ปัญญา คิดถูกเสมอ ครับ, แต่ปัญญาสามารถเกิดสลับกับกุศลจิตที่ไม่มีปัญญา หรือแม้กระทั่งเกิดสลับกับมิจฉาทิฏฐิก็ยังได้. และการเกิดสลับกันนี้ ก็รวดเร็วมากจนคนทั่วไปแยกไม่ออก เข้าใจไปได้ว่า ปัญญาก็คิดผิดได้.
เช่นคิดว่าการทำวิปัสสนาจะทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ นี้เป็นปัญญา/แต่คิดต่อไปว่า การทำวิปัสสนาไม่ต้องพิจารณาอุปาทานขันธ์ทั้งหมดก็ได้ เช่นนี้วิปลาสก็ได้เป็นญาณวิปยุตก็ได้/พอติดใจ ยึดถือตามความคิดนั้น ทิฏฐิคตสัมปยุตก็ตามมา.
หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ยกมา ก็อาจจะมีปัญญาตอนคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึนกับคนอื่น (เข้ากับข้อ 2 ของสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา), แต่พอคิดต่อไปว่า การจะทำประโยชน์กับคนอื่นได้ต้องฆ่าสัตว์เพื่อมาทำยา, ตอนนี้ไม่มีปัญญาแล้ว เป็นบาป คือ เป็นโทสมูลจิตที่มีปัจจัยมาจากโลภทิฏฐิคตสัมปยุตอีกที. ก็จะเกิดสลับกันในทำนองนี้ ครับ.
จะเห็นได้นะครับว่า แยกกันชัดเจนระหว่างช่วงที่เป็นบาปบุญ. ถ้าเป็นปัญญา จะไม่ผิดแน่นอน, เช่นเดียวกับมิจฉาทิฏฐิ ที่จะต้องผิดแน่นอน, แต่ที่ทำให้ดูเหมือนว่าปัญญาผิด นั่นก็เพราะเราแยกแยะจิตช่วงที่ถูกกับช่วงที่ผิดไม่ออกจึงเหมารวมไปหมดนั่นเอง. อันนี้ต้องฉลาดในอภิธรรม ครับจึงจะแยกแยะได้.
การแยกแยะช่วงจิตนี้เป็น "ฆนวินิพโภคะ" อย่างหนึ่งครับ.
---------------------------------------------
เพิ่มเติม:
กุศล เกิดร่วมกับอกุศลไม่ได้ ครับ, ขณะที่เป็นกุศล ไม่มีอกุศลเกิดร่วม.
ในที่นี้ คือ เกิดสลับวาระกัน คือ เช่น
วาระแรกอาจจะคิดว่า "จะช่วยคน" (กุศล),
วาระต่อมา "คิดว่าจะช่วยด้วยการฆ่าสัตว์" (อกุศล),
วาระถัดไป อาจจะคิดว่า "ฆ่าสัตว์ เป็นบาป" (กุศล),
วาระถัดไปอีกอาจจะคิดว่า "บาปก็ต้องฆ่า" (อกุศล),
วาระต่อมาอาจคิดว่า "เพราะคนที่จะช่วยเป็นแม่ มีบุญคุณ" (กุศล),
ระหว่าง "บาปก็ต้องฆ่า" (อกุศล), กับ "เพราะคนที่จะช่วยเป็นแม่ มีบุญคุณ" (กุศล) จะมี "ฆ่าให้ผลดีหรือไม่ดี (โมหวิจิกิจฉา)" แทรกด้วย เป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.