญาณ=ปัญญาที่ชำนาญกว่าปัญญาที่ยังไม่ได้ภาวนาให้เกิดต่อเนื่องไม่มีกิเลสคั่นลดกำลัง (ญาต, อภิญฺญาต, สุฏฺฐุ ชานนํ เช่น ญาณทสฺสนํในธรรมจักร ซึ่งแสดงขณะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้),

ถ้าแสดงลำดับธรรมส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ แต่ที่เน้นความต่างของสภาวะธรรม ไม่เน้นลำดับถึงจะใช้ปัญญา เช่น เจโตวิมุต ปัญญาวิมุต

ทสฺสน ทิฏฐิ อาโลก จกฺขุ = แสดงความชัดเหมือนเห็นด้วยตา ที่ต้องมีตา มีทสฺสนวิญฺญาณ มีแสง

ปัญญา จกฺขุ ทสฺสน ทิฏฺฐิ หมั่นอนุปสฺสนา/อนุทสฺสน ซึ่งปฏิจจสมุปฺปาทและปฏิจฺจสมุปฺปนฺน อย่างภาวนา คือ อย่างไม่มีกิเลสคั่นระหว่าง จนมีความชำนาญ อันนี้ ชื่อว่า ญาณทสฺสน

ทั้งหมดดูจาก ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตํ+นิทานของสูตร

ส่วนวิเคราะห์ศัพท์ อยู่ในปฏิสัมภิทามรรค ครับ.

อนึ่ง ในธัมมจักรแสดงญาณทัสสนะในอริยสัจ 4 นะครับ, แต่ในที่นี้ผมใช้ปฏิจจสมุปบาทแทน เพราะคนไทยเคยฟังแต่แบบนี้มา แต่ก็ยังมักสงสัยกันอยู่ว่าว่า รู้ชัดอริยสัจ เป็นยังไง, ก็ต้องเอาปฏิจจสมุปบาทมาขยาย เพราะในสัจจบรรพะ ก็เอาปฏิจจสมุปบาทมาขยายอริยสัจเหมือนกันครับ.

ตามหลักภาษาไทย เข้าใจ/เห็นลมชัด ไม่ใช่ รู้ชัดลม, เข้าใจ(ธาตุ 4 ใน)อิริยาบถชัด ไม่ใช่รู้ชัดอิริยาบถ.

ภาษาบาลี กัตตุทำกิริยาชัดๆ ซึ่งกรรม แต่ภาษาไทย กัตตุทำกิริยาซึ่งกรรมที่ชัดขึ้นๆ.

ตามหลักภาษาไทย เข้าใจ/เห็นลมชัด ไม่ใช่ รู้ชัดลม, เข้าใจ(ธาตุ 4 ใน)อิริยาบถชัด ไม่ใช่รู้ชัดอิริยาบถ.

ภาษาบาลี กัตตุทำกิริยาชัดๆ ซึ่งกรรม แต่ภาษาไทย กัตตุทำกิริยาซึ่งกรรมที่ชัดขึ้นๆ.

ภาษาไทย: บอลเห็นภาพที่มีความคมชัด, ภาษาบาลี: บอลเห็นประจักข์ภาพ (สังเกตคำขยาย)

กฎภาษาไทยไม่ใช่แบบนี้เสมอไปครับ แต่เวลาผมอ่านพระไตรปิฎกแปล ผมเห็นข้อนี้บ่อยสุด และทำให้ผมงงมากๆ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนที่ยังอ่านบาลีไม่ออก, และมั่นใจว่า คนไทยส่วนใหญ่ก็งงเหมือนกัน จึงคิดว่า มีความสำคัญกับการแสดงธรรม.

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

ภาพ: อายุ 10 ขวบ ท่องอภิธรรมมุขปาฐะ



พวกเราก็ทำได้ครับ และควรทำครับ ท่องจำทุกๆ วัน เราก็ได้ คนรอบๆข้าง ก็จะรู้สึกมีกำลังใจที่จะท่องจำตามบ้าง ครับ.

