วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มานะของพระโสดาบันเป็นอย่างไร? เรา กับ อัตตา ในคำว่า "นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา" ต่างกันตรงไหน?


มานะของพระโสดาบันเป็นอย่างไร? เรา กับ อัตตา ในคำว่า "นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา" ต่างกันตรงไหน?
คำว่า "นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา" ในอรรถกถาที่กล่าวถึงการปฏิบัติตั้งแต่ปุถุชนวิปัสสนา ไปจนถึงอรหัตตผล มักจะระบุว่า "นั่นเป็นเรา" = คิดด้วยมานะ "นั่นเป็นอัตตาของเรา"  = คิดด้วยทิฏฐิ.

(ที่แสดงแบบอื่นก็มี แต่น้อย และไม่ได้ใช้อธิบายในเรื่องวิปัสสนา)

ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า:

เรา (ในประโยคนั้น) คือ ขันธ์ มีอยู่จริง แต่มานะ ไปยกชูให้แตกต่างจากขันธ์อื่นๆ ราวกะว่า เป็นของเที่ยงกว่าขันธ์อื่นๆ ทั้งที่จริงๆแล้วก็ไม่เที่ยงเหมือนๆ กัน เกิดดับเหมือนๆ กัน เช่น พระโสดาบันคิดว่า "หลานของเราเป็นคนดี (กว่าของคนอื่น)" ท่านก็รู้ว่า ไม่มีอัตตาที่เป็นหลาน ท่านไม่ได้มีทิฏฐิคิดผิดว่า ขันธ์ที่เป็นหลายนั้นเที่ยง แต่ท่านยังเผลอสติคิดว่าขันธ์อันนั้นเที่ยง เพราะยังมีสัญญาวิปลาสว่าเที่ยง มีจิตตวิปลาสว่า เที่ยง อยู่.

ถ้าใครมาสอนพระโสดาบันว่า  "เด็กอายุ 20 เป็นคนแก่แล้ว" หรือ "อายุมากแล้ว" ท่านก็จะไม่ถกเถียง ไม่ดื้อดึงด้วยทิฏฐิเลย จะกล่าวสาธุการ เห็นดีเห็นงามด้วย,

แต่ถ้าคนที่มีสักกายะทิฏฐิ เวลามีคนไปพูดเช่นนี้ว่า "เด็กอายุ 20 เป็นคนแก่แล้ว" หรือ "อายุมากแล้ว" ก็จะรู้สึกแย้ง รู้สึกไม่เห็นด้วย รู้สึกขัดใจ (จะแสดงออกมาให้คนอื่นรู้หรือไม่ก็ตาม) เพราะขัดกับนิจจทิฏฐิวิปลาส สุขทิฏฐิวิปลาส สุภทิฏฐิวิปลาส อัตตทิฏฐิวิปลาส.

ส่วนอัตตา (ในประโยคนั้น) คือ ไม่ใช่ขันธ์ ไม่มีอยู่จริง เป็นอวิชชมานะ เป็นอัตถบัญญัติ เป็นสิ่งที่สักกายทิฏฐิคิดขึ้นมาเองให้รู้สึกราวกะว่ามีอยู่จริง ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่สักกายทิฏฐิไปเอาขันธ์นู้นมาผสมกับขันธ์นี้ แล้วก็คิดมั่วๆ ผิดความจริงจนเป็นอัตตาขึ้นมา เช่น ปุถุชนคิดว่า "เราเที่ยวเกิดวนไปเวียนมา" ไม่ได้รู้ว่า "เรา" ไม่มีอยู่จริง เป็นแค่ปัจจัยปัจจยุปบันอาศัยกันเกิดขึ้นเป็นวงล้อปฏิจจสมุปบาทเท่านั้นเอง.

แต่มานะที่เกิดตามหลังทิฏฐิ จะกลายเป็นอติมานะ ยกชูไม่ตรงกับสถานะที่เป็นจริง เช่น เราศีลแย่กว่าเขา ก็ไปคิดว่า เราศีลดีกว่าเขา เพราะไม่แยกแยะปฏิจจสมุปบาทว่า "ปุญญาภิสังขารกับอปุญญาภิสังขารให้ผลต่างกันอย่างไร" จึงคิดผิดว่า คนศีลแย่จะให้ผลดี (เลยสรุปไปเองตามอำเภอใจที่มีทิฏฐิมานะว่า คนศีลแย่คือคนศีลดี).

เรื่องนี้ ยากจริงๆ ผมค้นคว้ามา 10 กว่าปีแล้ว ก็ได้ข้อสรุปแค่นี้ ส่วนนึงเป็นเพราะภาษาไทยเก็บองค์ธรรมมาไม่หมดด้วย.


