วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สติปัฏฐานทำอย่างไร (คำนำ): ฐานที่ตั้งให้เกิดกุศลทั้งปวง มีทานและศีล เป็นต้นล้วนเป็นสติปัฏฐาน แต่อาจไม่ใช่ภาวนา


ติดตาม "สติปัฏฐานทำอย่างไร" ในลิงก์นี้ (อัพเดทใหม่เรื่อยๆ): 

แต่เดิม เมื่อสนทนากันเรื่องสติปัฏฐาน ก็จะพูดถึงกันแต่มหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเป็นสูตรที่ว่าด้วยขยญาณ มีเฉพาะสติปัฏฐานที่เป็นภาวนา กล่าวไว้สำหรับอุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู อย่างชาวกุรุรัฐ ที่ฟังจบแล้วบรรลุเลย.
ในที่นี้จึงจะรวบรวม สติปัฏฐานอื่นๆ นอกเหนือจากสติปัฏฐานสูตร ที่มีอานิสงส์แบบเดียวกัน มาให้นำไปประพฤติปฏิบัติตามกำลังของท่านผู้อ่าน เพราะเมื่อว่าตามปทัฏฐาน (เหตุใกล้) ของสติเจตสิกที่ว่า "กายาทิสติปัฏฐานปทัฏฐานา สติ-พื้นฐานของสติ คือ สติปัฏฐานมีกายเป็นต้น" แล้ว, ก็กล่าวได้ชัดเจนว่า ฐานที่ตั้งให้เกิดกุศลทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน. แต่เฉพาะสมถะและวิปัสสนาเท่านั้น ที่เป็นภาวนาด้วย. 
เพียงแต่ว่าทานและศีล เป็นต้น เป็นสติปัฏฐาน ที่ไม่ใช่ภาวนา. อย่างไรก็ตาม เมื่อนำมาเป็นอารมณ์ของสมถภาวนาตามหลักอนุสสติสูตรเป็นต้นที่จะทยอยยกมาให้อ่านในบทความนี้ ก็จะเป็นทั้งสติปัฏฐานด้วย และเป็นภาวนาด้วย.
ฉะนั้น ผู้ที่ทำตามมหาสติปัฏฐานสูตรมานาน แต่ยังไม่บรรลุสักที ก็จะได้มีโอกาสลองทำสติปัฏฐานอื่นๆ ดูบ้าง ที่อาจจะเหมาะกับจริตของท่าน. รวมถึงอาจต่อยอดสติปัฏฐาน มีทานและศีลเป็นต้นของท่านที่อาจจะทำเป็นปกติทุกวันอยู่แล้ว ให้เป็นภาวนาต่อไปได้ด้วย.
กราบขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์สันติ อุตฺตมปุญฺโญ ที่สอนวิธีอ่านเรื่องสติปัฏฐานในพระไตรปิฎกตามหลักเนตติปกรณ์ให้กับผู้เรียบเรียง.

ติดตาม "สติปัฏฐานทำอย่างไร" ในลิงก์นี้ (อัพเดทใหม่เรื่อยๆ): 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.