ยึดติด = โลภะ (โทษมากกว่าคุณ)
ไม่ยึดติดเพราะหลง = โมหะ (โทษมากกว่าคุณ)
ไม่ยึดติดเพราะเข้าใจ = ปัญญา (คุณมากกว่าโทษ)
ไม่ยึดติดเพราะโกรธ = โทสะ (โทษมากกว่าคุณ)
จะเห็นว่า ไม่ยึดติดแบบเด็กๆ ส่วนมากเป็นโมหะ, ให้ผลเป็นทุกข์ เพราะจับไฟบ้าง, ล้มบ้าง, โดนแกล้งบ้าง, ทุกข์ปางตายบ้าง,ถึงตายบ้าง.
ส่วนคนมีปัญญา พอจะเป็นผู้ใหญ่ จะมองเห็นสังขารตามความเป็นจริงว่า สังขารทั้งปวงล้วนมีปัจจัยและปัจจยุปบันมากมาย, คนที่รู้จักกรอบเหล่านั้นดี ก็คาดการณ์อนาคต และเลือกทางเลือกที่ดี เหมาะควรแก่ผลดีๆ ได้มากเท่าที่ความรู้ตัวเองมี. กรอบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ หรือเทพเจ้าตนใดสร้างขึ้น. ไม่ได้เกิดขึ้นจากศาสนาใดๆ. เป็นเพียงธรรมชาติตามสภาพของสังขารธรรมเท่านั้น.
ฉะนั้น พวกคิดแต่จะไม่ยึดติด ไม่เลือกว่าจะเป็นจิตแบบใด บาปก็ไม่รู้บุญก็ไม่รู้ ก็จะเป็นเด็กต่อไป. ส่วนคนที่รู้จักกรอบของสังขาร ไม่ยึดติดเพราะเข้าใจกรอบปัจจัยปัจจยุปบันของสังขารเป็นอย่างดี เขาก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ ครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.