ปัญญา คิดถูกเสมอ ครับ, แต่ปัญญาสามารถเกิดสลับกับกุศลจิตที่ไม่มีปัญญา หรือแม้กระทั่งเกิดสลับกับมิจฉาทิฏฐิก็ยังได้. และการเกิดสลับกันนี้ ก็รวดเร็วมากจนคนทั่วไปแยกไม่ออก เข้าใจไปได้ว่า ปัญญาก็คิดผิดได้.
เช่นคิดว่าการทำวิปัสสนาจะทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ นี้เป็นปัญญา/แต่คิดต่อไปว่า การทำวิปัสสนาไม่ต้องพิจารณาอุปาทานขันธ์ทั้งหมดก็ได้ เช่นนี้วิปลาสก็ได้เป็นญาณวิปยุตก็ได้/พอติดใจ ยึดถือตามความคิดนั้น ทิฏฐิคตสัมปยุตก็ตามมา.
หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ยกมา ก็อาจจะมีปัญญาตอนคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึนกับคนอื่น (เข้ากับข้อ 2 ของสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา), แต่พอคิดต่อไปว่า การจะทำประโยชน์กับคนอื่นได้ต้องฆ่าสัตว์เพื่อมาทำยา, ตอนนี้ไม่มีปัญญาแล้ว เป็นบาป คือ เป็นโทสมูลจิตที่มีปัจจัยมาจากโลภทิฏฐิคตสัมปยุตอีกที. ก็จะเกิดสลับกันในทำนองนี้ ครับ.
จะเห็นได้นะครับว่า แยกกันชัดเจนระหว่างช่วงที่เป็นบาปบุญ. ถ้าเป็นปัญญา จะไม่ผิดแน่นอน, เช่นเดียวกับมิจฉาทิฏฐิ ที่จะต้องผิดแน่นอน, แต่ที่ทำให้ดูเหมือนว่าปัญญาผิด นั่นก็เพราะเราแยกแยะจิตช่วงที่ถูกกับช่วงที่ผิดไม่ออกจึงเหมารวมไปหมดนั่นเอง. อันนี้ต้องฉลาดในอภิธรรม ครับจึงจะแยกแยะได้.
การแยกแยะช่วงจิตนี้เป็น "ฆนวินิพโภคะ" อย่างหนึ่งครับ.
---------------------------------------------
เพิ่มเติม:
กุศล เกิดร่วมกับอกุศลไม่ได้ ครับ, ขณะที่เป็นกุศล ไม่มีอกุศลเกิดร่วม.
ในที่นี้ คือ เกิดสลับวาระกัน คือ เช่น
วาระแรกอาจจะคิดว่า "จะช่วยคน" (กุศล),
วาระต่อมา "คิดว่าจะช่วยด้วยการฆ่าสัตว์" (อกุศล),
วาระถัดไป อาจจะคิดว่า "ฆ่าสัตว์ เป็นบาป" (กุศล),
วาระถัดไปอีกอาจจะคิดว่า "บาปก็ต้องฆ่า" (อกุศล),
วาระต่อมาอาจคิดว่า "เพราะคนที่จะช่วยเป็นแม่ มีบุญคุณ" (กุศล),
ระหว่าง "บาปก็ต้องฆ่า" (อกุศล), กับ "เพราะคนที่จะช่วยเป็นแม่ มีบุญคุณ" (กุศล) จะมี "ฆ่าให้ผลดีหรือไม่ดี (โมหวิจิกิจฉา)" แทรกด้วย เป็นต้น.
▼
วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การสนทนาธรรม กับ การเอาชนะกัน บางทีก็ใช้คำพูดคำเดียวกัน
การสนทนาธรรม กับ การเอาชนะกัน บางทีก็ใช้คำพูดคำเดียวกัน, แต่สภาพกุศลจิตที่มีปัญญา กับ สภาพอกุศลจิตที่มีมานะ ย่อมต่างกันแน่นอน ครับ. ตรงนี้คนเรียนอภิธรรมมาแล้ว ต้องเห็นได้ดีกว่าคนอื่นๆ นะครับ, อย่าให้เขาว่าเอาได้ว่า "ใบลานเปล่า".
คำถามสำหรับวัด พาอ้าว (pa-auk) -2
- ปัสสติ,ปริคฺคหน, และ ววตฺถาน ในวิสุทฺธิมคฺค ต่างกันอย่างไร? ทำไมในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส แสดงสมถะยานิก ใช้ ปริคฺคห ววตฺถาน ปสฺสติ สลับที่กับ วิปัสสนายานิก?
- อุปฺปนฺน เช่น ภูตาปคตุปฺปนฺน เป็นต้น ในแต่ละที่ อรรถกถาอธิบายไว้ต่างกัน เพราะอะไร? อย่างไร?
- เรื่องพิจารณายาก่อนฉันมี 2 มติว่า "เภสชฺชํ สติยา ปจฺจโย โหติ" กับ "สติ ปริโภคสฺส ปจฺจโย" ใช่หรือไม่? อย่างไร?
