วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิปัสสนา พลววิปัสสนาญาณ ภังคญาณ ในปฏิสัมภิทามรรค แปลทับศัพท์เอาองค์ธรรม

#สูตร
อย่างไร คือ การปฏิสังขาอารมณ์ คือ ภังคานุปัสสนาปัญญา  คือ วิปัสสนาญาณ?
(ปฏิสังขา=ญาณทบทวนไตรลักษณ์ คือ ทำแบบญาณที่แล้วนั่นแหละ,
ภังคานุปัสสนาปัญญา=การเห็นขันธ์โดยไตรลักษณ์ต่างๆ และ โดยอนุปัสสนาอีก 4 ด้วย ในระดับตามเห็นภังคานุขณะ[ญาณที่แล้ว ระดับเห็นทั้งอุปาทะ, ทั้งภังคะ],
วิปัสสนาญาณ=พลววิปัสสนาญาณ)
#วุตติ
จิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ใด อุปาทะแล้วย่อมภังคะไป. เมื่อโยคีปฏิสังขาอารมณ์นั้นแล้ว, จึงตามทำวิปัสสนาในจิตนั้นแหละอีกที.
#อุทาหรณ์
(ในวุตติ) ที่ว่า ตามทำวิปัสสนา(อนุปัสสนา 7 ในวิปัสสนาจิต)  นั้น คืออย่างไร?
(ต่อจากจุดนี้แปลเอาอรรถกถาและวิสุทธิมรรคมาใส่ให้หมดเลย)
จิตตามเห็นจิตที่ทำรูปขันธานุปัสสนา โดยอนิจจลักษณะ ไม่ใช่โดยนิจจสัญญา (อนิจจานุปัสสนา) .
จิตตามเห็นจิตที่ทำรูปขันธานุปัสสนา โดยทุกขลักษณะ ไม่ใช่โดยสุขสัญญา (ทุกขานุปัสสนา) .
จิตตามเห็นจิตที่ทำรูปขันธานุปัสสนา โดยอนัตตลักษณะ ไม่ใช่โดยอนัตตสัญญา  (อนัตตานุปัสสนา) .
จึงเบื่อหน่าย(นิพพิทานุปัสสนา) ไม่ใช่ยินดี, จึงละคลาย (วิราคานุปัสสนา)  ไม่ใช่ติดใจ, จึงดับ (นิโรธานุปัสสนา) ไม่ใช่เกิดอีก, จึงสละคืน (ปฏินิสสัคคานุปัสสนา) ไม่ใช่ยึดถือ.
(จิตในที่นี้ คือ วิปัสสนาญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท)
(จากนี้เอาขันธ์ 4 ที่เหลือมาแจกตามข้างต้น และวนธรรมะ 201 แบบญาณก่อนๆ ไม่ได้แปลให้ ดูตามบาลี หรือ ตามเล่มแปลฉบับอื่นได้เลย).
#คาถาสรุป
  1. องค์ของปฏิสังขาวิปัสสนา (3) คือ 1. ญาณทบทวนภังคอนุขณะ(ภังคญาณในทั้งขันธ์เป็นต้น และภังคญาณในวิปัสสนาจิตที่เข้าไปพิจารณาขันธ์นั้นด้วย) + 2. ญาณหลีกออก(วิวัฏฏญาณ) + 3. อาวัชชนะที่มีกำลัง (พลวอาวัชชนะวิถีของพลววิปัสสนาชวนะ).
  2. ปฏิสังขาวิปัสสนา ถือเป็นการววัตถานอารมณ์ทั้ง 2 ว่าเป็นไปตามปัจจุบันธรรม (ปัจจักขธรรม) ที่ทำทำปฏิสังขาวิปัสสนาไปแล้วนั้นด้วย (อตีตขันธ์ อนาคตขันธ์). (ววัตถาน=การแต่งตั้ง, แปลตามวิสุทธิ.ฏีกา. และบัญญัตินิทเทส).
    (ที่ท่านแสดงว่า ปัจจุบัน เท่ากับอดีต เท่ากับ อนาคต ไว้ในที่นี้ เพราะกาลเป็นเพียงบัญญัติ, อุปันนธรรม คือ ธรรมที่มีสังขตลักษณะ เป็นปรมัตถ์ ที่ถูกจิตเอาไปคิดบัญญัติว่าเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน).
  3. วยลักษณวิปัสสนา (วิปัสสนาเห็นลักษณะเสื่อม[วยญาณ]) คือ การอธิมุต(น้อมไป) ในภังคะ.
  4. องค์ของ อธิปัญญาวิปัสสนา (3) คือ 1. การปฏิสังขาในอารมณ์ (ปฏิสังขาวิปัสสนา), 2. การอนุปัสสนาความดับ (ภังคานุปัสสนา), 3. การปรากฎชัดว่าเป็นของสูญ (ว่างเปล่าจากแก่นสารที่สามารถใช้ยึดถือได้จริง).
  5. องค์ของผู้ฉลาดจะไม่มีทางหวั่นไหวไปกับทิฏฐิต่างๆ ...
    (3 ข้อนี้ คือ การทำอนุปัสสนา 7 จนภังคะปรากฎชัดนั่นเอง).
    1. เพราะความฉลาดในอนุปัสสนา 3 (อนิจจานุปัสสนา ฯลฯ), 
    2. เพราะความฉลาดในวิปัสสนา 4 (อนุปัสสนา 4 ข้อหลังที่เหลือของอนุปัสสนา 7 ) 
    3. เพราะความฉลาดในการปรากฎชัดของธรรมะ 3 อย่าง (ขยะ วยะ สุญญะ=สิ้น เสื่อม สูญ=ภังคะ).
วิปัสสนาญาณนั้น เรียกว่า ญาณ เพราะเป็นสภาวะรู้ชำนาญ, เรียกว่า ปัญญา เพราะเป็นสภาวะรู้นัยยะต่างๆ.

โดยคำอธิบายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ(ทั้งวุตติ อุทาหรณ์ คาถาสรุป และสรุปสูตร) จึงกล่าว(สูตร)ว่า "อย่างไร คือ การปฏิสังขาอารมณ์ คือ ภังคานุปัสสนาปัญญา คือ วิปัสสนาญาณ?"

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อัฏฐสาลินีว่า "กาลเป็นบัญญัติ"

อัฏฐสาลินีว่า "กาลเป็นบัญญัติ"

เราก็ต้องเอามาวิเคราะห์ว่าเป็นบัญญัติอะไรในอภิธัมมัตถสังคหะ?

พบว่าเป็นอัตถบัญญัติ (บัญญัติที่จิตรูปปรมัตถ์แล้วคิดบัญญัตินี้ขึ้น) ประเภทกาลบัญญัติ (ปริเฉท 8).

เมื่อทราบแล้ว เราก็ต้องมาพิจารณาวิถีที่ปัจจัยปัจจยุปบันเป็นไปว่า คิดกาลบัญญัตินี้ขึ้นมาจากปรมัตถ์อะไร? อย่างไร?

ก็จะพบว่า อัตถบัญญัติ เริ่มถูกคิดขึ้นทาง อัตถัคคหนตทนุวัตติกะมโนทวารวิถี, และคิดอย่างซับซ้อนมาก ในสุทธมโนทวาร. (ปริเฉท 4)

วาระหนึ่งรับปรมัตถ์ที่ถึงอุปปันนะก่อนเป็นอารมณ์ อีกวาระรับปรมัตถ์ที่ถึงอุปปันนะทีหลังเป็นอารมณ์ วาระถัดมารู้อัตถบัญญัติคือความต่างกันของปรมัตถ์ทั้งสองที่อุปปันนะก่อน(อตีตุปปันนะ)และอุปปะนนะหลัง(ปัจจุปันนะ)จากกัน (ธัมมสังคณี ม่าติกา อุปปันนติกะ ไม่มีสอนในห้อง แต่มีในตำราบาลีหลายแห่ง เช่น ปริเฉท 8, อัฏฐสาลินี, อุปปันนะ 4, อุปปันนะ 8 เป็นต้น).

ฉะนั้นกาลบัญญัติ ก็ถูกคิดขึ้นจาก ปรมัตถ์ที่อุปปันนะก่อนหลังกัน (อตีตติกะ) เช่น อดีตกว่า > อดีต > ปัจจุบัน > อนาคต > อนาคตกว่า.

อนึ่ง เรื่องที่วิเคราะห์มานี้ สามารถเอาไปใช้หาคำตอบอื่นได้อีกว่า : "วิปัสสนารู้อตีตุปปันนะได้หรือไม่?", "อนุสัยเกิดหรือไม่เกิด?", "วิปัสสนารู้บัญญัติได้หรือไม่?"

ความเงียบมีเสียงก็ได้, ไม่มีเสียงก็ได้

ความเงียบมีเสียงก็ได้, ไม่มีเสียงก็ได้ เพราะ...
  1. สัททรูปไม่เกิด ก็เงียบ,
  2. สัททรูปไม่เกิด แต่มโนทวาริกจิตรู้เสียง ก็ไม่เงียบ,
  3. สัททรูปเกิด แต่โสตวิญญาณไม่รู้ ก็เงียบ,
  4. สัททรูปเกิด โสตวิญาณรู้ ก็ไม่เงียบ.
สรุปว่า: " หูไม่ได้ยิน มันก็เงียบ, เสียงจะมีหรือไม่มี มันก็เงียบอยู่ดี."

