วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

[มหายาน]卍 《中阿含 ● 念處經》มัธยามาคม ● สติปัฏฐานสูตร -- สูตร ๙๘ 卍

พระสังฆเทวะ ชาวอินเดียเหนือ แคว้นแคชเมียร์แปลจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน เมื่อ ปี พุทธศักราช ๙๔๑
ธมฺมวินโย ภิกขุ (法律 比丘) แปลจากภาษาจีนสู่ภาษาไทยเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ณ สำนักจิตตานุปัสสนาศึกษา สาธารณรัฐไต้หวัน 

สารบัญ 
สติปัฏฐานสูตร

1.บทนำ 
2.อุเทศ
3.สติปัฏฐาน ๔ 
4.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
A.หมวดอิริยาบถ (การกำหนดรู้อิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔) 
B.หมวดสัมปชัญญะ (การกำหนดรู้อิริยาบถย่อยควบคู่กับอิริยาบถใหญ่)
C.หมวดจิตที่เป็นกุศลธรรม
D.หมวดข่มจิตด้วยจิต
E.หมวดอานาปานะ (การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก)
F.หมวดสมาธิภาวนา ๔ อย่าง(ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน)
G.หมวดมนสิการอาโลกสัญญา  
H.คำอุปา-คนอื่นพึงเห็นคนอื่น
I.หมวดปฏิกูลมนสิการ (การกำหนดรู้สิ่งปฏิกูล)
J.หมวดธาตุมนสิการ(การกำหนดรู้ธาตุทั้ง ๖) 
K.หมวดนวสิวถิกะ(การกำหนดรู้ซากศพ ๙ ประเภท) 
5.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
A.สุขเวทนา 
B.ทุกขเวทนา 
C.อุเบกขาเวทนา 
D.สามิสสุข 
E.นิรามิสสุข 
F.สามิสทุกข์ 
G.นิรามิสทุกข์ 
H.สามิสอุเบกขา 
I.นิรามิสอุเบกขา 
6.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
A.จิตที่มีและไม่มีราคะ
B.จิตที่มีและไม่มีโทสะ
C.จิตที่มีและไม่มีโมหะ
D.จิตที่หดหู่และจิตฟุ้งซ่าน
E.มหัคคตจิตเป็นต้น
7.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
A.หมวดอายตนะ(การกำหนดรู้อายตนะ) 
B.หมวดนิวรณ์ ๕ (การกำหนดรู้นิวรณ์) 
C.หมวดโพชฌงค์ ๗ (การภำหนดรู้โพชฌงค์) 
8.ผลแห่งการเจริญสติปัฏฐาน
9.คำลงท้ายพระสูตร 

經文(九十八)
สูตร ๙๘ 

《 念處經 》

สติปัฏฐานสูตรว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน


บทนำ

(1) 我聞如是:ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
(2) 一時,佛遊拘樓瘦,在劍磨瑟曇拘樓都邑。สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นกุรุ มีนิคมหนึ่งของแคว้นกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธรรม 

อุเทศ

 (3) 爾時,世尊告諸比丘:「有一道淨眾生,度憂畏,滅苦惱,斷啼哭,得正法,謂四念處。ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อเข้าไปตัดวัฏฏะ(เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง) หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
(4a) 若有過去諸如來、無所著、等正覺悉斷五蓋、心穢、慧羸,立心正住於四念處,修七覺支,得覺無上正盡之覺。แม้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่ได้มีแล้วในอดีตกาลทุกพระองค์ ทรงละนิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิต กระทำปัญญาให้ทุรพล มีพระทัยตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญ โพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
(4b) 若有未來諸如來、無所著、等正覺悉斷五蓋、心穢、慧羸,立心正住於四念處,修七覺支,得覺無上正盡之覺。แม้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จักมีในอนาคตกาลทุกพระองค์ จักทรงละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต กระทำปัญญาให้ทุรพล มีพระทัยตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง จักตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(4c) 我今現在如來、無所著、等正覺,我亦斷五蓋、心穢、慧羸,立心正住於四念處,修七覺支,得覺無上正盡之覺。ถึงแม้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต กระทำปัญญาให้ทุรพล มีพระทัยตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯ 

(5) 云何為四?觀身如身念處,觀覺如覺念處,觀心如心念處,觀法如法念處。

สติปัฏฐาน ๔ 

๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลายพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ๑ (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ๑ (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ๑ (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ๑ (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(6) 云何觀身如身念處?ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?

