วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ตัวอย่างแปล ลักขณาทิจตุกะของสติ และวิธีแปลไม่ให้พลาด

แปลจากลักขณาทิจตุกกะของสติ:

สติที่ให้ประโยชน์สุขทั้ง 6 อย่าง จะไม่ลืมระลึกอารมณ์ที่จดจำไว้อย่างแม่นยำว่า "อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ทำให้เกิดประโยชน์สุข 6 อย่าง" เป็นต้น.

-------------------------------------
เป็นต้น = "นี้เป็นอารมณ์ให้พลาดประโยชน์สุข 6 อย่าง", "นี้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์สุข 6 อย่างด้วย ไม่ทำให้พลาดประโยชน์สุข 6 อย่างด้วย".
ประโยชน์สุข 6 อย่าง คือ ประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า ประโยชน์คือนิพพาน ประโยชน์ตนเอง ประโยชน์คนรอบข้าง ประโยชน์ส่วนรวม.
---------------------------
ดึงปัจจยธรรมมาแปลด้วยครับ, การแปลบาลี ให้แปลแบบสภาค ฆฏนา บางคำมาก่อน บางคำมาหลัง ต้องโยคมาให้ครบตามบริบท อย่างในที่นี้ลักขณาทิจตตุกกะของสติ มาในหมวดกุสลอยู่แล้ว บริบทก็กล่าวถึงกุศล ฉะนั้นเวลาแปลต้องไปโยคลักขณาทิจตุกกะของกุศล และลักขณาทิจตุกกะของสภาวธรรมอื่นๆ ที่ระบุไว้ในลักขณาทิจตุกกะ มาแปลด้วย (ในที่นี้ คือ ถิรสัญญาเจตสิก เป็นต้น), ไม่เช่นนั้น เท่ากับแปลไม่ครบ อรรถะตกหาย ก็จะขัดกับเนตติปกรณ์ทันที. นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมพระไตรปิฎกแปลฉบับปัจจุบันจึงอ่านยากมากๆ เพราะดึงปัจจยธรรมมาไม่ครบตามที่บริบทบาลีระบุไว้, และพระพุทธเจ้าจึงไม่ให้ท่องจำพระไตรปิฎกด้วยภาษาอื่น (ก็คือ ห้ามท่องจำรักษาด้วยฉบับแปลนั่นเอง)  ก็เพราะพอไปภาษาอื่นแล้ว ทำให้เวลาโยคสภาวะปัจจัยปัจจยุปบันแล้วมันมาได้ไม่ครบ เนื่องด้วยกฎของภาษาทุกภาษาที่ล้วนมีข้อแตกต่างกันอย่างมาก (เพราะลำดับบท 6 จะเป็นหาระจะพาผู้ท่องจำไปเข้าใจพยัญชนบท 6 จนได้อัตถบท 6 เมื่อได้แล้วก็เอาอัตถบท 6 มาทำกรรมนัย 2 พอเทียบองค์ธรรมได้ทิสใครทิสมัน เหล่ากอใครเหล่ากอมันแล้ว ก็จะสามารถใช้อัตถนัย 3 นำอรรถะออกมาจากพระสูตรได้) ครับ.

ผมใช้วิธีแปลแบบนี้ร่วมกับการท่องจำซ้ำๆ ในการทำความเข้าใจปฏิสัมภิทามรรค เป็นต้น. มันได้ผลยอดเยี่มมากๆ ครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.