▼
วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ควรมีพรหมวิหาร ก่อนแยกแยะเดียรถีย์
พุทธเรียกทุกคนทั้งในและนอกศาสนาว่า "สัตว์" แปลอ้อมๆได้ว่า "#ผู้ที่ควรได้รับความปรารถนาดีทุกอย่าง 🥰 ความช่วยเหลือยามทุกข์ 🫂 ความร่วมยินดีในสุข 🏆 ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจตามความจริง (พรหมวิหาร 4)" ครับ. ก่อนจะแยกกันเป็นลัทธิ ให้ทำจิตให้เสมอกันแบบนี้ก่อนครับ ไม่อย่างงั้นแยกหมู่แล้วโลกร้อน ทะเลาะกัน แยกแล้วไม่คุยกันด้วยเมตตา.😅
วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564
วิธีแปลโยนิโสมนสิการ ให้ได้องค์ธรรมและบาลี
โยนิโสมนสิการ แปล บาลีตาม ฏีกา หรือ องค์ธรรมอภิธรรม จะเข้าใจง่ายครับ แปลว่า #่ใช้ข้อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นปัจจัยทำการน้อมอารมณ์มาใส่ใจ. อโยนิโสมนสการ คือ #น้อมอารมณ์มาใส่ใจโดยไม่ใช้ข้อปฏิบัติธรรมเป็นปัจจัย. ตัวอย่างเช่น มโนทวาราวัชชนะรับสีมาแล้ว เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยให้ชวนะ มนสิการอารมณ์นั้นต่อโดยใช้ความเข้าใจที่สมควรแก่ธรรม(สัมมาทิฏฐิเจตสิกเป็นต้น)ว่า "เป็นสีไม่เที่ยงเกิดดับ" เป็นต้น. แต่ถ้าข้อปฏิบัติไม่สมควรแก่ธรรมเป็นปัจจัยให้อโยนิโสมนสิการชวนะเกิด ก็มนสิการอารมณ์นั้นต่อโดยใช้ความเข้าใจผิดความไม่รู้(อวิชชา ทิฏฐุปาทาน เป็นต้น)ว่า "เป็นก้อนเราเที่ยงแท้" เป็นต้น.
วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2564
อยากเป็นผู้รู้ ผิดก็มี ถูกก็มี
ตราบเท่าที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ใครก็มีความอยากที่จะเป็นผู้รู้ทั้งนั้นครับ. แม้แต่พระอรหันต์ ไม่มีความอยากยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็ยังมีธัมมฉันทะ อยากทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ เช่นพระอรหันตเถระในมหาโคสิงคสาลสูตร ก็อยากจะไปฟังธรรมจากพระสารีบุตร. เพราะฉะนั้นเป็นสภาวะที่ละเอียดไม่ใช่จะตัดสินกันได้ง่ายๆครับ ว่าอันไหนเป็นความอยากได้ตัณหาควรละ และอันไหนเป็นความอยากด้วยกุศลฉันทะ ควรเจริญ. แค่เขาน้อมมาในกุศลได้ก็จัดว่าดีแล้วน่าอนุโมทนา.😊🙏