การทำงานร่วมกันนั้น แต่ละคนจะมีข้อจำกัดของตนเอง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเพื่อนร่วมงานที่ต่างกัน ซึ่งผู้บริหารรับผิดชอบดูแล #ปัญหา ทั้งหลายนี้อยู่ โดยผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถต่อรองได้ใน #บางโอกาส แต่ต้อง #นับข้อจำกัด ของคนเองที่ยื่นต่อผู้บริหาร ไม่ให้มากจนเกินไป และไม่เอาแต่ใจของตนเองจนเกินไป เช่น ทำท่าทีตึงตัง, หรือ ไปนินทากันลับหลัง
สิ่งที่ดีที่สุด คือ พยายามพูดให้เกิดความสามัคคี พูดให้สมาชิกเพื่อนร่วมงาน ทุกคน เข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีรอยยิ้มให้กันอย่างจริงใจ สบายใจ มีความสุข เหมือนคนในครอบครัว
ส่วนนี้ ผู้บริหารมักจะทำได้อยู่แล้ว แต่สมาชิกคนอื่นๆ อาจจะยังทำไม่ได้ อาจจะยังมีการใส่อารมณ์ไปบ้างในขณะที่เกิดปัญหา ก็เป็นหน้าที่ของสมาชิกผู้นั้น ที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ให้ก้าวไปสู่ความเป็น #ผู้ใหญ่ ในระดับเดียวกับ #ผู้บริหาร และก็เป็นหน้าที่ของเพื่อนสมาชิกท่านอื่นๆ ในการให้คำแนะนำ ประคับประคองพัฒนาร่วมกันไป ด้วยความสามัคคี เห็นอกเห็นใจ แนะนำซึ่งกันและกันอย่างตรงไปตรงมา
ในสาราณียธรรม 6 (วิธีทำให้คิดถึงกันได้อย่างสบายใจ) นั้น ท่านบอกว่า ความเข้าใจซึ่งกันและกัน (ทิฏฐิสามัญญตา) เป็นหัวหน้าของสาราณียธรรมข้อที่เหลือ ซึ่งการจะเข้าใจซึ่งกันและกันได้นั้น ก็จะต้องมีกติกาที่ตกลงกันด้วยดีในที่ประชุม (สีลสามัญญตา) ไม่ใช่ไปคุยกันต่อนอกรอบ แต่จะต้องคุยทุกอย่างในที่ประชุมให้จบให้เคลีย ก็จะทำให้เกิด สาธารณโภคี (ได้ของ/ได้งาน แตกต่างกันตามฐานะก็จริง แต่เสมอกันเพราะตกลงกันเคลียในที่ประชุมแล้ว) เมตตากายกรรม (ทำงานร่วมกันเพื่อความรักสามัคคี) เมตตาวจีกรรม (พูดถึงกันเพื่อความรักสามัคคี) เมตตามโนกรรม (คิดถึงกันเพื่อความรักสามัคคี)
จงอย่าลืมว่า ข้อเสีย ข้อจำกัดของคุณก็มี และนั่นเป็นสิ่งที่เพื่อนร่วมงานทุกคนแบกรับแทนคุณอยู่ จงสงสารเห็นใจเพื่อนร่วมงานด้วย และคิด ทำ พูด ด้วยความเห็นใจ การพูดถึงปัญหาต่างๆ จึงจะนุ่มนวล มีน้ำเสียงไพเราะน่าฟัง และไม่นำมาซึ่งความแตกแยก บาดหมาง ต่อกันและกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.