ถ้าไม่ท่องจำพระบาลี เวลาปฏิบัติธรรมะ ก็จะหลงทางได้ง่าย ยิ่งถ้าไม่ได้อาจารย์ที่เก่งสุดๆ มีคุณสมบัติตามวิสุทธิมรรค แล้วไม่ท่องจำพระบาลี ก็จะปฏิบัติหลงทิศหลงทางแน่นอน

ต่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติครบ แต่ไม่ท่องจำคำของอาจารย์ให้ดี ก็ปฏิบัติหลงทิศได้เช่นกัน

มุขปาฐะสำคัญมากจริงๆ ครับ.

คำว่า อริยะ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรหมายถึงอะไร?

อริยะ คือ ชื่อเผ่าพันธุ์ที่รับมหาปุริสลักษณะมาจากพระอนาคามิพรหมจากยุคพระกัสสปะสัมพุทธเจ้า, พระอนาคามิพรหมบอกมหาปุริสลักษณะนี้กับฤๅษีชาวอริยกะ และมีฤๅษีชาวอริยกะบางส่วนที่ได้ตาทิพย์หูทิพย์ย้อนไปถึงยุคพระกัสสปะสัมพุทธเจ้าจึงรู้มหาปุริสลักษณะได้ด้วย, ต่อมาพวกฤๅษีและผู้มีความรู้ชาวอริยกะจึงเรียกตัวเองว่า พราหมณ์ (เหล่ากอแห่งพรหม).

คนสมัยก่อนเข้าใจเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ฉะนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะ จึงรู้ว่า คำว่า อริยสัจ ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หมายถึง สัจจะของพระพระกัสสปะสัมพุทธเจ้าที่พระอนาคามิพรหมบรรลุแล้วนั้นนั่นเอง, และท่านพระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้บรรลุเป็นพระอริยสงฆ์สาวกได้เป็นคนแรกในที่สุด. นอกจากนี้ ในมูลเหตุเกิดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเอง ก็ยังได้กล่าวคำว่า พฺรหฺมจริยํ ไว้อีกด้วย.

ฉะนั้น คำว่า อริยะ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงหมายถึง "สัจจะที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธอริยะเจ้าแสดงไว้" นั่นเอง. แต่เนื่องจากพระศาสนาของพระกัสสปะสัมพุทธเจ้าได้อันตรธานไปนานแล้ว พระอนาคามีพรหมกับฤๅษีชาวอริยกะจึงสอนได้เฉพาะมหาปุริสลักษณะโดยใส่ไว้ในพระเวท แต่ไม่อาจสอนอริยสัจได้ จนกระทั่งพระโคตมสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น จึงได้ประกาศอริยสัจที่บรรลุได้เฉพาะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น.

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

กุศลก็รู้อัตตาได้ ปัญญาก็รู้อัตตาได้

กุศลก็รู้อัตตาได้ ปัญญาก็รู้อัตตาได้

ตน เรา เขา (อัตตาบัญญัติ) เป็นอารมณ์แก่จิตในวิถีหลังๆ ตั้งแต่อัตถัคคหณวิถี นามัคคหณวิถี เป็นต้นไป เพราะเป็นบัญญัติ จิตรู้ขันธ์ที่เป็นปรมัตถ์ชำนาญในวีถีก่อนๆ แล้วจึงบัญญัติขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการดำรงชีวิต.

ในขณะที่จิตคิดบัญญัติเท่านั้น บัญญัติจึงปรากฎเป็นอารมณ์ ขณะที่จิตไม่คิดบัญญัติ คือ รู้ปรมัตถ์อยู่ ก็ไม่มีบัญญัติอยู่ที่ไหนเลยทั้งในอดีตอนาคตและปัจจุบัน เพราะสังขตปรมัตถ์ต้องมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้นจึงจะชื่อว่า มีอยู่จริงๆ จิตจะคิดหรือไม่คิดปรมัตถ์ก็ต้องเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยถึงพร้อมแน่นอน ส่วนบัญญัตินั้น ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัย ไม่เคยมีอยู่เลย เป็นได้เพียงอารมณ์ของจิต ในยามที่จิตคิดถึงมันเท่านั้น.

อัตตาบัญญัตตินั้นเป็นอารมณ์ให้จิตได้ทั้ง 3 ชาติ (เว้นวิบากชาติ) แม้พระพุทธเจ้าก็มีอัตตาเป็นอารมณ์ได้ เพียงแต่พระพุทธเจ้ามีจิตแค่ 1 ชาติที่รู้อัตตาบัญญัติ คือ กิริยาชาติเท่านั้น.

