ผมจะอ่านแล้วแปลเป็นบาลี ครับ คือ พยายามกำหนดให้ได้องค์ธรรมตามหลักอภิธรรมตรงกับอรรถกถาเสียก่อน แล้วค่อยหาคำตอบตามแนวในพระไตรปิฎก อรรถกถา ครับ. ถ้าอ่านภาษาไทยให้เป็นไทย พยายามหาคำตอบด้วยภาษาไทย แม้ผมเอง ก็จะต้องงงเวลาที่เจอคำถามซับซ้อนมากแน่ๆ ครับ. ผมต้องแปลกลับไปที่องค์ธรรมตามหลักอภิธรรม แล้วค่อยตีกลับมาเป็นคำแปลภาษาไทยตามแนวบาลีอีกที ครับ (จะเห็นได้ว่า บทความส่วนมากจะมีบาลีกำกับตลอด). เหตุผลก็เพราะ ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาสภาวะ ครับ เลยต้องทำแบบนี้ เพื่อแยกสภาวะออกให้เป็นปริจเฉท.
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยไม่ใช่ภาษาสภาวะ เช่น รู้แล้วทำบาปนั่นแหละครับ. ถ้าบาลี จะต้องกำหนดไปเลยว่า เป็น ปัญญา หรือ สัญญา. แต่ภาษาไทยไม่มีคำเฉพาะที่ปริจเฉทออกมาแล้วได้อรรถะพอดีกับตัวสภาวะอย่างนั้น ครับ.
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงต้องพยายามนึกตัวภาษาบาลีให้ออก ก่อนจะวิเคราะห์คำถาม เพื่อให้สามารถหาคำตอบได้ตรงตามแนวของพระไตรปิฎก อรรถกถา มากที่สุด ครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.