▼
คำถามสำหรับวัด พาอ้าว (pa-auk) -1
คำถามสำหรับวัด พาอ้าว (pa-auk) -1
- ในประเทศไทยมีการวินิจฉัยว่า "กลาปะเป็นปรมัตถ์", สำหรับที่นี่แล้ว เมื่อกำหนดกลาปะด้วยวิปัสสนาญาณแล้ว กลาปะเป็นปรมัตถ์หรือบัญญัติ?
- ทำไมกุสลมีลักขณาทิจตุกะ, แต่กลาปะไม่มีลักขณาทิจจตุกะ? ลักขณาทิจตุกะของรูปเทียบเท่ากับลักขณาทิจตุกะได้หรือไม่? เพราะเหตุใด?
- พ.อ. พอจะคะเนได้หรือไม่ว่า ผู้ที่เข้าใจว่า "กลาปะเป็นปรมัตถ์" และ "กลาปะไม่ใช่ปรมัตถ์" นั้น อ้างอิงหลักฐานหรือหลักการอย่างไร?
- นิพพัตติลักษณะของรูปในอุทยัพพยญาณเป็นของรูปใดบ้าง? หรือว่าองค์ธรรมเท่ากับอุปจยรูป?
- ถ้าอุปจยรูปเป็นปรมัตถ์ได้, อุปาทขณะของจิตก็ต้องเป็นปรมัตถ์ใช่หรือ?
- ถ้าเทียบกับเรื่อง กาลเป็นอุปาทาบัญญัติ ในอัฏฐสาลินี, แสดงว่า อุปจย และอุปาทขณะ แม้เป็นชื่อที่ตั้งโดยอาศัยการเปรียบเทียบอาการของขันธ์ก็จริง, แต่เพราะไม่ได้สื่อถึงอาการ แต่สื่อถึงขันธ์นั่นแหละ แค่ตัดเอาเฉพาะอุปจยขณะ/อุปาทขณะมาแสดง ฉะนั้น จึงเป็นปรมัตถ์ เหมือนกับเรื่อง อนิจจัง และ อนิจจตา เป็นต้น ใช่ไหมครับ?
- ถ้าเทียบกับเรื่อง กาลเป็นอุปาทาบัญญัติ ในอัฏฐสาลินี, แสดงว่า อุปจย และอุปาทขณะ แม้เป็นชื่อที่ตั้งโดยอาศัยการเปรียบเทียบอาการของขันธ์ก็จริง, แต่เพราะไม่ได้สื่อถึงอาการ แต่สื่อถึงขันธ์นั่นแหละ แค่ตัดเอาเฉพาะอุปจยขณะ/อุปาทขณะมาแสดง ฉะนั้น จึงเป็นปรมัตถ์ เหมือนกับเรื่อง อนิจจัง และ อนิจจตา เป็นต้น ใช่ไหมครับ?
- ในทิฏฐิวิสุทธิ วิสุทธิมรรค ในเมื่อ กายทสกะนับไปแล้ว ในโกฎฐาสะ 42 ทำไมตอนท้ายถึงนับอีก ครับ? ถ้าแสดงคนละนัยยะ ทำไมฏีกาเอามานับรวมเป็น 1494 ? ถ้าแสดงนัยยะเดียวกัน ทำไมถึงกล่าวกายทสกะอีกตอนนับรูปที่เป็นวัตถุทวาร? และทำไมตรงวัตถุทวารไม่นับภาวทสกะ?
- การที่ปัญจทวาราวัชชนะอาศัยหทยวัตถุไปรับรู้อารมณ์ก่อนทวิปัญจวิญญาณทั้งๆ ที่อารมณ์กระทบอยู่กับปสาทะ ไม่ใช่หทยวัตถุ เช่นนี้มีปัจจัยใด(นอกจากอารัมมณุปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัยที่แวดล้อม)ที่เป็นเหตุสำคัญหรือไม่ที่ทำให้เกิดวิตก วิจาร อธิโมกข์ ในอารมณ์ใหม่? อย่างไร?
- มีเหตุผลอันลึกซึ้งในแง่ลักษณะก็ดี ในแง่ปัจจัยก็ดี มากน้อยแค่ไหน ที่ทำให้ปกิณณกะเจตสิก เกิดบ้าง ไม่เกิดบ้าง ในปัญจทวารวิถี เป็นต้น? (ปรารถนาจะฟังเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณา)
- ในประเทศไทย เชื่อกันว่า ปฏิบัติสติปัฏฐานสูตรแล้ว จะบรรลุนามรูปปริจเฉทญาณ, แต่บางท่านก็เชื่อว่า สติปัฏฐานสูตร เป็นตีรณปริญญา สอนแต่คนผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป. ผมเอง เคยสอบถามท่าน พ.อ. เรวตะ ท่านเองอนุเคราะห์ตอบมาว่า สติปัฏฐานสูตรเป็นขยญาณ. พระอาจารย์กุมาระ มองว่าสติปัฏฐานสูตร แสดงแก่บุคคลเช่นไร?
- สัจจบรรพะ แสดงแก่บุคคลเช่นไร? (ผมเองรู้สึกว่า บรรพะนี้ยาวมาก ละเอียดมาก ยังเป็นธรรมะโดยสังเขปหรือไม่?)
- อุปจาระของอิริยาบถบรรพะ เป็นพลววิปัสสนาสมาธิ หรือ สมถอุปจารสมาธิ? ถ้าเป็นพลววิปัสสนาสมาธิ ทำไมในอานาปานัสสติจึงกล่าวว่า วิปัสสนาสมาธิเป็นขณิกะเท่านั้น, ถ้าเป็นสมถอุปจารสมาธิ ทำไมในมหาสติปัฏฐานสูตรจึงกล่าวว่า อิริยาบถบรรพะเป็นกรรมฐานแนววิปัสสนา? อุปจาระกองอื่นๆ ในสติปัฏฐานสูตรเหมือนกันหรือไม่?
- "ปริญฺญา หิ อปริญฺญาปุพฺพิกา" ที่ฏีกากล่าวถึงเรื่องไม่ควรกำหนด 4 บรรพะ ก่อน หมายความว่าอย่างไร?
- สายปฏิบัติในประเทศไทย ที่สืบทอดมาแต่โบราณ ให้ทำอานาปานัสสติ แล้วเจริญวิปัสสนาอย่างย่อ, แต่ตลอดชีวิตมีการท่องจำปาติโมกข์เพียงแต่ภิกขุปาติโมกข์เท่านั้น เช่นนี้มีผลดี ผลเสีย ต่อมรรคผล ในระยะสั้นและระยะยาวหรือไม่? อย่างไร?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.