รู้อัตตาด้วยกุศลอย่างไร? 

ขณะที่ท่านอ่านข้อความนี้ ท่านก็กำลังรู้อัตตาด้วยกุสลญาณสัมปยุตอยู่. เราจักให้ทาน เราจะรักษาศีล เราจักทำสมถะ เราจักทำวิปัสสนา เราจักเข้าผลสมาบัติ เราจักดับขันธปรินิพพาน ล้วนรู้อัตตาบัญญัติทั้งสิ้น.
แต่การรู้อัตตาบัญญัตินี้ จะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ต่อเมื่อมีองค์ 2 ของมิจฉาทิฏฐิ คือ

1. อารมณ์ผิดเพี้ยนไปจากหลักปัจจยาการ คือ ปัจจัยปัจจยุปบัน (ปฏิจจสมุปบาท/ปัฏฐาน)
2.มีตัณหาอุปาทานเข้าไปติดใจ สละไม่ได้. (ม.ม.สัมมาทิฏฐิสูตร)

ถ้าขาดองค์ข้อ 1 ไม่เป็นวิปลาส ไม่เป็นทิฏฐิ เป็นเพียงจิต 3 ชาติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมที่คิดบัญญัติอย่างหนึ่งเท่านั้น. 

ถ้าขาดองค์ข้อ 2 อาจเป็นวิปลาสได้ ไม่เป็นทิฏฐิ เช่น พระโสดาบันคิดว่า รูปฌานเป็นสุข ลืมคิดโดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่างนี้แสดงว่ามีโมหะหลงลืมปัจจัยปัจจยุปบัน แต่เป็นเพียงความจำ และความคิดที่ผิดเพี้ยน ไม่ใช่ทิฏฐปาทาน คือไม่ได้ตามยึดมั่นเป็นความเห็น ความปักใจ ไม่ได้ตามวิตกวิจารแล้วๆ เล่าๆ เพราะเมื่อคิดแล้วก็จะมีการตามอนุปัสสนาภายหลังว่า จริงๆ ฌานนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เช่นกัน. อีกประการ คือ พระโสดาบันมีใจเปิดกว้างด้วยสัมมาทิฏฐิเผื่อปัจจัยปัจจยุปบันอื่นๆ ที่เกินวิสัยของตนด้วยอัตตสัมมาปนิธิอยู่แล้ว ไม่ใช่ "นี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า" จึงไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ.

แต่ในพระอรหันต์ ไม่เป็นทิฏฐิ ไม่เป็นวิปลาสโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ว่าอะไรๆ ก็ไม่ที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา สำหรับพระอรหันต์ทั้งปวง.

โลภเจตสิกจะรู้อัตตา แต่เป็นเพียงทิฏฐิคตวิปปยุต ไร้ทิฏฐิเจตสิก ได้อย่างไร?

เราจักดูซีรีส์เกาหลีละครช่อง 7 ให้สนุก, เราจักกินของชอบบ่อยๆ, เราจักนอนที่นอนนุ่มๆทุกวัน เป็นต้น จิตปรารภปรมัตถ์ตรงตามปัจจัยปัจจยุปบันไม่ผิดเพี้ยน สีที่จะเกิดในทีวีมีจริง, รสที่จะเกิดที่ลิ้นมีจริง, ปฐวีธาตุที่เกิดกระทบกายที่นอนอยู่มีจริง,  นามรูปปฏิจจสมุปบาทที่จิตไปอาศัยรู้แล้วคิดบัญญัติว่า "เป็นเรา/เป็นเขากำลังดูทีวี/กำลังลิ้มรส/กำลังนอน" นามรูปนี้ทั้งหมดก็มีอยู่จริง เกิดขึ้นจริงๆ แต่จิตเจตสิกแม้คิดถูกหลักปัจจัยอย่างนี้ก็ยังมีโลภะอุปาทานไปติดใจ เพลิดๆ แล้วๆ เล่าๆ. โลภะเหล่านี้ มีอัตตาบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีความเข้าใจผิดจึงไม่มีทิฏฐิคตสัมปยุต.