(7a) 比丘者,行則知行,住則知住,坐則知坐,臥則知臥,眠則知眠,寤則知寤,眠寤則知眠寤。

หมวดอิริยาบถ (การกำหนดรู้อิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔) 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน (เราเดิน)
หรือยืนอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน(เรายืน)  
หรือนั่งอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง(เรานั่ง)  
หรือเอนอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังเอน(เราเอน)  
หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน(เรานอน)  
หรือนอนหลับอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังนอนหลับ(เรานอนหลับ)
หรือตื่นอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังตื่น(เราตื่น)  
(หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ  อยู่  ก็รู้ชัดว่า  กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ)
(7b) 如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(8a) 復次,比丘觀身如身。比丘者,正知出入,善觀分別,屈伸低仰,儀容庠序,善著僧伽梨及諸衣鉢,行住坐臥、眠寤、語默皆正知之。

หมวดสัมปชัญญะ (การกำหนดรู้อิริยาบถย่อยควบคู่กับอิริยาบถใหญ่)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
ภิกษุเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัว(ผู้มีสัมปชัญญะ)ในการก้าวไป ในการถอยกลับ
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการพิจารณาให้ดีในการแยกแยะ
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว 
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก 
ย่อมทำความรู้สึกในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน  ในการยืน  ในการนั่ง  ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ 
(8b) 如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(9a) 復次,比丘觀身如身。比丘者,生惡不善念,以善法念治斷滅止。猶木工師、木工弟子,彼持墨繩,用絣於木,則以利斧斫治令直。如是比丘生惡不善念,以善法念治斷滅止。(ดูภาวนาสูตร เพิ่มเติม)

หมวดจิตที่เป็นกุศลธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อจิตอันเป็นบาปอกุศลเกิดขึ้น จึงใช้จิตที่เป็นกุศลธรรม เพื่อดับเพื่อทำลายจิตอันเป็นบาปอกุศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้  หรือลูกมือนายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไปเขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจิตอันเป็นบาปอกุศลเกิดขึ้น  จึงใช้จิตที่เป็นกุศลธรรม เพื่อดับเพื่อทำลายจิตอันเป็นบาปอกุศล ก็ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ 
(9b) 如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(10a)復次,比丘觀身如身。比丘者,齒齒相著,舌逼上齶,以心治心,治斷滅止。猶二力士捉一羸人,處處旋捉,自在打鍛。如是比丘齒齒相著,舌逼上齶,以心治心,治斷滅止。(ดูโพธิราชกุมารสูตรเพิ่มเติม)

หมวดข่มจิตด้วยจิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงกดฟันด้วยฟัน  กดเพดานด้วยลิ้น  ข่มจิตด้วยจิต  เพื่อดับเพื่อทำลาย ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือน(ดุจ)บุรุษมีกำลัง จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบไว้แน่น ให้ร้อนจัด ฉันใด เมื่อภิกษุกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต  เพื่อดับเพื่อทำลาย ก็ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ 
(10b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(11a)復次,比丘觀身如身。比丘者,念入息即知念入息,念出息即知念出息,入息長即知入息長,出息長即知出息長,入息短即知入息短,出息短即知出息短,學一切身息入,學一切身息出,學止身行息入,學止口行息出。

หมวดอานาปานะ (การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ 
ภิกษุมีสติหายใจเข้า  ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้า
มีสติหายใจออก ก็รู้ชัดว่า หายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น 
ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า  
ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักระงับกายสังขารหายใจออก 
(11b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(12a)復次,比丘觀身如身。比丘者,離生喜樂,漬身潤澤,普遍充滿於此身中,離生喜樂無處不遍。猶工浴人,器盛澡豆,水和成摶,水漬潤澤,普遍充滿無處不周。如是比丘離生喜樂,漬身潤澤,普遍充滿於此身中,離生喜樂無處不遍。(ดูเพิ่มเติมใน กายคตาสติสูตร กับ อังคิกสูตร และ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค-สมาธิภาวนา ๔ อย่าง)

