วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แม้ธรรมะจะน่าเคารพในทุกภาษา, แต่เมื่อจะรักษาศาสนา ก็ควรจะรักษาไว้ในรูปแบบของภาษาบาลี.

ธรรมะ จะภาษาไหน ก็น่าเคารพ เพราะถ้าเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ทำให้บรรลุธรรมได้ ก็เป็นของที่ควรเน้น ควรทำให้หนักอยู่แล้ว ครับ.

พระพุทธเจ้าไปในแต่ละท้องถิ่น ก็ทรงแสดงบาลีในแบบของท้องถิ่นนั้นๆ ที่เขาฟังแล้วเข้าใจ ครับ.

แต่บาลี เป็นภาษาที่รักษาธรรมะ และไม่มีภาษาใดที่รักษาธรรมะได้ดีเท่าบาลี ครับ. ฉะนั้น เมื่อจะเรียนธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างพิศดาร จึงต้องกลับมาใช้ภาษาบาลี เพราะภาษาอื่นไม่รองรับสภาวะธรรมที่ลึกซึ้ง.

อย่างอภิธรรมที่เรียนๆ กันอยู่ ก็มีแต่ภาษาบาลีทั้งนั้น เพราะแปลไม่ได้ แปลแล้ว องค์ธรรมไม่ครบ เข้าใจกันไปคนละทิศทาง.

เช่น อภิญฺญาตํ ศัพท์นี้ มีอุปสรรค ธาตุ ปัจจัย ลิงค์ วิภัติ สมาส มีฐาน กรณ์ ปยตนะ และถ้าไปอยู่กับศัพท์อื่นก็มีสนธิอีก เป็นต้น เป็นของๆ ตนในแบบบาลี.

แต่พอแปลเป็นไทยปุ๊ปว่า "มีชื่อเสียง" คำนี้ถ้าไม่ลบทิ้งแล้วแปลศัพท์ใหม่ให้ตรงตามหลักบาลีน้อยก็หาอุปสรรค ธาตุ ปัจจัย วิภัติ ไม่ได้, ฐาน กรณ์ ปยตนะ ในภาษาไทย ก็มีน้อยกว่าบาลี ฉะนั้น ท่องไปท่องมา คำก็จะเหมือนกันไปหมด แล้วก็สับสน, สนธิภาษาไทยก็แทบไม่มี ติดกันเป็นพรืดไปหมด.

ฉะนั้น แม้ธรรมะจะน่าเคารพในทุกภาษา, แต่เมื่อจะรักษาศาสนา ก็ควรจะรักษาไว้ในรูปแบบของภาษาบาลี ครับ. ทั้งนี้ก็เพื่อความเข้าใจธรรมะอย่างครบถ้วนของผู้รักษาธรรมะเองจนถึงมรรคผลก่อน แล้วจึงจะรักษาโดยการมอบธรรมะ มอบมรรคผล ให้ผู้อื่น ครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.