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

ตามเห็นธรรมในธรรม และตามเห็นความเกิดขึ้นในธรรม เป็นอย่างไร?

เห็นธรรม คือ เห็นปัจจัย, ในธรรม คือ ปัจจุบันครับ หมายความว่า เห็นปัจจัยของปัจจยุปบันแต่ละอย่าง ในปัจจยุปบันทั้งหลาย 

ก็คือ ตามเห็นเหตุเกิดของนีรรณ์, อายตนะ, ขันธ์, โพชฌงค์, สัจจะ นั่นเองครับ.

ถ้าเข้าใจอย่างนี้ จะอ่านทั้งตัวสูตร และอรรถกถาได้เข้าใจ, และจะเข้าใจด้วยว่า ทำไมฉบับมหาจุฬา แปล สมุทยธมฺมา ว่า เหตุแห่งความเกิด

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

คำอธิบายอานาปานัสสติ 4 ข้อแรก ควรท่องจำให้ได้

คำอธิบายอานาปานัสสติ 4 ข้อแรก (ควรท่องจำให้ได้ เพราะต้องทำไปพร้อมๆ กัน ทั้ง 4 ข้อ ขาดข้อใดข้อหนึ่ง ไม่สำเร็จอานาปานัสสติ):

*ควรบริกรรมท่องจำให้ได้คล่องแคล่วชำนาญคล่องปากขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

1. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกยาว (ที่ปลายจมูก)
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้ายาว (ที่ปลายจมูก)

2. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกสั้น (ที่ปลายจมูก)
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้าสั้น (ที่ปลายจมูก)

3.ฝึกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้รู้สึกสัพพกาย คือ ลมหายใจทั้งสายขณะหายใจออก (ที่ปลายจมูก)
ฝึกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้รู้สึกสัพพกาย คือ ลมหายใจทั้งสายขณะหายใจเข้า (ที่ปลายจมูก)

4.ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจด้วยกายสังขารเข้าที่เบาลงๆ คือ ลมหายใจเข้าที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)
ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจด้วยกายสังขารออกที่เบาลงๆ คือ ลมหายใจออกที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)

***อนึ่ง ควรจำให้ได้ เพราะต้องทำไปพร้อมๆ กัน ทั้ง 4 ข้อ ขาดข้อใดข้อหนึ่ง #ไม่สำเร็จอานาปานัสสติ***

*ควรบริกรรมท่องจำให้ได้คล่องแคล่วชำนาญคล่องปากขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

มุขปาฐะยังมีอยู่สืบมาถึงปัจจุบัน การจารลงใบลาน ไม่ใช่การยกเลิกการท่องจำ

มุขปาฐะยังมีอยู่สืบมาถึงปัจจุบัน การจารลงใบลาน ไม่ใช่การยกเลิกการท่องจำ เพราะทั้งพระวินัยและพระสูตร ยังคงใช้การท่องจำในการเริ่มต้นปฏิบัติตามมาตลอด 2600 ปี.

เพียงแต่การจารลงใบลานนั้นเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งของการท่องจำ เพื่อการนำมาทำความเข้าใจ.

อาวุธที่ไม่อยู่ในมือ ย่อมนำมาใช้ได้ไม่ทันใจฉันใด ข้อปฏิบัติที่ไม่คล่องปากขึ้นใจ ย่อมนำมาจัดการกับกิเลสได้ไม่ทันการณ์ฉันนั้น.

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อรรถกถามีไว้เพื่ออะไร?