- ในอุทยัพพยญาณ ฏีกาว่า พิจารณาจิตโดยปัจจุบันขณะได้, ส่วน อ. ปฏิสัมภิทามรรคว่า พิจารณาจิตโดยปัจจุบันขณะไม่ได้ นี้ต่าง เพราะท่านนึ่งกล่าวถึง ภูมิลัทธุปปันนขันธ์ ส่วนอีกท่านกล่าวถึง วัตตมานุปปันนขันธ์ ใช่หรือไม่? อย่างไร? และในญาณนี้ควรถือเอาโดยนัยยะของภูมิลัทธิปปันนะใช่หรือไม่?
- สจิตตกะ และ อจิตตกะ ของมูลสิกขา กับ กังขาวิตรณี ในสังฆาทิเสส ที่ต่างกันนั้น มีนัยยะพิจารณาอย่างไร?
- ไม่พ้นนิสสัย ปฏิบัติเองโดยการอ่านพระไตรปิฎก อรรถกถาเองมาเป็น 10 ปี มีโอกาสได้ฌาน ได้มรรคผล มากน้อยเพียงไร? เพราะอะไร?
- การระลึกชาติ รู้อารมณ์ของภวังค์ ในปัจจยปริคคหญาณ รู้ด้วยอำนาจฌานหรือวิปัสสนา? ทิฏฐิจริต คือ สุทธวิปัสสนายานิก ปฏิบัติได้หรือไม่? จำเป็นไหมที่ทิฏฐิจริต ต้องปฏิบัติ?
- อานาปานัสสติ-จุดกระทบ เฉพาะที่ปลายจมูก หรือ แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น รูเดียวเป็นต้น ที่ปรากฎก็ได้?
- มีอารมณ์ที่โล่ง สว่าง รู้สึกสุข แต่ไม่ปรากฎอารมณ์ เรียกว่า จิตไม่เป็นอานาปานัสสติใช่หรือไม่? อานาปานัสสติฌานจิต มีอารมณ์ที่โล่ง สว่าง รู้สึกสุข แต่ไม่ปรากฎอารมณ์ได้หรือไม่? (สำหรับโยคาวจรในไทยผู้ติดกรรมฐานกองนี้มานาน)
- พระอรหันต์หัวเราะได้หรือไม่? จิตที่ทำการสั่นไหวกายขณะหัวเราะ พอจะเป็นจิตของพระอรหันต์ได้หรือไม่? อย่างไร? ในพม่า มีกี่มติ? การหัวเราะตามๆ กัน มีในพระอรหันต์หรือไม่? อย่างไร?
- ในพระสูตร กล่าวไว้ว่า คนทั่วไปกำหนดจิตเจตสิกได้ยาก, เหตุใดในอรรถกถา จึงให้กำหนดจิตเจตสิกตั้งแต่เริ่มทำฌาน? ตั้งแต่เริ่มทำญาณแรกของอธิปัญญา (นามรูปปริจเฉทญาณ)?
- อุทยัพพยญาณพิจารณาโดยกองอื่นเช่น "เพราะอวิชชาเกิดจักขวายตนะจึงเกิด" และว่า "เพราะอวิชชาเกิดจักขวายตนะที่เป็นอดีตจึงเกิด" เป็นต้นหรือไม่? หากไม่ได้ เป็นเพราะเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทหรือไม่? อย่างไร?
- วิสุทธิ 5 ข้อหลัง มีข้อใดพิจารณาอสัมมสนรูปหรือไม่? เพราะเหตุไร? อย่างไร?
- วาระจิตขณะทำญาตปริญญามีบัญญัติสลับกับปรมัตถ์เป็นอารมณ์หรือไม่? อย่างไร (ขอความอนุเคราะห์ลำดับวาระให้ฟังพอสังเขป)? ตีรณปริญญาเล่า? มรรควิถีเล่า?
- หนักเบาเป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์? การใช้หนักเบาเป็นต้นมาทำรูปปริจเฉท เอามาจากอภิธรรม 2 ปกรณ์แรกใช่หรือไม่? เหตุใดจึงไม่ให้นำลักขณาทิจตุกะมาทำปริจเฉทะอย่างที่อภิธัมมัตถสังคหะว่าไว้? จำเป็นไหมที่ต้องใช้ลักขณาทิจตุกะมาทำนามรูปปริจเฉท?
- ข่มปีติ ทำอย่างไร?
- ละความกำหนัดในเสียง ด้วยวิธีใดได้บ้าง?
- ทำไมนามรูปปริจเฉทญาณกำหนดเพียง 7 เจตสิก?
- ทำไมจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานกล่าวการกำหนดวัตตมานุปปันนบาปไว้, ทำไมไม่ทำแบบทำแบบสัมมัปปธาน?
- เรื่องนิสสัยนั้น กถามรรคต่างจากจตุภาณวารอย่างไร?
- อรรถกถาทสสิกขาปทปาฐะ ข้อวิกาลโภชนะเป็นต้น ทำไมแสดงว่ามีมูลแค่ 2 ทั้งที่ อทินนาทานสิกขาบทแสดงไว้ว่ามีเวทนา 3?