วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

แปลอรรถกถามรรคสัจจนิทเทส

ควรอ่านลิงก์นี้ก่อน

               พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐินิทเทสดังต่อไปนี้ 
               พระสารีบุตรแสดงจตุสัจกรรมฐานด้วยมีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ ดังนี้. 
               บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ, ๒ ข้างหลังเป็นวิวัฏฏะ. 
               ในสัจจะเหล่านั้น ภิกษุย่อมมีความตั้งใจมั่นในอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวัฏฏะ ไม่มีความตั้งใจมั่นอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวิวัฏฏะ. อธิบายว่า พระโยคาวจร(ตั้งใจมั่นในอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวัฏฏะโดย)ทำกรรมด้วยการเรียนสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยสังเขปอย่างนี้ว่า "ปญฺจกฺขนฺธา ทุกฺขํ, ตณฺหา สมุทโย - ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์", และโดยพิสดารว่า "กตเม ปญฺจกฺขนฺธา, รูปกฺขนฺโธขันธ์ ๕ เป็นไฉน, คือ รูปขันธ์" เป็นต้น แล้วท่องกลับไปมาบ่อยๆ ด้วยวาจา
               ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจร(ไม่ต้องมีความตั้งใจมั่นอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวิวัฏฏะเพียง)ทำกรรมด้วยการฟังเท่านั้นอย่างนี้ว่า นิโรธสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ, มคฺคสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ - นิโรธสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ มรรคสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ. 
               (ปฏิเวธะ=สัมมาทิฏฐิ=ปัญญินทรีย์=ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณํ ปญฺญินฺทฺริยํ=แทงตลอดสภาวะธรรมในวัฏฏะและวิวัฏฏะปฏิจจสมุปบาท คือ สัจจะทั้ง 4 ในบุพพภาคมรรคแทง 2 เท่านั้น ในโลกุตตรมรรค แทง 4 ในขณะจิตเดียว)
               (อภิสมัย=เวลาประชุม=เวลาที่โลกุตตรอริยมรรคจิตตุปบาทเกิด มรรค 8 ประชุมทำกิจพร้อมกัน หลังจากฝึกโลกิยบุพพภาคมรรคจนมีกำลังสมบูรณ์พรั่งพร้อมแล้ว, แต่ว่าในบุพพภาคมรรคอาจแยกกันธรรม เช่น สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นเจตสิกที่ไม่เกิดกับโลกิยะอัปปนาสัมมาสมาธิ เป็นต้น. ดู อภิสมยกถา)
               พระโยคาวจรนั้นเมื่อทำกรรมดังกล่าวนั้น (สัมมาทิฏฐิ)ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยปฏิเวธครั้งเดียว (โลกุตตรอริยมรรคจิตตุปบาท)ย่อมทำกิจพร้อมกันด้วยอภิสมัยครั้งเดียว. อธิบายว่า (สัมมาทิฏฐิ)ใช้ปริญญาปฏิเวธแทงตลอดทุกข์, ใช้ปหานปฏิเวธแทงตลอดสมุทัย, ใช้สัจฉิกิริยาปฏิเวธแทงตลอดนิโรธ, ใช้ภาวนาปฏิเวธแทงตลอดมรรค. (โลกุตตรอริยมรรค 8)ย่อมใช้ปริญญาภิสมัยทำ(ปริญญา)กิจในทุกข์ด้วยกัน ฯลฯ ย่อมใช้สัจฉิกินิยาภิสมัยทำ(สัจฉิกิริยา)กิจในมรรคด้วยกัน.
               เอวมสฺส ปุพฺพภาเค ทฺวีสุ สจฺเจสุ อุคฺคหปริปุจฺฉาสวนธารณสมฺมสนปฺปฏิเวโธ โหติ ทฺวีสุ สวนปฺปฏิเวโธเยว ฯ
               อปรภาเค ตีสุ กิจฺจโต ปฏิเวโธ โหติ นิโรเธ อารมฺมณปฺปฏิเวโธ ฯ
               ตตฺถ สพฺพมฺปิ ปฏิเวธญาณํ โลกุตฺตรํ สวนธารณสมฺมสนญาณํ โลกิยํ กามาวจรํ ฯ
               ปจฺจเวกฺขณา ปน มคฺคสจฺจสฺส(๑) โหติ อยญฺจ อาทิกมฺมิโก ฯ
               ตสฺมา สา อิธ น วุตฺตา ฯ
               อปรภาเค ปน ทุกฺขํ ปริญฺญาตเมว โหติ ฯเปฯ มคฺโค ภาวิโตว โหติ ฯ
#๑. ม. ปตฺตสจฺจสฺส ฯ
 
               ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ฉะนั้น... 
               ในช่วงบุพพภาคมรรค ในสัจจะ ๒ อย่างแรก ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ การท่องบทบริกรรมกรรมฐาน การสอบถาม การฟังคำอธิบาย(คำตอบ) การทรงจำ การสัมมสนะ และการปฏิเวธ, 
               ในสัจจะ ๒ อย่างหลัง  ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ การฟังคำอธิบาย และการปฏิเวธเท่านั้น. 
              ในช่วงอริยมรรค ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ ปฏิเวธสัจจะ 3 โดยการทำกิจ และปฏิเวธนิโรธโดยการทำให้เป็นอารมณ์. 
               ในกิจเหล่านั้น ปฏิเวธญาณแม้ทั้งหมดเป็นโลกุตระ(ทั้งสัจจะ 2 แรกและหลัง), ญาณที่ฟังคำอธิบาย ญาณที่ทรงจำ ญาณที่สัมมสนะ เป็นโลกิยกามาวจร. 
               ส่วนปัจจเวกขณญาณย่อมเป็นของผู้บรรลุสัจจะไปแล้ว แต่ในที่นี้เป็นญาณก่อนปัจจเวกขณญาณของผู้ที่ยังไม่ได้บรรลุไปแล้ว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ในที่นี้ อธิบายว่า ก่อนหน้านั้น ภิกษุนี้ย่อมไม่มีอาโภคะ สมันนาหาระ มนสิการะ และปัจจเวกขณะว่า "เราทำปริญญาในทุกข์อยู่ เราทำปหานะในสมุทัยอยู่ เราทำสัจฉิกิริยาในนิโรธอยู่ เราทำภาวนาในมรรคอยู่" ดังนี้, ภิกษุมามีก็หลังจากได้กำหนดรู้แล้ว. แต่หลังจากนั้น ทุกข์เป็นอันภิกษุทำปริญญาแล้ว ฯลฯ มรรคเป็นอันภิกษุภาวนาแล้ว. 
               ในสัจจะเหล่านั้น สัจจะ ๒ ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก, สัจจะ ๒ เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง. จริงอยู่ ทุกขสัจจะปรากฏแต่เกิด, ในขณะถูกตอและหนามทิ่มแทงเป็นต้น ก็ร้องว่าโอยเจ็บ!  สมุทยสัจจะปรากฏแต่เกิดด้วยอยากจะเคี้ยวอยากจะกินเป็นต้น. สัจจะแม้ทั้งสองข้อหลัง ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะแทงตลอดด้วยลักษณะ. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยากด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อเห็นสัจจะ ๒ อย่างหลังนั้น นอกนั้นก็เหมือนเหยียดมือเพื่อถือเอาภวัคคพรหม เหมือนเหยียดเท้าเพื่อสัมผัสอเวจี และเหมือนการจรดปลายขนทรายที่แยกออกร้อยส่วนด้วยปลายขนทราย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้งด้วยประการฉะนี้. 
               พระสารีบุตรกล่าวบทมีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ นี้หมายถึงการเกิดแห่งญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการทำกิจในสัจจะ ๔ คือ การท่องคำบริกรรม เป็นต้น ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง แต่ในขณะแทงตลอด ญาณนั้นมีเพียงญาณเดียวเท่านั้น. 

----------ส่วนต่อไปนี้ยังไม่ได้ปรับสำนวน----------------
               ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า ญาณในสัจจะทั้งหลายมี ๔ อย่าง คือ สุตมยญาณ - ญาณเกิดจากการฟัง ๑ ววัตถานญาณ - ญาณเกิดจากการกำหนด ๑ สัมมสนญาณ - ญาณเกิดจากการสัมมสนะ ๑ อภิสมยญาณ - ญาณเกิดจากการถึงพร้อมด้วยกัน ๑. 
               ในญาณเหล่านั้น สุตมยญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรฟังสัจจะ ๔ โดยย่อหรือโดยพิสดารย่อมรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค. นี้ชื่อว่าสุตมยญาณ. 
               ววัตถานญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดความของการฟัง โดยเหตุเกิดและโดยลักษณะ (สมุทยเหตุ 4+นิพพัตติลักษณะ) ย่อมลงความเห็นว่า ธรรมเหล่านี้นับเนื่องในสัจจะนี้ นี้เป็นลักษณะของสัจจะนี้. นี้ชื่อว่า ววัตถานญาณ. 
               สัมมสนญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นกำหนดสัจจะ ๔ ตามลำดับอย่างนี้แล้วถือเอาทุกข์เท่านั้น ย่อมพิจารณาตลอดไปถึงโคตรภูญาณ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. นี้ชื่อว่าสัมมสนญาณ. 
               อภิสมยญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยญาณหนึ่ง ในขณะโลกุตรมรรค ไม่ก่อน ไม่หลัง คือย่อมตรัสรู้ทุกข์โดยการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อมตรัสรู้สมุทัย โดยการตรัสรู้ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้นิโรธ โดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง, ย่อมตรัสรู้มรรค โดยการตรัสรู้ด้วยการเจริญ. นี้ชื่อว่าอภิสมยญาณ. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.