พระอาจารย์หมายความว่า ในระบบมุขปาฐะ คือ ระบบเรียนแบบท่องจำด้วยวาจาทีละนิดๆ นั้น เมื่อท่องจำพระไตรปิฎกจนชำนาญแล้ว จะพบว่าอรรถกถาได้รวมอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องรวมอรรถกถาเป็นพระไตรปิฎกให้เยอะเกินท่องจำอีก (พอท่องๆ พระไตรปิฎกไป อย่างละเอียดและถูกลำดับขั้นตอน ก็จะเข้าใจแบบอรรถกถาได้)
เพียงแต่ท่านพระปฐมสังคายนาจารย์แยกมหาอรรถกถาไว้ให้ ก็เพื่อสำหรับนักศึกษาที่ไม่ชำนาญพอ จะได้สังเกตตัวบาลีบางบทที่รู้ได้ยาก (บาลีชัดเจน แต่คนเรียนอาจไม่ได้สังเกต เผลอเรอ หลงลืม อ่านเอา เพื่อไม่ให้เกิดความไม่ท่องจำ) เท่านั้นเอง
อีกอย่างหนึ่ง แม้คนที่สามารถเข้าใจพระบาลีได้เองโดยไม่ต้องดูอรรถกถา ก็จะสามารถตรวจสอบข้อบกพร่อง ตกหล่น หลงลืม ไม่รอบคอบ กับมหาอรรถกถาที่พระอานนท์เป็นต้น ได้แยกออกมาได้อีกด้วย ก็เป็นการปริปุจฉากับพระมหาสาวกทั้งหลายอีกทางหนึ่ง.

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ผู้ปฏิบัติธรรมตามปริยัติ ปฏิบัติกันอย่างไร?


  1. ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มีคุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้งทรงจำพระไตรปิฎกอย่างคล่องปากขึ้นใจ มุขปาฐะสืบๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่น อาจารย์กรรมฐานของวัด @pa-auk เป็นต้น นั้น:
    1. ท่องจำกรรมฐานอย่างย่อจากปากพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติพร้อมนั้น ท่องจำวนไปวนมาซ้ำๆ พร้อมทั้งนำความหมายออกมาจากบทบริกรรมให้ได้
      1. ทุกๆ ตัวอักษร (อกฺขรํ ได้ สงฺกาสนา)
      2. ทุกๆ คำ (ปทํ ได้ ปกาสนา)
      3. ทุกๆ ประโยค (พฺยญฺชนํ ได้ วิวรณา)
      4. วิเคราะห์ทุกๆ สภาวะ (นิรุตฺติ ได้ วิภชฺชนา)
      5. อธิบายบทบริกรรมทุกๆ บทให้ได้ (นิทฺเทโส ได้ อุตฺตานีกมฺมํ)
      6. อธิบายคำอธิบายนั้นได้ด้วย (อากาโร ได้ ปญฺญตฺติ)
    2. นำสิ่งที่ท่องจำนี้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 
    3. ถ้าติดขัดตรงไหน หรือ ยังไม่บรรลุ ให้ค่อยๆ ไปรับกรรมฐานเพิ่มให้ละเอียดขึ้นๆ 
  2. ถ้าจะศึกษาเอง ไม่กลัวว่าจะตายก่อนบรรลุ และไม่สามารถหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติข้างต้นได้เลย:
    1. พระอรรถกถาจารย์ให้เริ่มที่ท่องจำขุททกปาฐะบาลีและแปล ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ในปฐมสังคายนาล้วนพากันไปฟังคำอธิบายธรรมะจากพระสารีบุตรกันทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงต้องท่องจำมาติกาปฏิสัมภิทามรรคและมาติกาสุตมยญาณ มหาสติปัฏฐานสูตร  อภิธัมมมาติกา เนตติปกรณ์สังคหะ-อุทเทส-นิทเทส ในกรณีพระภิกษุ เพิ่มปาติโมกขอุทเทส และการท่องจำตามหลักสูตรนิสสยมุจจกะเข้าไปด้วย.
    2. ท่องจำทั้งหมดนั่นด้วยความเคารพดุจที่ทำกับพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติพร้อมนั้น ท่องจำวนไปวนมาซ้ำๆ พร้อมทั้งนำความหมายออกมาจากบทบริกรรมให้ได้
      1. ทุกๆ ตัวอักษร (อกฺขรํ ได้ สงฺกาสนา)
      2. ทุกๆ คำ (ปทํ ได้ ปกาสนา)
      3. ทุกๆ ประโยค (พฺยญฺชนํ ได้ วิวรณา)
      4. วิเคราะห์ทุกๆ สภาวะ (นิรุตฺติ ได้ วิภชฺชนา)
      5. อธิบายบทบริกรรมทุกๆ บทให้ได้ (นิทฺเทโส ได้ อุตฺตานีกมฺมํ)
      6. อธิบายคำอธิบายนั้นได้ด้วย (อากาโร ได้ ปญฺญตฺติ)
    3. นำสิ่งที่ท่องจำนี้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 
    4. ถ้าติดขัดตรงไหน หรือ ยังไม่บรรลุ ให้ค่อยๆ ไปดูส่วนของนิทเทสหรืออรรถกถาของเรื่องนั้นๆ เพิ่ม.
ในภิกษุนั้น จะมีอาจารย์กรรมฐานที่มีคุณสมบัติพร้อมหรือไม่มีก็ตาม จะต้องทำตามหลักสูตรภิกขุนิสสยมุจจกะให้แตกฉาน ไม่เช่นนั้นมีอาบัติทุกคืนเมื่ออยู่ปราศจากอุปัชฌาย์ผู้มีคุณสมบัติภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ. นี้สำหรับวิปัสสนาธุระ ตามจักขุปาลัตเถรวัตถุกล่าวไว้ คือ มีพรรษา 5 พ้นนิสสัยจากอาจารย์แล้ว พระจักขุปาละก็เลือกไปทำวิปัสสนาต่อ โดยมีคุณสมบัติของนิสสยมุจจกะติดตัวไป.

