วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นักอภิธรรมไทย ละเลยปัจจัยปัจจยุปบัน ทำให้วินิจฉัยธรรมะพลาด

นี่เป็นเรื่องเล่า:

ผมมีอาจารย์ที่ผมรักเคารพมากท่านหนึ่ง (สมมติว่าชื่อ พระอาจารย์ จ.) เป็นพระมหาเปรียญ 9 เคยบาลีใหญ่ และสอนอภิธรรม, เป็นผู้ที่ทรงปริยัติมากท่านหนึ่ง และท่านยังเป็นผู้รักษาพระวินัยดีรูปหนึ่งด้วย.

ท่านเป็นคนช่วยให้ผมได้บวชครั้งแรก และคอยช่วยเหลือผมตลอดตอนที่ผมบวชอยู่.

หลังผมลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส ผมได้มีความคิดเห็นกับพระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง (สมมติว่า ชื่อ พระอาจารย์ ส.) ที่ผมเคารพรักมากเช่นกัน เรื่อง "กลาปเป็นปรมัตถ์หรือบัญญัติ?".

ผมและพระอาจารย์เปรียญ 9 รูปนี้ เราทั้งคู่ต่างก็เคารพ เพราะพระอาจารย์ ส. ก็เป็นผู้มีทั้งความรู้ และประสบการณ์มาก เป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัย และเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกมากอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ชำนาญเรื่องอภิธรรมชนิดหาคนเทียบยาก.

ผมได้มีโอกาสสนทนากับ พระอาจารย์ จ. เรื่องกลาปะดังกล่าว ท่านก็คิดว่า พระอาจารย์ ส. เข้าใจถูก เพียงแต่มองคนละมุมกับผม คือ พระอาจารย์ ส. เข้าใจว่า "กลาปะเป็นปรมัตถ์ เป็นรุปฺปนลกฺขณํ หรือ มีรุปฺปนลกฺขณํ".

ผมก็ค้านว่า พระอาจารย์ ส. ไม่ได้แค่เข้าใจคนละมุมกับผม แต่เข้าใจผิดเลยต่างหาก. ซึ่งเหตุผลของผม ก็ตามรูปในลิงก์นี้.

พระอาจารย์ จ. ก็ยังยืนยันอีก แล้วก็พยายามอธิบายผมว่า "กลาปะกับรุปฺปนลกฺขณํ" แยกกันไม่ได้, แล้วก็ยกเรื่องอุปาทาบัญญัติขึ้นมา บอกว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์".

ผมก็แย้งอีกว่า "บัญญัติไม่ได้อาศัยปรมัตถ์ บัญญัติไม่มีอยู่จริง ไม่ได้เป็นปัจจยุปบันของอะไรเลย".

ผมก็ย้ำไปอีกว่า "การจะตัดสินความจริง แยกบัญญัติ กับ ปรมัตถ์ จะต้องพิจารณาปัจจัยปัจจยุปบัน". (ประเด็นนี้ พระอาจารย์ ส. ว่าไว้ถูก ท่านพูดเสมอว่า "จิตอาศัยปรมัตถ์รู้บัญญัติ" ท่านไม่เคยพูดว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์" อย่างที่พระอาจารย์ จ. กล่าว)

จากนั้น พอพระอาจารย์ จ. ไม่เข้าใจว่า ปัจจัยปัจจยุปบันเกี่ยวอะไรกับบทสนทนา จึงขอผมจบบทสนทนา.

ผมก็ยังเคารพรักท่านทั้งสองเหมือนเดิมนั่นแหละ เพราะคนเราผิดพลาดกันได้ ยังไงท่านก็มีดีกว่าผมเยอะ, แต่ก็เล่าให้เห็นว่า ปริยัติที่ไม่รอบคอบ ไม่พิจารณาปัจจัยปัจจยุปบันให้ละเอียด ไม่เข้าถึงสภาวะธรรม จะทำให้วินิจฉัยธรรมะพลาดจริงๆ ต่อให้คุณผ่านอะไรมามากมายก็เถอะ. ฉะนั้น อย่าลืมพิจารณาปัจจัยปัจจยุปบันให้ละเอียด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.