- มีวิธแยกบุคคล 4 อย่างไร (ตัวอย่าง)
▼
วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558
วินิจฉัยโดยวาระจิตและวิถีจิต จะยิ่งเห็นได้ชัดว่า กลาปะเป็นบัญญัติ
กลาปะ เป็นคำที่ใช้ในลักษณะเดียวกับฆฏนาในปัฏฐาน คือ กลุ่มก้อนที่เกิดพร้อมกัน. ถ้าอาวัชชนะถึงปฐวีรูปอย่างเดียว นามัคคหณวิถี จะไม่สามารถเรียกว่ากลาปะได้ เพราะอัตถัคคหณวิถีจะต้องรู้กลุ่มก้อนไม่ต่ำกว่า 8 รูปขึ้นไปที่เกิดพร้อมกัน (ที่ในตำราเรียกว่า สมูหฆน-อัตถบัญญัติ) แล้วนามัคคหณวิถีจึงจะเรียกว่า กลาปะ ได้, แต่แม้จะอาวัชชนะถึงปฐวีรูปอย่างเดียว นามัคคหณวิถีก็สามารถเรียกว่า รุปฺปนลกฺขณ ได้เลย เพราะปฐวีมีอยู่จริง มีทั้งปัจจัตตลักษณะของตน (กกฺขฬตฺตลกฺขณ) และปัจจัตตลักษณะของรูป (รุปฺปนลกฺขณ) ปญฺญัตฺติคคหณวิถีไม่จำเป็นต้องไปรู้รูป 8 รูปเป็นต้นใดๆ ก่อนที่จะเรียกปฐวีว่ารุปฺปนลกฺขณเลย, สามารถรู้รุปฺปนลกฺขณของปฐวีที่อตีตคฺคหณวิถีได้เลย. จากข้อความยังสามารถอธิบายได้อีกวิธีว่า ปฐวี (กกฺขฬตฺตลกฺขณ และ รุปฺปนลกฺขณ) เกิดได้จากปัจจัย. แต่กลาปะเกิดไม่ได้ เพราะไม่มีปัจจัย. จิตรู้กลาปะได้ เพราะเข้าไปอาศัยกลุ่มก้อนของรูปที่เกิดพร้อมกัน. ในขณะที่จิตรู้กลาปะ จิตไม่ได้รู้รุปฺปนลกฺขณํ หรือ กกฺขฬตฺตลกฺขณํ แต่รู้สมูหบัญญัติของรูปอย่างน้อย 8 รูปที่เกิดพร้อมกัน ซึ่งอาศัยกลุ่มของรูป (สมูหุปาทาย) ในการแสดงตัวให้ถูกจิตเจตสิกรู้ (ปญฺญาปิยตฺตา).
วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558
เรื่องจริง กับ เรื่องหลอก พิสูจน์ด้วยการวิเคราะห์องค์ธรรม แล้วหาปัจจัยปัจจยุปบัน โดยรอบ.
เรื่องจริง (สัจจะ) กับ เรื่องหลอก (วัญจนะ) พิสูจน์ด้วยการวิเคราะห์องค์ธรรม (นามรูปปริจเฉทญาณ) แล้วหาปัจจัยปัจจยุปบัน(ปัจจยปริคคหญาณ) โดยรอบ (ปริญญา). และเมื่อหาโดยรอบแล้ว คุณก็จะพบแต่ทุกขสัจจะ ที่มีแต่ลักษณะไม่เที่ยง ลักษณะทนอยู่ไม่ได้ ลักษณะไร้อำนาจ. ซึ่งในตอนท้ายของปัจจยปริคคหญาณนิทเทส ก็ว่าไว้โดยนัยนี้.