หมวดสมาธิภาวนา ๔ อย่าง

ปฐมฌาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้ว พรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้  ภิกษุก็ชื่อว่า  สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ
(12b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(13a)復次,比丘觀身如身。比丘者,定生喜樂,漬身潤澤,普遍充滿於此身中,定生喜樂無處不遍。猶如山泉,清淨不濁,充滿流溢,四方水來,無緣得入,即彼泉底,水自涌出,流溢於外,漬山潤澤,普遍充滿無處不周。如是比丘定生喜樂,漬身潤澤,普遍充滿於此身中,定生喜樂無處不遍。 

ทุติยฌาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตกด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้วจะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้  ภิกษุก็ชื่อว่า  บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ
(13b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(14a)復次,比丘觀身如身。比丘者,無喜生樂,漬身潤澤,普遍充滿於此身中,無喜生樂無處不遍。猶青蓮華,紅、赤、白蓮,水生水長,在於水底,彼根莖華葉悉漬潤澤,普遍充滿無處不周。如是比丘無喜生樂,漬身潤澤,普遍充滿於此身中,無喜生樂無處不遍。 

ตติยฌาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ  เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในกออุบล กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวงหรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยง ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่าไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ  เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ
(14b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(15a)復次,比丘觀身如身。比丘者,於此身中,以清淨心意解遍滿成就遊,於此身中,以清淨心無處不遍。猶有一人,被七肘衣或八肘衣,從頭至足,於其身體無處不覆。如是比丘於此身中,以清淨心無處不遍。

จตุตถฌาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศรีษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้  ภิกษุก็ชื่อว่า บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ
(15b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(16a)復次,比丘觀身如身。比丘者,念光明想,善受善持,善憶所念,如前後亦然,如後前亦然,如晝夜亦然,如夜晝亦然,如下上亦然,如上下亦然,如是不顛倒,心無有纏,修光明心,心終不為闇之所覆。(ดูเพิ่มเติม ปุพพสูตร วิตักกสัณฐานสูตร และวิภังคสูตร) 

หมวดมนสิการอาโลกสัญญา  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  มนสิการอาโลกสัญญา  ย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา มีความสำคัญในเบื้องหน้าอย่างใด เบื้องหลังอย่างนั้นเบื้องหลังอย่างใด  เบื้องหน้าอย่างนั้นเบื้องล่างอย่างใด  เบื้องบนอย่างนั้นเบื้องบนอย่างใด  เบื้องล่างอย่างนั้นกลางวันอย่างใด  กลางคืนอย่างนั้นกลางคืนอย่างใด  กลางวันอย่างนั้นมีใจเปิดเผยไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ
(16b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(17a)復次,比丘觀身如身。比丘者,善受觀相,善憶所念。猶如有人,坐觀臥人,臥觀坐人。如是比丘善受觀相,善憶所念。(ดูเพิ่มเติมใน อังคิกสูตร และวิตักกสัณฐานสูตร)

คำอุปา-คนอื่นพึงเห็นคนอื่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  มนสิการถึงนิมิต(ปัจจเวกขณนิมิต)  ย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี  ด้วยปัญญา  เปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอนฉันใด  ภิกษุก็ฉันนั้นแล  แม้อย่างนี้  ภิกษุมนสิการถึงนิมิต ย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี  แทงตลอดด้วยดี  ด้วยปัญญา  ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ ฯ
(17b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(18a)復次,比丘觀身如身。比丘者,此身隨住,隨其好惡,從頭至足,觀見種種不淨充滿:我此身中有髮、髦、爪、齒、麁細薄膚、皮、肉、筋、骨、心、腎、肝、肺、大腸、小腸、脾、胃、摶糞、腦及腦根、淚、汗、涕、唾、膿、血、肪、髓、涎、痰、小便。猶如器盛若干種子,有目之士,悉見分明,謂稻、粟種、蔓菁、芥子。如是比丘此身隨住,隨其好惡,從頭至足,觀見種種不淨充滿:我此身中有髮、髦、爪、齒、麁細薄膚、皮、肉、筋、骨、心、腎、肝、肺、大腸、小腸、脾、胃、摶糞、腦及腦根、淚、汗、涕、唾、膿、血、肪、髓、涎、痰、小便。

หมวดปฏิกูลมนสิการ (การกำหนดรู้สิ่งปฏิกูล)
อาการ๓๒ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป  ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา  มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ  เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่ามีอยู่ในกายนี้  ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม  หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไต  ปอดไส้ใหญ่  ไส้น้อย  อาหารใหม่  อาหารเก่า  ดี  เสลด  น้ำเหลือง เลือด  เหงื่อมันข้น น้ำตา  เปลวมัน  น้ำลาย  น้ำมูก  ไขข้อ  มูตร  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง  ๒  ข้าง  เต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด  คือ  ข้าวสาลี   ข้าวเปลือก  ถั่วเขียว  ถั่วทอง  งา  และข้าวสาร  บุรุษผู้มีตาดี  แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่า  นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก  นี้ถั่วเขียว  นี้ถั่วทอง  นี้งา  นี้ข้าวสารฉันใด  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ฉันนั้น  เหมือนกันแล  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แลข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป  ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา  มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ  เต็มด้วยของไม่สะอาด  มีประการต่างๆ  ว่ามีอยู่ในกายนี้  ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนังเนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม  หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไต  ปอด  ไส้ใหญ่  ไส้น้อย  อาหารใหม่  อาหารเก่า  ดี  เสลด  น้ำเหลือง  เลือด  เหงื่อ  มันข้นน้ำตา  เปลวมันน้ำลาย  น้ำมูก  ไขข้อ  มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ 
(18b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(19a)復次,比丘觀身如身。比丘者,觀身諸界:我此身中有地界、水界、火界、風界、空界、識界;猶如屠兒殺牛,剝皮布於地上,分作六段。如是比丘觀身諸界:我此身中,地界、水界、火界、風界、空界、識界。

หมวดธาตุมนสิการ(การกำหนดรู้ธาตุทั้ง ๖) 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ  ธาตุวิญญาณ คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค แล้ว แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม  ธาตุอากาศ  ธาตุวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ 
(19b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
(20a)復次,比丘觀身如身。比丘者,觀彼死屍,或一、二日……至六、七日,烏鵄所啄,犲狼所食,火燒埋地,悉腐爛壞,見已自比:今我此身亦復如是,俱有此法,終不得離。

หมวดนวสิวถิกะ(การกำหนดรู้ซากศพ ๙ ประเภท) 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุ เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  อันตายได้วันหนึ่ง  หรือสองวัน  ตลอดถึงหกวัน หรือเจ็ดวัน อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง  หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ  ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง ที่ถูกไฟเผาจนไหม้เกรียมบ้าง ที่อยู่ในดินเปื่อยเน่าพุพองส่งกลิ่นเหม็นบ้าง  จึงน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า  แม้กายนี้แล  ก็เหมือนอย่างนี้  เป็นธรรมดา  มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้
(20b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(21a)復次,比丘觀身如身。比丘者,如本見息道骸骨青色,爛腐餘半,骨鎖在地,見已自比:今我此身亦復如是,俱有此法,終不得離。
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุ เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  ที่ขึ้นพอง  เขียวช้ำ  มีน้ำเหลืองเยิ้ม ที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน ที่ขาดกลางตัว  ที่เหลือแต่โครงกระดูกฝังไว้ในดิน จึงน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า  แม้กายนี้แล  ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา  มีความเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้
(21b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(22a)復次,比丘觀身如身。比丘者,如本見息道,離皮肉血,唯筋相連,見已自比:今我此身亦復如是,俱有此法,終不得離。ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุ เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่  จึงน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา  มีความเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้ 

(22b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(23a)復次,比丘觀身如身。比丘者,如本見息道骨節解散,散在諸方,足骨、膞骨、髀骨、髖骨、脊骨、肩骨、頸骨、髑髏骨,各在異處,見已自比:今我此身亦復如是,俱有此法,終不得離。
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุ เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง  กระดูกคางไปทางหนึ่ง  กระดูกฟันไปทางหนึ่ง  กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง  จึงน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า  แม้กายนี้แล  ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา  มีความเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้

(23b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(24a)復次,比丘觀身如身。比丘者,如本見息道骨白如螺,青猶鴿色,赤若血塗,腐壞碎粖,見已自比:今我此身亦復如是,俱有此法,終不得離。
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  เป็นกระดูกสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์  เป็นกระดูกสีเขียว ดุจนกพิราบ  เป็นกระดูกสีเลือดแดง  เป็นกระดูกที่ผุยุ่ยเป็นผงละเอียดแล้ว  จึงน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า  แม้กายนี้แล  ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา  มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้

(24b)如是比丘觀內身如身,觀外身如身,立念在身,有知有見,有明有達,是謂比丘觀身如身。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง  มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(25) 若比丘、比丘尼,如是少少觀身如身者,是謂觀身如身念處。
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุ ภิกษุณี อย่างน้อยที่สุด พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้แล ชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(26) 云何觀覺如覺念處?ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า?

(27a)比丘者,覺樂覺時,便知覺樂覺;
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
覺苦覺時,便知覺苦覺;
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
覺不苦不樂覺時,便知覺不苦不樂覺;
เสวยอทุกขมสุขเวทนา  ก็รู้ชัดว่า  เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา.
覺樂身、苦身、不苦不樂身;
หรือเสวยสุขเวทนาทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาทางกาย
หรือเสวยทุกขเวทนาทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาทางกาย
หรือเสวยเสวยอทุกขมสุขทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขทางกาย
樂心、苦心、不苦不樂心;
หรือเสวยสุขเวทนาทางใจ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาทางใจ
หรือเสวยทุกขเวทนาทางใจ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาทางใจ
หรือเสวยเสวยอทุกขมสุขทางใจ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขทางใจ
樂食、苦食、不苦不樂食;
หรือเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
เสวยอทุกขสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
樂無食、苦無食、不苦不樂無食;
หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรืออทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
樂欲、苦欲、不苦不樂欲;
หรือเสวยสุขเวทนามีราคะ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนามีราคะ
หรือเสวยทุกขเวทนามีราคะ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนามีราคะ
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนามีราคะ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีราคะ
樂無欲覺、苦無欲覺、不苦不樂無欲覺時,便知覺不苦不樂無欲覺。
หรือเสวยสุขเวทนาปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาปราศจากราคะ
หรือเสวยทุกขเวทนาปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนาปราศจากราคะ
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนาปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนาปราศจากราคะ

(27b)如是比丘觀內覺如覺,觀外覺如覺,立念在覺,有知有見,有明有達,是謂比丘觀覺如覺。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ

(28) 若比丘、比丘尼,如是少少觀覺如覺者,是謂觀覺如覺念處。ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุ ภิกษุณี อย่างน้อยที่สุด พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างนี้แล ชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(29) 云何觀心如心念處?ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?

(30a)比丘者,有欲心知有欲心如真,無欲心知無欲心如真;
ภิกษุในธรรมวินัยนี้  จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
有恚無恚、有癡無癡、有穢汙無穢汙;
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ
หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่
หรือจิตปราศจากหดหู่  ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากหดหู่
有合有散、有下有高、有小有大、修不修、定不定;
จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
หรือจิตปราศจากฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต
จิตไม่เป็นมหรคต  ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น
หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น
有不解脫心知不解脫心如真,有解脫心知解脫心如真。
จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น

(30b)如是比丘觀內心如心,觀外心如心,立念在心,有知有見,有明有達,是謂比丘觀心如心。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง  พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

(31) 若有比丘、比丘尼如是少少觀心如心者,是謂觀心如心念處。
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุ ภิกษุณี อย่างน้อยที่สุด พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้แล  ชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(32) 云何觀法如法念處?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไรเล่า?

(33a)眼緣色生內結。比丘者,內實有結知內有結如真,內實無結知內無結如真,若未生內結而生者知如真,若已生內結滅不復生者知如真。如是耳、鼻、舌、身、意緣法生內結。比丘者,內實有結知內有結如真,內實無結知內無結如真,若未生內結而生者知如真,若已生內結滅不復生者知如真。

หมวดอายตนะ(การกำหนดรู้อายตนะ)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตา รู้จักรูป และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปทั้ง ๒ นั้นเกิดขึ้น อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยสังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง ... ย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ย่อมรู้จักกาย รู้จักโผฏฐัพพะ ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒นั้นเกิดขึ้น อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้

(33b)如是比丘觀內法如法,觀外法如法,立念在法,有知有見,有明有達,是謂比丘觀法如法,謂內六處。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง  พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายใน ๖ อยู่ ฯ (และอายตนะภายนอก ๖ อยู่)

(34a)復次,比丘觀法如法。比丘者,內實有欲知有欲如真,內實無欲知無欲如真,若未生欲而生者知如真,若已生欲滅不復生者知如真。如是瞋恚、睡眠、掉悔、內實有疑知有疑如真,內實無疑知無疑如真,若未生疑而生者知如真,若已生疑滅不復生者知如真。

หมวดนิวรณ์  ๕ (การกำหนดรู้นิวรณ์)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่  อย่างไรเล่า ?ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรมคือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่  ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง  เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต  ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด  จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่  ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ กุกกุจจะ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิด ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  ดังพรรณนามาฉะนี้
(34b)如是比丘觀內法如法,觀外法如法,立念在法,有知有見,有明有達,是謂比丘觀法如法,謂五蓋也。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง  พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  คือ นิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ

(35a)復次,比丘觀法如法。比丘者,內實有念覺支知有念覺支如真,內實無念覺支知無念覺支如真,若未生念覺支而生者知如真,若已生念覺支便住不忘而不衰退,轉修增廣者知如真。如是擇法、精進、喜、息、定,比丘者,內實有捨覺支知有捨覺支如真,內實無捨覺支知無捨覺支如真,若未生捨覺支而生者知如真,若已生捨覺支便住不忘而不衰退,轉修增廣者知如真。

หมวดโพชฌงค์ ๗ (การภำหนดรู้โพชฌงค์)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดด้วยประการนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่  ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า  วิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่  ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิริยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดด้วยประการนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่  ณ ภายในจิต  ย่อมรู้ชัดว่า  ปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่  ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดด้วยประการนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า  ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่  ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดด้วยประการนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต  ย่อมรู้ชัดว่า  สมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่  ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดด้วยประการนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด  จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  ดังพรรณนามาฉะนี้.

(35b)如是比丘觀內法如法,觀外法如法,立念在法,有知有見,有明有達,是謂比丘觀法如法,謂七覺支。
ดังพรรณนามาฉะนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง  พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง มีสติตั้งมั่น(ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า)รู้ชัด ในธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  คือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ

(36) 若有比丘、比丘尼如是少少觀法如法者,是謂觀法如法念處。ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุ ภิกษุณี อย่างน้อยที่สุด พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างนี้แล ชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ

ผลแห่งการเจริญสติปัฏฐาน

(37a)若有比丘、比丘尼七年立心正住四念處者,彼必得二果:或現法得究竟智,或有餘得阿那含。
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุ ภิกษุณี ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้  อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

(37b)置七年,六五四三二一年。若有比丘、比丘尼七月立心正住四念處者,彼必得二果,或現法得究竟智,或有餘得阿那含。
๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑๑ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้ หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

(37c)置七月,六五四三二一月。若有比丘、比丘尼七日七夜立心正住四念處者,彼必得二果,或現法得究竟智,或有餘得阿那含。
๗ เดือน ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้  ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ...๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน  ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี  ๑๑ เดือน ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ คืน ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

(38) 置七日七夜,六五四三二,置一日一夜。若有比丘、比丘尼少少須臾頃立心正住四念處者,彼朝行如是,暮必得昇進;暮行如是,朝必得昇進。」
๗ คืน ๗ วัน  ยกไว้  ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด  ๖ คืน ๖ วัน...๕ คืน ๕ วัน... ๔ คืน ๔ วัน ...๓ คืน ๓ วัน... ๒ คืน ๒ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ๑ คืน ๑ วัน  ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด  เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯในเวลาเช้า  ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด  ในเวลาพลบค่ำวันเดียวกัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯในเวลาพลบค่ำ  ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด  ในเวลารุ่งเช้าวันถัดไป เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

(39) 佛說如是,彼諸比丘聞佛所說,歡喜奉行。

คำลงท้ายพระสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ได้สดับภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ก็พากันอนุโมทนาชื่นชมยินดี มีความศรัทธาน้อมรับไปปฏิบัติด้วยประการฉะนี้แล ฯ

ที่มาข้อมูลภาษาจีน :

1. 導讀《阿含經》: http://agama.buddhason.org/MA/MA098.htm
2.辭典:一行佛學辭典搜尋 :
(a)http://cbs.ntu.edu.tw/dict/
(b)epalitipitaka : http://epalitipitaka.appspot.com/zh_TW/
(c)佛學辭典:http://dictionary.buddhistdoor.com/
(d) 爱问●共享资料: http://ishare.iask.sina.com.cn/
(e) 香光尼眾佛學院圖書館 : http://www.gaya.org.tw/library/
(f)法鼓佛教學院佛學辭典 : http://buddhistinformatics.ddbc.edu.tw/glossaries/search.php
(g)臺灣博碩士論文知識加值系統 : http://ndltd.ncl.edu.tw/cgi-bin/gs32/gsweb.cgi/login?o=dwebmge
(h)台灣大學佛學數位圖書館暨博物館: http://buddhism.lib.ntu.edu.tw/DLMBS/index.jsp
(i)雜阿含經●經典原文:http://www.gaya.org.tw/library/b-ip/sutra/samyukta.htm
(j)CBETA 電子佛典集成 : http://tripitaka.cbeta.org/
(l) 梵文與梵文佛典網路資源的整合與建構 :http://homepage.ntu.edu.tw/~tsaiyt/htm/95NSC-1.htm
(m)台大獅子吼佛學專站 :http://buddhaspace.org/main/modules/dokuwiki/agama2:%E5%A6%82%E6%9C%AC%E8%A6%8B%E6%81%AF%E9%81%93%E9%AA%B8%E9%AA%A8
3.阿含經南北傳對讀 : http://agama.buddhason.org/MA/MA098.htm
4.《雜阿含經‧蘊 品》: http://tripitaka.cbeta.org/T02n0099
5.雜阿含經卷第一: http://tripitaka.cbeta.org/mobile/index.php?index=T02n0099_001
6.白話:
6.1.http://www.swastika.org.tw/introduction-4.htm
6.2.http://www.maha-sati.com/243733519937806-3862038463215473214730333354413569535299.html
6.3.http://big5.xuefo.net/nr/article7/74107.html
7.《雜阿含經論會編》(上) 五陰誦●陰相應● 第 1-35經http://www.fuyan.org.tw/main_edu/SA/01_SA-i%201-38.pdf
8.佛光電子大藏經 阿含藏 : http://etext.fgs.org.tw/Sutra/eSutra1.aspx?url=1a001.htm
9.Taishō Shinshū Daizōkyō (大正新脩大藏經) :http://21dzk.l.u-tokyo.ac.jp/SAT/index_en.html
10.CBETA 電子佛典 :
10.1.http://www.cbeta.org/
102.http://jinglu.cbeta.org/suttapitaka.htm
10.3.Buddhist Literature : http://www.douban.com/group/160118/

ศึกษาเพิ่มเติมจากภาษาบาลีและไทย :

1.มหาสติปัฏฐานสูตร : http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=10&p1=216&lang2=pali&commit=%E2%96%BA
2.สติปัฏฐานสูตร : http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=12&p1=73&lang2=pali&commit=%E2%96%BA
3.กายคตาสติสูตร : http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=14&p1=161&lang2=pali&commit=%E2%96%BA
4.อานาปานสติสูตร : http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=14&p1=152&lang2=pali&commit=%E2%96%BA

參考:http://agama.buddhason.org/MA/MA098.htmhttp://ibc.ac.th/faqing/node/167http://www.ss.ncu.edu.tw/~calin/textbook2008/H10.pdfhttp://www2.budaedu.org/newGhosa/C009/T034D/ref/T034D_01.pdfhttp://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=12&p1=73&lang2=pali&commit=%E2%96%BA#http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=10&p1=216&lang2=pali&commit=%E2%96%BAhttp://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=14&p1=152&lang2=pali&commit=%E2%96%BA#http://www.nkgen.com/13.htmhttp://www.buddhist-canon.com/PLAIN/danian.htmhttp://www.gaya.org.tw/publisher/faya/Satipatthana_%E3%80%8A%E5%BF%B5%E4%BD%8F%EF%BC%9A%E9%80%9A%E5%BE%80%E8%AD%89%E6%82%9F%E7%9A%84%E7%9B%B4%E6%8E%A5%E4%B9%8B%E9%81%93%E3%80%8B.pdf *

หมายเหตุ * เอกสารแปลฉบับนี้ ยังไม่สามารถนำไปอ้างอิงเป็นข้อยุติได้ เนื่องจากว่ายังอยู่ในช่วงระหว่างการขัดเกลาสำนวน เผื่อว่าจะมีกัลยาณมิตรผู้รู้ให้คำแนะนำและพิจารย์ เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในโอกาสการแปลครั้งต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้มีโอกาสพบปะสหธรรมิก มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมอุดมการณ์การทำงานแปลพระสูตรในโอกาสอันใกล้นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.