วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การเทียบพุทธศักราช กับคริสตศักราช


cr. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2032206660172627&set=a.339702419423068&type=3&theater

กว่าจะมาเป็น "พุทธศักราช"

มีข้อถกเถียงมากมาย ที่พยายามจะ
นับปีที่ 1 ที่ถูกต้องของพุทธศักราช
ซึ่งเริ่มนับจากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
โดยประเด็นที่น่าสนใจแบ่งเป็น 2 เรื่อง
ซึ่งเกี่ยวโยงกับพระเจ้าอโศกมหาราช คือ

1. พระเจ้าอโศก หรือ กาฬาโศก ?
ในการบันทึกของฝ่ายมหายาน
มีความเห็นแตกต่างกับฝ่ายเถรวาทที่นับ
อโศก เป็นคนๆเดียวกับ กาฬาโศก
ซึ่งเป็นผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 2
ตามความเห็นของหนังสือเชื่อมโยงไปในประเด็น
ความชอบธรรมของนิกายที่มีบุคคลสำคัญรับรอง
(เหตุการณ์ยุคพระเจ้าอโศก จับสึกพระใน
ฝ่ายมหายานเยอะมาก ทำให้มหายาน
ดูขาดความชอบธรรมในนิกาย จึงขยับมานับ
การสังคายนาครั้งที่ 2 แทนครั้งที่ 3)
ทำให้เกิดการนับใหม่จาก 543 ก่อน ค.ศ.
เป็น 300 กว่าก่อน ค.ศ. โดยประมาณ

2. พระเจ้าอโศก vs พระเจ้าอเล็กซานเดอร์
ในช่วงประมาณปี พ.ศ.1900 โดยเฉพาะใน
เยอรมันและอังกฤษ มีนักวิชาการเก่งๆเริ่มเอาจริง
เอาจังในการทำข้อมูลเรื่อยมาจนมีข้อสรุป
โดยอ้างอิงยุคจากประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของ
ทางตะวันตกซึ่งยุคพระเจ้าอโศก มีความใกล้เคียง
กับยุคพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ และเป็นช่วงที่มี
เอกสารการระบุช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์
ที่ชัดเจน จึงใช้เป็นตัวกำหนดหลักในการระบุ
เวลาย้อนกลับไปในอดีต ทำให้ได้ข้อสรุป
ทางวิชาการขึ้นใหม่ เปลี่ยนจากการนับ
543 ก่อน ค.ศ. เป็น 400 กว่าก่อน ค.ศ.

ปล. ส่วนการนับ 543 ก่อน ค.ศ. เป็นเอกสารที่
ยอมรับมติจากทางลังกา ซึ่งได้ใช้กันเรื่อยมา
หลายร้อยปีแถมบ้านเราก็ไม่ได้มีการถก
ประเด็นอะไรในเรื่องเหล่านี้จึงนิยมใช้กัน
ต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน

สรุปความจากหนังสือ
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
โดย เสถียร โพธินันทะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.