มีแต่แบบประยุกต์ครับ คือ ไม่ใช่หลักคำสอน แต่ประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ได้ เช่น พระทำน้ำมนต์เองไม่ได้ผิดพระวินัย แต่ถ้าชาวบ้านขอแล้วไม่ทำ ก็ผิดพระวินัยข้อ #ทำศรัทธาของบุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส ไม่ให้เลื่อมใส เสียโอกาสบรรลุธรรมของคนเหล่านี้เช่นกัน, ดังนั้น มัชฌิมาปฏิปทาของวินัยสองข้อคือ ถ้าโยมเตรียมน้ำไว้ ให้พระพรมให้ พระพรมให้ได้ แต่ถ้าให้พระทำจัดเตรียมน้ำใหั พระทำไม่ได้ มีอาบัติ. #คนละครึ่งทาง ไม่สุดโต่ง. พระพุทธเจ้าก็เคยใช้วิธีนี้ใน อ.รตนสูตร.
หรือการบนบานนั้น แม้จะไม่ใช้วิธีทางพุทธ แต่ก็ไม่ได้ผิดศีลข้อไหนโดยตรง อีกทั้งยังจัดเข้าในข้อบูชาคุณของเทวดาผู้มีศีลได้ด้วย (เทวตานุสสติ) ฉะนั้น ถ้าเขายังไม่พร้อมฟังคำอธิบาย ก็ไม่ควรขัดสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะคนมีปัญญาจริงตัองรู้จักกาละเทศะด้วย.
ไทยเสียวัฒนธรรมความเข้าใจเหล่านี้ไปสมัยสงคราม ต้องเห็นใจกันและกันนะครับ ไม่ใช่ซ้ำเติมกัน. อย่าหักดิบเกินงาม เขาจะรังเกียจคำสอนได้ เพราะคนพุทธต้องมีสัปปุริสธรรม 7 ไม่ใช่พวกจรเข้ขวางคลองครับ ไม่งั้นไม่น่าเลื่อมใส เป็นไปเพื่อความขัดแย้ง ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน.
▼
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.