ส่วนคันถธุระนั้น ตาม วินย.อ. นั้น เหมาะสำหรับพระอรหันต์ หรืออย่างน้อยที่สุดแม้กัลยาณปุถุชนผู้ที่ทำองค์ของนิสสยมุจจกะครบแล้ว ก็มาทำคันถธุระในหลักสูตรภิกขุปริสูปัฏฐาปกะและภิกขุโนวาทกะต่อ.

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ความทุกข์ใจเกิดตอนไหนบ้าง?

ความโกรธ ความกลัว ความแค้น ความเสียใจ ความเศร้าโศก ความอิจฉา ความหวงแหนของ ความตระหนี่ ความรำคาญใจ ความกังวล
ทั้งหมดล้วนเกิดพร้อมกับความรู้สึกทุกข์ใจ ไม่สบายใจ ลำบากใจทั้งสิ้น
เพราะเหตุนั้น เวลาเช่นนั้น จึงไม่มีใครยิ้มได้ด้วยใจจริง

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ข้อผิดพลาดในอานาปานสติ 2 ข้อ ที่ผู้เริ่มต้นฝึกดูลมหายใจและอาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องรู้

คนที่อ่านพระไตรปิฎกมาเอง ไม่ได้ท่องจำพระบาลีอานาปานสติ หลายคนทำแค่ 2 ข้อแรก คือ พยายามดูแต่ลมสั้นยาว แต่ลืม 2 ข้อนี้ ทั้งๆ ที่ในพระไตรปิฎกบาลี บอกให้ทำทั้ง 4 ข้อไปพร้อมๆ กันคือ:

1. ต้องฝึกดูลมหายใจที่เบาลงๆ ให้ได้ไม่ขาดๆ หายๆ ด้วย,
2. และก็ต้องฝึกรู้ได้ตลอดห้ามให้ลมหายใจหาย ครับ. (คำว่า ฝึก หรือ สิกขานี้ หมายความว่า ยังทำไม่สำเร็จ แต่พยายามทำต่อเนื่องสุดๆ เพื่อให้มีโอกาสสำเร็จในอนาคตอันใกล้มากที่สุดเท่าที่ปัจจัยถึงพร้อม)

ทั้ง 2 ข้อนี้ต้องทำคู่ไปกับอีก 2 ข้อ คือ 1. สังเกตลมหายใจตลอดเวลาทั้งเข้าและออกที่ปลายจมูกหรือเหนือปาก (ไม่ตามลมไปอกหรือที่อื่น) 2. จะลมยาวหรือลมที่ค่อยๆ เบาและสั้นลง ก็ไม่พลาดสักวินาที ทุกอิริยาบถใหญ่ย่อย ไม่ใช่แค่นั่งนะครับ.

