วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แยก"สติของทาน สติของศีล สติของสมถะ สติของวิปัสสนา"ด้วยคำถาม

หลายท่าน กำลังหาทางจำกัดความของสติของทาน สติของศีล สติของสมถะ สติของวิปัสสนา.
สติของทาน ต่างจาก สติของไตรสิกขา ด้วยคำตอบของคำถามว่า "ทำไมทานจึงไม่เป็นไตรสิกขา?"
สติของศีล ต่างจาก สติของภาวนา ด้วยคำตอบของคำถามว่า "ภาวนามาจากธาตุอะไร? มีคำขยายว่าอย่างไร? ภาวนาจัดเป็นอะไรในกุสลัตติกะ? ศีลเป็นบาทฐานของอะไร? ต่างจากภาวนาที่เป็นบาทฐานของอะไร?"
สติของสมถภาวนา ต่างจาก สติของวิปัสสนาภาวนา ด้วยคำตอบของคำถามว่า "อะไรบ้างไม่เป็นอารมณ์ของสมถะ? อะไรบ้างเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา? ไตรลักษณ์ข้อใดที่คนนอกศาสนารู้เองไม่ได้?"
ทำไมไม่ระบุองค์ธรรมไปเลย? ทำไมต้องตอบเป็นคำถาม? เพราะส่วนใหญ่ท่านเคยฟังมาในพระไตรปิฎกกันอยู่แล้ว แต่ท่านไม่เข้าใจโดยแท้จริง ฉะนั้น ต้องให้ท่านคิดเอง ฝึกสุตมยปัญญาในใจ ให้กลายเป็นสุตมยญาณด้วยตัวเองครับ.

อนึ่ง เถรวาท 18 นิกาย ก็เกิดจากผู้ที่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ไม่สมบูรณ์ครับ, ดูกถาวัตถุ.





ทั้งทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา โลกุตตรจิต ล้วนมีฌานปัจจัย(เอกัคคตาเจตสิก) ล้วนมีสติ ล้วนไม่มีนิวรณ์.
แต่ทาน ศีล วิปัสสนา เป็น ตทังคฌาน, สมาธิ เป็น วิกขัมภนฌาน, โลกุตรมรรค เป็น สมุจเฉทฌาน, โลกุตรผล เป็น ปฏิปัสสัทธิฌาน, ส่วนนิพพาน แม้ไม่มีสติ ไม่มีฌานเป็นปัจจัย แต่เมื่อไม่มีนิวรณ์เพราะดับปัจจัยเกลี้ยงดีแล้ว จึงชื่อว่า นิสสรณฌาน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.