วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ล้วนเป็นอุปปันนธรรม ล้วนมีสังขตลักษณะ

อตีตธรรม คือ สังขตธรรมที่ถึงสังขตลักษณะ (อุปาทะ ฐิติ ภังคะ) ก่อนกว่า ปัจจุบันธรรม.
ปัจจุบันธรรม คือ สังขตธรรมที่ถึงสังขตลักษณะ (อุปาทะ ฐิติ ภังคะ) ก่อนกว่า อนาคตธรรม แต่หลังกว่าอตีตธรรม.
อนาคตธรรม คือ สังขตธรรมที่ถึงสังขตลักษณะ (อุปาทะ ฐิติ ภังคะ) หลังกว่าปัจจุบันธรรม.
ข้อความรู้:

  1. ปัจจุบันธรรมที่ดับไปแล้ว คือ อดีตธรรมของอนาคตธรรม, และอนาคตธรรม ต้องเปลี่ยนไปเรียกว่า ปัจจุบันธรรม เมื่อมันกำลังถึงสังขตลักษณะอยู่ แทนที่ปัจจุบันธรรมของมันผ่านสังขตลักษณะไปแล้ว. ด้วยเหตุนี้ กาลจึงเป็นเพียง อุปาทาบัญญัติ, อัตถบัญญัติ.
  2. ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันธรรม ทั้งหมดล้วนเป็นอุปปันนธรรม เพราะในอรรถกถากล่าวไว้ว่า อุปปันนธรรม คือ ธรรมที่ถึงสังขตลักษณะ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.