ข้างล่างนี้เป็นรายละเอียดสำหรับคนที่ยังสงสัยอยู่อีก:

ถามต่อว่า: เสียงในป่าเงียบหรือไม่?
ตอบว่า: ตอนที่พยายามฟังความเงียบ ส่วนใหญ่จะได้ยินเสียงที่เบาๆ เช่นฟังเสียงในป่า เงียบกว่าเมือง แต่ก็ได้ยินเสียงใบไม้ เสียงแมลง เสียงน้ำ เสียงลม เพียงแต่มันไม่ดังเท่าในเมือง.
อย่าไปเขว่ กับ คำถามที่เล่นคำครับ, หาสภาวะให้เจอ.
ถ้าเขาบอกว่า วันนี้เงียบจัง, แต่เราได้ยินเสียงใบไม้ ก็แสดงว่า เงียบของเขาหมายถึง เสียงเบากว่าปกติ ไม่ใช่ไม่มีเสียง.
แต่ถ้าบอกว่า ผู้ทำฌาน อยู่ในความเงียบ ทั้งๆที่รอบตัวท่านมีคนคุยกันอยู่, อย่างนี้ แสดงว่า คนอื่นไม่เงียบ, แต่ผู้ได้ฌานเงียบ เพราะท่านไม่ด้ยินอะไร.
ขณะรู้รูป รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้นิพพาน รู้บัญญัติ ขณะนั้นเงียบหมด แม้กระทั่งรู้สัททบัญญัติ ก็เงียบ (แต่สลับกับจิตที่รู้เสียง ไม่เงียบ อย่างรวดเร็ว).
หลายคนจึงมักพูดว่า ขณะปฏิบัติไม่ได้รู้เป็นคำๆ แต่รู้สภาวะ. (ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ ใช้ได้แต่กับสมถะ ใช้กับผู้เริ่มทำวิปัสสนาไม่ได้ ตำราไม่ได้สอนไว้อย่างนั้น)


วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โครงการศึกษาพระวินัยปิฏกแบบโบราณเพื่อการประพฤติปฏิบัติ สำนักเรียนมหาธรรมรักขิตเจดีย์


โครงการศึกษาพระวินัยปิฏกแบบโบราณเพื่อการประพฤติปฏิบัติ
สถานที่ตั้งสำนักเรียนมหาธรรมรักขิตเจดีย์
-146 ม.1 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี 22140
หลักสูตรการศึกษา(ภาษาบาลี)
-พระวินัยปิฎกแบบโบราณ
ตำราเรียน(ทั้งหมด 32 เล่ม)
-บาลีวินัย 8 เล่ม
-อรรถกถา 7 เล่ม
-ฏีกา 11 เล่ม
-โยชนา 6 เล่ม
ระยะเวลาศึกษา
-24 ถึง 32 เดือน
จุดมุ่งหมาย
-เพื่อความเจริญแห่งปัญญาในกองศีลอันเป็นสิกขาเบื้องต้น
-เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย
-เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
-เพื่อการสืบทอดคำสอนพระวินัยเชิงลึกแบบเก่า
คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน(รับเฉพาะภิกษุหรือสามเณร)
-มีใบสุทธิพร้อมทั้งใบอนุญาตจากเจ้าอาวาสหรืออาจารย์
-เป็นผู้ยินดีในการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย
-เคยศึกษาบาลีไวยากรณ์สามารถแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยได้,สามารถสัมพันธ์ประโยคบาลีได้เป็นอย่างน้อย
-สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่องจนจบหลักสูตร
-เป็นผู้ว่าง่ายยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนสหธรรมิกตามพระธรรมวินัย
-มีความเพียรต่อเนื่องไม่เกียจคร้าน
ระยะเวลาเปิดรับสมัคร
-วันนี้ ถึงวันวิสาขบูชา(20/05/2559)เพื่อสะดวกแก่การจัดเตรียมสถานที่พักและตำราเรียน
วันเปิดเรียน
-19/07/2559
สิ่งที่ได้รับเมื่อเรียนจบหลักสูตร
-ความฉลาดในพระวินัยเพียงพอแก่การพ้นนิสัยหรือเป็นอาจารย์สอนวินัย,
-ตำราเรียนภาษาบาลีทั้งหมด 32 เล่ม
-วิธีการสอนพระวินัยให้แก่พระภิกษุและสามเณร
วิธีการสมัคร
-แจ้งชื่อ,ฉายา,อายุ,พรรษา,วัดที่บวช,วัดที่สังกัดและอยู่จำพรรษาครั้งสุดท้าย
-แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการเรียนและสถานที่ศึกษา
บุคคลที่สามารถติดต่อสมัครเรียนได้
-พระมหาพยอม ธมฺมรกฺขิโต
โทร.0852242490, dhammarakhita@gmail.com
นักวิชาการผู้ดำเนินการสอน
-พระมหาพยอม ธมฺมรกฺขิโต
(นักวินัยผู้ทรงปิฎกชาวไทย, จบการศึกษาบาลีโบราณ สายชเวจิน pa auk, เปรียญธรรม 9, และ มหาอาภิธรรมิกะเอก)