ไม่ใช่แค่ดูลมแล้วจะหายใจแรงได้ อย่างนี้ก็สมาธิกระเจิง เพราะไปฝึกการหายใจ ไม่ให้หายใจโดยธรรมชาติ เหนื่อยแย่เลย หรือดูลมแล้วเห็นแบบขาดๆ หายๆ อย่างนี้ก็ยังไม่มีสมาธิ หรือเพิ่งทำสมาธิไม่นานแล้วลมหายใจหายไป ก็คิดไปเองว่าเป็นจตุตถฌาน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะฌานของผู้ยังไม่ได้ฝึกวสีต้องเข้าตามลำดับฌาน จู่ๆ คนทำเพิ่งทำสมาธิจะข้ามไปจตุตถฌานเลยเป็นไปไม่ได้.

วิธีแก้ ทั้งปวง คือ ฝึก 2 ข้อที่ว่าแต่แรกนั้น ไปพร้อมๆ กับการดูลมหายใจเข้าออก สาเหตุนี้เองในพระบาลีอานาปานัสสติหมวดแรกจึงแยกเป็น 2 ศัพท์คือ ปชานาติ (รู้ชัดลมกายใจ) กับ  สิกขติ (ฝึกฝนความรู้ให้ชัดในลมเข้าออกและลมที่เบายิ่งขึ้นด้วย).

ฉะนั้นต่อไปนี้เวลาสอนหรือฝึกอานาปานสติผู้มาใหม่ อย่าลืมเน้น 2 ข้อนี้คู่ไปกับการให้ดูลมหายใจสั้นยาวด้วยนะครับ เพราะมันจะต้องทำไปพร้อมๆ กัน:

1. ต้องฝึกดูลมหายใจที่เบาลงๆ ให้ได้ไม่ขาดๆ หายๆ ด้วย,
2. และก็ต้องรู้ได้ตลอดห้ามให้ลมหายใจหาย ครับ.

นี่เป็นความผิดพลาดที่พบในระบบเรียนแบบอ่านเขียน แต่ไม่พบในระบบมุขปาฐะ คือ การท่องจำอานาปานัสสติบาลีทั้ง 4 จนชำนาญไปพร้อมกับการทำกรรมฐานครับ.

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ตำราการทำน้ำมนต์ ลดน้ำมนต์ บนบานสานกล่าวกับเทวดาไหมครับ มีบาลีไหมครับ?

มีแต่แบบประยุกต์ครับ คือ ไม่ใช่หลักคำสอน แต่ประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ได้ เช่น พระทำน้ำมนต์เองไม่ได้ผิดพระวินัย แต่ถ้าชาวบ้านขอแล้วไม่ทำ ก็ผิดพระวินัยข้อ #ทำศรัทธาของบุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส ไม่ให้เลื่อมใส เสียโอกาสบรรลุธรรมของคนเหล่านี้เช่นกัน, ดังนั้น มัชฌิมาปฏิปทาของวินัยสองข้อคือ ถ้าโยมเตรียมน้ำไว้ ให้พระพรมให้ พระพรมให้ได้ แต่ถ้าให้พระทำจัดเตรียมน้ำใหั พระทำไม่ได้ มีอาบัติ. #คนละครึ่งทาง ไม่สุดโต่ง. พระพุทธเจ้าก็เคยใช้วิธีนี้ใน อ.รตนสูตร.
หรือการบนบานนั้น แม้จะไม่ใช้วิธีทางพุทธ แต่ก็ไม่ได้ผิดศีลข้อไหนโดยตรง อีกทั้งยังจัดเข้าในข้อบูชาคุณของเทวดาผู้มีศีลได้ด้วย (เทวตานุสสติ) ฉะนั้น ถ้าเขายังไม่พร้อมฟังคำอธิบาย ก็ไม่ควรขัดสุ่มสี่สุ่มห้า  เพราะคนมีปัญญาจริงตัองรู้จักกาละเทศะด้วย.
ไทยเสียวัฒนธรรมความเข้าใจเหล่านี้ไปสมัยสงคราม ต้องเห็นใจกันและกันนะครับ ไม่ใช่ซ้ำเติมกัน. อย่าหักดิบเกินงาม เขาจะรังเกียจคำสอนได้ เพราะคนพุทธต้องมีสัปปุริสธรรม 7 ไม่ใช่พวกจรเข้ขวางคลองครับ ไม่งั้นไม่น่าเลื่อมใส เป็นไปเพื่อความขัดแย้ง ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน.