เมื่อแยกสภาวะออกจากกันได้ รู้นามปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ แต่ละอย่างๆ ไม่ปะปนกัน จะไม่พบสัตว์บุคคล ใดๆ มีแต่ขันธ์เท่านั้น,
แม้เมื่อพิจารณาโดยปัจจัย ก็ไม่เห็นสัตว์บุคคลใดๆ ที่ทำให้ปัจจยุปบันเกิด มีเพียงสภาวะธรรม ที่เป็นปัจจัยปัจจยุปบันซึ่งกันและกันเท่านั้น. ตรงนี้ ญาณแรกต้องวิสุทธิ์จริงๆ ไม่งั้นทำไปทำมาก็จะมึนงงสับสน เป็นต้นเหตุของวิจิกิจฉา เพราะสาวหาเหตุแล้วไม่รู้ว่า เป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์ ก็จะได้สิ่งที่ไม่ใช่เหตุมาเป็นเหตุ สิ่งที่ไม่ใช่ผลมาเป็นผล วิจิกิจฉาก้จะเกิดจากตรงนี้.
จากนั้น อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ จะปรากฎชัดขึ้นมาก.
ยิ่งพิจารณาปัจจัย ยิ่งเห็นไตรลักษณ์ เห็นโทษ เพราะปัจจัยมากมาย ซึ่งไม่มีอะไรบังคับอะไรได้จริงๆ เลย อาศัยความพรั่งพร้อมของปัจจัยจริงๆ ปัจจยุปบันจึงเกิดขึ้นได้ (สภาคะ-ฆฏนา).
ท่านจึงให้น้อมไปเพ่งโทษเหตุเกิดหลักๆ ของขันธ์ คือ อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร และอุปาทขณะของรูปเป็นต้น. กิเลสจะค่อยๆหลุดลอกออกตรงนี้ ครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.