หวังจะเกิดภพที่ดี จึงทำ กุศล เป็น สัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ

เป็นปัญหาที่ควรแยกตอบ คือ
  1. หวังจะเกิด=ภวตัณหา=สัสตทิฏฐิคตสัมปยุต 
  2. เข้าใจว่าควรจะเกิด ในภพดี เพราะเหมาะแก่การทำกุศล =กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ
  3. ทั้ง #หวังจะเกิด ทั้ง #เข้าใจว่าควรจะเกิด เป็นปัจจัยแก่กุสล ทั้งสัมมาทิฏฐิสัมปยุต ทั้งสัมมาทิฏฐิวิปปยุต โดยปกตูปนิสสยปัจจัย.

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นักอภิธรรมไทย ละเลยปัจจัยปัจจยุปบัน ทำให้วินิจฉัยธรรมะพลาด

นี่เป็นเรื่องเล่า:

ผมมีอาจารย์ที่ผมรักเคารพมากท่านหนึ่ง (สมมติว่าชื่อ พระอาจารย์ จ.) เป็นพระมหาเปรียญ 9 เคยบาลีใหญ่ และสอนอภิธรรม, เป็นผู้ที่ทรงปริยัติมากท่านหนึ่ง และท่านยังเป็นผู้รักษาพระวินัยดีรูปหนึ่งด้วย.

ท่านเป็นคนช่วยให้ผมได้บวชครั้งแรก และคอยช่วยเหลือผมตลอดตอนที่ผมบวชอยู่.

หลังผมลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส ผมได้มีความคิดเห็นกับพระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง (สมมติว่า ชื่อ พระอาจารย์ ส.) ที่ผมเคารพรักมากเช่นกัน เรื่อง "กลาปเป็นปรมัตถ์หรือบัญญัติ?".

ผมและพระอาจารย์เปรียญ 9 รูปนี้ เราทั้งคู่ต่างก็เคารพ เพราะพระอาจารย์ ส. ก็เป็นผู้มีทั้งความรู้ และประสบการณ์มาก เป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัย และเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกมากอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ชำนาญเรื่องอภิธรรมชนิดหาคนเทียบยาก.

ผมได้มีโอกาสสนทนากับ พระอาจารย์ จ. เรื่องกลาปะดังกล่าว ท่านก็คิดว่า พระอาจารย์ ส. เข้าใจถูก เพียงแต่มองคนละมุมกับผม คือ พระอาจารย์ ส. เข้าใจว่า "กลาปะเป็นปรมัตถ์ เป็นรุปฺปนลกฺขณํ หรือ มีรุปฺปนลกฺขณํ".

ผมก็ค้านว่า พระอาจารย์ ส. ไม่ได้แค่เข้าใจคนละมุมกับผม แต่เข้าใจผิดเลยต่างหาก. ซึ่งเหตุผลของผม ก็ตามรูปในลิงก์นี้.

พระอาจารย์ จ. ก็ยังยืนยันอีก แล้วก็พยายามอธิบายผมว่า "กลาปะกับรุปฺปนลกฺขณํ" แยกกันไม่ได้, แล้วก็ยกเรื่องอุปาทาบัญญัติขึ้นมา บอกว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์".

ผมก็แย้งอีกว่า "บัญญัติไม่ได้อาศัยปรมัตถ์ บัญญัติไม่มีอยู่จริง ไม่ได้เป็นปัจจยุปบันของอะไรเลย".

ผมก็ย้ำไปอีกว่า "การจะตัดสินความจริง แยกบัญญัติ กับ ปรมัตถ์ จะต้องพิจารณาปัจจัยปัจจยุปบัน". (ประเด็นนี้ พระอาจารย์ ส. ว่าไว้ถูก ท่านพูดเสมอว่า "จิตอาศัยปรมัตถ์รู้บัญญัติ" ท่านไม่เคยพูดว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์" อย่างที่พระอาจารย์ จ. กล่าว)

จากนั้น พอพระอาจารย์ จ. ไม่เข้าใจว่า ปัจจัยปัจจยุปบันเกี่ยวอะไรกับบทสนทนา จึงขอผมจบบทสนทนา.