---------------บันทึกเบ็ดเตล็ด---------------------
#เขียนเอง
ปุถุชน มีอกุสลจิตตุปบาทเกิดได้ครบตามสมควร.
พระโสดาบัน สกทาคามี ไม่ทิฏฐิจิตตุปบาท และวิจิกิจฉาจิตตุปบาท.
พระอนาคามี ไม่มีโทสะจิตตุปบาท และกามราคจิตตุปบาท.
พระอรหันต์ ไม่มีอกุสลจิตตุปบาท.

ฉะนั้น มานะของปุถุชน จึงยกชูผิดได้ เพราะเกิดต่อจากทิฏฐิวิถีวาระที่มาก่อนๆ มานะวิถีวาระได้ เช่น "ผมของร่างกายที่เป็นเราในชาติหน้าจะต้องสวยแบบชาตินี้ด้วยบุญนั้นบุญนี้".
มานะของพระโสดาบัน สกทาคามี ยกชูไม่ผิด แต่ยังยกชูอาศัยกามได้ เช่น ผมเราสวย (กว่าผมที่ไม่สวยจริงๆ).
มานะของพระอนาคามี ยกชูไม่ผิด ไม่ยุ่งกับกาม เช่น กามไม่ดี เราไม่ยุ่ง เราหนีกามไปเกิดเป็นพรหมดีกว่า.

(อัฏฐสาลินี)
คำว่า มานะ หมายถึง ธรรมที่ให้ความสำคัญกะสัมปยุตตธรรมของตน.
ลักขณาทิจจตุกะของมานะ
มีการยกชูสัมปยุตธรรมขึ้นเป็นลักษณะ (อุนฺนติลกฺขโณ)
มีการยกย่องสัมปยุตธรรมเป็นรส (สมฺปคฺคหนรโส)
มีความปรารถนาดุจธงเป็นปัจจุปัฏฐาน (เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน)
มีโลภะ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน (ทิฏฐิวิปฺปยุตตฺตโลภปทฏฺฐาโน)
พึง ทราบว่า เหมือนคนบ้า.

มญฺญตีติ อภิมญฺญติ, อหํการํ กโรตีติ อตฺโถฯ เสยฺยาทิวเสน อุจฺจโต นมนํ อุณฺณติฯ สมฺปคฺคหรโสติ อุณฺณติวเสเนว อตฺตโน, สมฺปยุตฺตธมฺมานํ วา สมฺปคฺคณฺหนกิจฺโจ, น วีริยํ วิย ตํตํกิจฺจสาธเนนฯ อพฺภุสฺสหนวเสน หีนสฺส อตฺตานํ นีจํ กตฺวา คหณมฺปิ ปคฺคณฺหนวเสเนวาติ เวทิตพฺพํฯ เกตุ…เป.… ปจฺจุปฏฺฐาโนติ เอตฺถ เกตุ วุจฺจติ อจฺจุคฺคตธโช, อิธ ปน เกตุ วิยาติ เกตุ, อุฬารตมาทิภาโว, ตํ เกตุภาวสงฺขาตํ เกตุํ กมฺยตีติ เกตุกมฺยํ, ยสฺส ธมฺมสฺส วเสน ตํ เกตุกมฺยํ, โส เกตุกมฺยตาฯ ‘‘อห’’นฺติ ปวตฺตนโต มานสฺส ทิฏฺฐิสทิสี ปวตฺตตีติ ทิฏฺฐิมานา เอกจิตฺตุปฺปาเท น ปวตฺตนฺติ, ทฺเว เกสรสีหา วิย เอกคุหายํ, ตสฺมา มาโน ทิฏฺฐิวิปฺปยุตฺตจิตฺเต สพฺพทา อนุปฺปชฺชมาโนปิ ทิฏฺฐิสมฺปยุตฺตจิตฺเต นิยเมน อนุปฺปชฺชนโต ทิฏฺฐิวิปฺปยุตฺตโลภปทฏฺฐาโนฯ
อภิธมฺมาวตาร-ปุราณฎีกา,ฏีกา ข้อ 82

'มานะว่า "เป็นเรา" มีเหตุมาจากความคิดว่าขันธ์ทั้งหลายเที่ยงยั่งยืน, และมานะก็เป็นปฏิปักข์ต่อศรัทธาด้วย ข้าพเจ้าจึงกล่าวในปรมัตถทีปนีสังคหมหาฏีกาว่า "ด้วยอำนาจการเห็นว่าเที่ยง" เป็นต้น-อุนฺนติลกฺขโณ จ อหํ มาโน ขนฺเธสุ นิจฺจธุววิปลฺลาสมูลโก สทฺธาย จ ปฏิปกฺโขติ อาห ‘‘อนิจฺจทสฺสนวเสนา’’ติอาทิํฯ' (กมฺมฏฺฐานสงฺคหอนุทีปนา, แลดี สยาดอ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.