ผมก็ยังเคารพรักท่านทั้งสองเหมือนเดิมนั่นแหละ เพราะคนเราผิดพลาดกันได้ ยังไงท่านก็มีดีกว่าผมเยอะ, แต่ก็เล่าให้เห็นว่า ปริยัติที่ไม่รอบคอบ ไม่พิจารณาปัจจัยปัจจยุปบันให้ละเอียด ไม่เข้าถึงสภาวะธรรม จะทำให้วินิจฉัยธรรมะพลาดจริงๆ ต่อให้คุณผ่านอะไรมามากมายก็เถอะ. ฉะนั้น อย่าลืมพิจารณาปัจจัยปัจจยุปบันให้ละเอียด.

สิ่งที่อาจารย์สอนอภิธรรมสมัยนี้จะต้องปรับปรุง


ในบอร์ดอภิธรรมแห่งหนึ่ง มีคนถามขึ้นว่า ‪"อกุศลจิต‬‎ทำไมเมื่อให้ผลเป็น‬อกุศลวิบาก‎จึงไม่มีเหตุประกอบ‬?"

ความจริงแล้ว  คำถามผิดมาตั้งแต่ต้น และนักอภิธรรมก็มักจะเข้าใจคำถามแบบนี้ผิดกันทุกคน. ไปทบทวนปัฏฐานกันมาให้ดีว่า "อกุศลจิต ที่ไหนให้ผลเป็น อกุศลวิบาก โดยนานักขณิกกัมมปัจจัย?"

พระอาจารย์สุมนต์เคยสอนไหมว่า "โลภเจตสิก เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย แก่อเหตุกกุสลวิบาก?" ผมว่าไม่มีนะ, มันเป็นได้แค่ปกตูปนิสสยปัจจัยธรรมดาหรือเปล่า ไปลองทบทวนกันดู. #คำตอบมันอยู่ในตำรา ครับ.

อาจารย์ทั้งหลาย จงอย่าคิดคำตอบเอาเอง และอย่าหาแต่ในปริจเฉทที่ 1,2,6 เพราะคำถามพวกนี้ คำตอบหลายๆ ข้อ อยุ่ในปัฏฐาน ครับ.

อาจารย์ทั้งหลาย เวลาท่านพิจารณาคำถาม ท่านต้องวิเคราะห์องค์ธรรม แล้วหาปัจจัยปัจจยุปบัน รวมถึงบาลีของปัจจัยปัจจยุปบันนั้นๆ ด้วย. ไม่เช่นนั้น ท่านก็จะตอบคำถามกันสะเปะสะปะ องค์ธรรมไม่ตรงกับพระบาลี พอไปเปิดพระไตรปิฎก อรรถกถาฏีกา ก็มองไม่เห็นคำตอบ ต้องคิดคำตอบเอง ซึ่งหลายๆครั้งตอบไม่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาเลย.

สำคัญมาก คือ คุณเป็นผู้รู้ คุณจบหลักสูตรอภิธรรม คุณต้องทบทวนกับความรู้ทุกอย่างที่มี ไม่ใช่เอะอะก็ค้นแต่ 1,2,6 ทิ้งปัฏฐานหมด.

อีกอย่าง คือ คุณเป็นครู เวลาฟังลูกศิษย์ คุณอย่าไปเชื่อตามคำถามเค้าหมด เค้าไม่รู้จึงมาเรียนกับคุณ คุณจะไปทำเหมือนว่าเค้ารู้ดีถามดีอย่างเดียวไม่ได้, บางทีเค้าถามผิดๆ ถูกๆ คุณก็ต้องรู้จักเฉลียวใจ แยกผิดแยกถูกให้ได้ครบถ้วน แล้วพิจารณาคำตอบที่เหมาะสมตามพระบาลี, ไม่ใช่อยากจะตอบอะไรก็ตอบ ใช้ไม่ได้. เพราะถ้าทำอย่างนั้น คุณจะพาลูกศิษย์งุนงงไขว้เขว่ ไม่เป็นผลดีต่อการศึกษาในอนาคตแน่นอน ครับ.

ลิงก์ข้างล่างนี้คือคำตอบอย่างละเอียด. 

อย่าคิดว่าตอบเยิ่นเย้อ, ที่ตอบยาวเพราะต้องการเคลียให้กระจ่าง. ส่วนที่บางคนฟังดูไม่กระจ่างเพราะศัพท์มันมาก ยากแก่การประมวลของคนที่ไม่เป็นบาลี, ไม่ใช่ผมตอบมั่วแต่อย่างได เพราะคำตอบสามารถสาวหาปัจจัยได้หมดตามหลักอภิธรรม ครับ (ถ้าตอบมั่ว ปัจจัยปัจจยุบบันหลักฐานและภาษาต้องไม่สอดคล้องกัน).

แต่ถ้าตอบสั้น ก็อาจเกิดช่องโหว่ เข้าใจผิดได้ ครับ.


วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สัมปฏิจฉันนะ ต้องมีปกิณณกะ 3 เกิดด้วย, เพราะไม่มีกัมมชจักขุนทรียวัตถุปุเรชาตนิสสยะ, มีแต่หทยวัตถุที่ไม่เป็นอินทรีย์

จักขุวิญญาณวิบากเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยกะสัมปฏิจฉันนวิบาก แต่เพราะไม่มีกัมมชจักขุนทรีย์ เป็นอินทริยปัจจัยให้ อกุสลเจตนาจึงไม่สามารถจะทำให้เกิดจักขุวิญญาณินทรียวิบากได้ จึงทำให้เกิดสัมปฏิจฉันนะวิบากที่หทยวัตถุ, โดยอกุสลเจตนาจึงยังให้เกิดวิตักกวิบากเพื่อยกสัมปยุตวิบากขึ้นสู่อารมณ์ ยังให้เกิดวิจารวิบากเพื่อแนบสัมปยุตตวิบากไว้กับอารมณ์ ยังให้เกิดอธิโมกขวิบากเพื่อตัดใจสินใจทำกิจในอารมณ์ ทั้ง 3 ดวงนี้ ให้เกิดขึ้นมาเพื่อให้สัมปฏิจฉันนวิบากปรารภและอยู่กับอารมณ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยกัมมชจักขุนทรีย์.

จะเห็นได้ว่า สัมปฏิจฉันนะ ต้องมีปกิณณกะ 3 เกิดด้วย เพื่อยก/ครวญ/ตัดสินใจอารมณ์, เพราะไม่มีกัมมชจักขุนทรียวัตถุปุเรชาตนิสสยะให้แก่จักขุวิญาณเกิดต่อ, มีแต่หทยวัตถุที่ไม่เป็นอินทรีย์.

ถ้าไม่มีปัญจทวาราวัชชนะ, จะไม่มีผู้ได้ฌาน เพราะวิญญาณธาตุ ถูกกรรมและกัมมชรูปบังคับมาก

วิญญาณธาตุมีกายวิญญาณวิบากเป็นต้นเกิดโดยอาศัยทั้ง
  1. กัมมชกายปสาท
  2. นานักขณิกกัมมปัจจัย
  3. รูปารมณ์
ปัจจัยเหล่านั้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกันและกันอย่างมาก กระทั่งว่า เจตสิกเกิดร่วมอีกแค่ 7 ดวง ก็ถึงอุปปันนะ (เกิดขึ้น) ได้แล้ว.

ดังนั้น ถ้ากำลังจะเข้าฌาน แล้วมีรูปารมณ์มากระทบ, ภาวนาวาระจิต ที่เกิดได้ทางมโนทวารเท่านั้น ก็จะถูกคั่นกลางด้วยปัญจทวารที่ไม่เป็นภาวนาวาระทันที.

กลายเป็นว่า ปัญจทวารวิถี ที่ไม่มีปัญจทวาราวัชชนะ เป็นศัตรูของภาวนา ยิ่งกว่า นิวรณ์เสียอีก, เพราะนิวรณ์อาศัยปัจจัยเยอะกว่ามาก กว่าจะเกิดขึ้นมาได้แต่ละดวง.

แต่เมื่อมีปัญจทวาราวัชชนะ...

ปัญจทวาราวัชชนะเป็นกิริยาจิต ไม่ถูกปัจจัย 3 ข้อข้างต้นบังคับ เกิดขึ้นเพราะปกตูปนิสสยปัจจัยจากอตีตภวังค์ ภวังคจลนะ และอนันตรูปนิสสยปัจจัยจากภวังคุปัจเฉทะ, ซึ่งทั้ง 4 ดวง (รวมปัญจทวาราวัชชนะ) ได้รับปกตูปนิสสยปัจจัยจากโผฏฐัพพายตนารมณ์ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยด้วย.

ดังนั้น โผฏฐัพพะจะกระทบกัมมชกายปสาทะของผู้ทำฌานเท่าไหร่ก็ไม่ทำให้ฌานชวนะตัดกระแส เพื่อให้โอกาสกายวิญญาณวิบากเกิด, เพราะได้ตั้งใจไว้แล้วว่า จะไม่ให้ปัญจทวาราวัชชนะเกิด ด้วยอธิษฐานวสี นั่นเอง.

ส่วนกายวิญญาณวิบาก อธิษฐานไม่ได้ เพราะอำนาจกรรมแรงมาก ทั้งจากกายวิญญาณินทรีย์, กายินทรีย์ ทั้งคู่ล้วนเกิดจากกรรมทั้งสิ้น.

อนึ่ง ตอนที่เราเรียนกรรมฐานว่า "ไม่ให้ใส่ใจอย่างอื่น นอกจากอารมณ์กัมมัฏฐาน" ขณะนั้นแหละ เรากำลัง มีปัญจทวาราวัชชนะเป็นอารมณ์ โดยเปรียบเทียบเทียบกับมโนทวาราวัชชนะที่มีกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ว่า "แบบนี้ให้เกิด, แบบนี้ไม่ให้เกิด".

เพราะเราแก้กรรมไม่ได้, แต่เราฝึกอาวัชชนะได้นั่นเอง.

จักขุวิญญาณวิบาก มีเจตสิกเกิดร่วมแค่ 7 ดวง เพราะถูกรูป กรรม และ"กัมมชจักขุนทรีย์" บังคับให้เกิด ไม่ได้ตัดสินใจเกิดเอง

ถาม: หลายคนคงเคยสงสัยว่า ทำไมจักขุวิญญาณวิบาก จึงมีเจตสิกเกิดร่วมแค่ 7 ดวง ซึ่งไม่เท่ากับกุสลเจตนา หรือ อกุสลเจตนา ที่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยของตัวเองเลย?

ตอบว่า: จักขุวิญญาณวิบาก มีเจตสิกเกิดร่วมแค่ 7 ดวง เพราะเป็นจิตที่ไม่ได้แม้กระทั่งจะตัดสินใจเกิดด้วยอธิโมกขเจตสิก. แต่เกิดเพราะถูกรูปารมณ์  นานักขณิกกัมมปัจจัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กัมมชจักขุนทรีย์" บังคับให้เกิด ไม่ได้ตัดสินใจเกิดเอง เพราะไม่มีกระทั้งอธิโมกขเจตสิก ที่จะตัดสินใจยกสัมปยุตธรรม ควรญสัมปยุตธรรมไว้กับรูปารมณ์.

ยังไม่นับรวมว่า อกุสลเจตสิก เป็นวิสภาคะของวิบากปัจจัย, กุศลเจตสิกต้องได้อนันตรูปนิสสยปัจจัยจากโวฐัพพนะ/มโนทวาราวัชชนะ เป็นต้น ซึ่งจักขุวิญญาณล้วนบกพร่องปัจจัยมากมายเหล่านั้น.

แล้วอย่างนี้จะให้กุสลเจตสิก หรือ อกุสลเจตสิก มาเกิดร่วมกับจักขุวิญญาณได้ยังไง, จริงไหมครับ?

ทำไมกุสลวิบากมีกุสลมูล (อโลภะฯลฯ), แต่อกุสลวิบากไม่มีอกุสลมูล (โลภะฯลฯ)

นักศึกษาอภิธรรมใหม่ๆ หลายคนที่เรียนกามาวจรจิตจบแล้วสงสัยถามขึ้นว่า
"ทำไมกุสลวิบากมีกุสลมูล (อโลภะฯลฯ),  แต่อกุสลวิบากไม่มีอกุสลมูล (โลภะฯลฯ)"
ตอบว่า: 
เพราะอกุศลเจตนามีพรรคพวกน้อย (สูงสุดพร้อมกัน 20 ดวง) ไม่มีอกุสลินทริยปัจจัยเป็นต้นเป็นสหชาติ จึงมีพลังเป็นนานักขณิกกรรมปัจจัยให้สัมปยุตธรรมของอกุสลวิบากเกิดได้น้อย. 
ส่วนกุสลเจตนามีพรรคพวกมาก (สูงสุดพร้อมกัน 36 ดวง) ซึ่งพรรคพวกบางกลุ่มก็มีกำลังมากโดยเป็นอินทริยปัจจัยเป็นต้นได้. 

ทำไมถึงยกอินทริยปัจจัย? เพราะเป็นปัจจัยที่อกุสลเจตนามีไม่เท่ากุศลเจตนา.

อธิบายด้วยการจำแนกวิธีให้ดูว่า อกุสลวิบากเจตนาจะให้ผลทางตาต้องอาศัยรูปารมณ์กระทบกัมมชจักขุนทรีย์ ทำให้เกิดจักขุทวาราวัชชนะโดยปกตูปนิสสยปัจจัย จนเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยกะจักขุวิญญาณินทรียวิบาก (ที่มีจักขุนทรีย์เป็นอินทริยปัจจัย) ซึ่งจักขุวิญญาณินทรียวิบากก็เป็นอินทริยปัจจัยแก่สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 แน่นอน. จากนั้นก็เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยกะสัมปฏิจฉันนวิบาก แต่เพราะไม่มีกัมมชจักขุนทรีย์ เป็นอินทริยปัจจัยให้ อกุสลเจตนาจึงไม่สามารถจะทำให้เกิดจักขุวิญญาณินทรียวิบากได้ จึงทำให้เกิดสัมปฏิจฉันนะวิบากที่หทยวัตถุ, โดยอกุสลเจตนาจึงยังให้เกิดวิตักกวิบากเพื่อยกสัมปยุตวิบากขึ้นสู่อารมณ์ ยังให้เกิดวิจารวิบากเพื่อแนบสัมปยุตตวิบากไว้กับอารมณ์ ยังให้เกิดอธิโมกขวิบากเพื่อตัดใจสินใจทำกิจในอารมณ์ ทั้ง 3 ดวงนี้ ให้เกิดขึ้นมาเพื่อให้สัมปฏิจฉันนวิบากปรารภและอยู่กับอารมณ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยกัมมชจักขุนทรีย์. จากนั้น เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยให้เกิดสันตีรณวิบาก (ที่ไม่ชื่อสัมปฏิจฉันนะ เพราะไม่ใช้มนินทรีย์แรกที่อาศัยหทยวัตถุรู้รูปารมณ์นับจากจักขุวิญญาณินทรีย์ นอกนั้นอธิบายเหมือนดวงก่อนทุกอย่าง). จากนั้น เป็นอนันตรูปริสสยปัจจัยให้เกิดโวฏฐัพพนกิริยาซึ่งต้องมิวิริยะ เพราะไม่มีอกุสลเจตนาเป็นนานักขณิกปัจจัยให้เกิด เป็นความพยายามส่วนตัวล้วนๆ ครับ ที่จะตัดสินใจว่า "จะให้ชวนะเสพยังไง ดี? ไม่ดี?".

เมื่ออาวัชชนะเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยแก่กุศลก็จะต้องมีสัทธินทรีย์, สตินทรีย์, แน่นอน ซึ่งเป็นสัพพสาธารณกุสลเจตสิก ร่วมกับอโลภะ อโทสะ อยู่แล้ว (บังคับกันเกิดแน่นอน) และยังมีพรรคพวกรวมตัวเองแล้ว ก็ไม่น้อยกว่า 19 ดวงรอเกิดด้วยกัน (ในขณะที่อกุศล ร่วมกันมากสุด 8 ดวง). แต่ถ้าเป็นอกุศล จะไม่มีอินทรียปัจจัยพิเศษแบบนี้เลย มีแต่อินทริยปัจจัยที่กุสลเจตนามีเหมือนๆ กันอยู่แล้วเท่านั้นเอง.

นอกจากนี้ อกุศลยังมีพรรคพวกที่สร้างความร้าวฉานอีก คือ อุทธัจจะ ซึ่งคอยทำให้อกุสลเจตนาอ่อนแอลงไปอีก. ต่างจากกุสลปราศจากอุทธัจจะมาร้างความแตกแยกโดยสิ้นเชิง เพราะมีศรัทธาเป็นต้นในวัตถุควรศรัทธาจิตก็ตั้งมั่นด้วยดีกว่าอกุศล.

มากไปกว่านั้น กุศลยังฉลาดยิ่งขึ้นๆ ได้อีก มันสามารถกำจัดแม้กุสลเจตสิกที่ไม่ทำให้จิตมั่นคง อย่างวิตก วิจาร ปีติ ออกไปจนได้มหัคคตกุศลชั้นสูงๆ ขึ้นไปอีกด้วย

ยังมีมากๆ กว่านั้นอีก กุศลยังฉลาดขึ้นไปได้อีก สามารถขัดเกลาเวทนาที่หยาบ ให้ละเอียดขึ้นไปๆ อีกได้ด้วย.

มากที่สุด ของกุศล คือ สามารถรวบรวมพรรคพวกได้ทั้ง 38 (เกิดจริง 36 อีก 2 ดวงก็มีกำลังเต็มที่แต่ไม่ทำกิจกับปรมัตถอารมณ์ เลยไม่เกิดด้วย, ยังสามัคคีกันอยู่ ไม่ได้แตกแยกแบบอกุศล) ให้มีกำลังสูงสุด ทะลุโลก ไปเป็นโลกอุดร โลกุตตระไปเลยได้ด้วย.

นี่คือกำลังของกุศล ที่มีเหนืออกุศลในหลายๆ แง่ครับ.