วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เมตตาไม่มีประมาณทางใจ แต่ทางกายวาจาก็ต้องรู้จักประมาณ


เมตตา คือ จิตหวังประโยชน์แก่ผู้อื่น.

เมตตามี 3 อย่าง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ. ซึ่งเมตตาที่ทำได้ต่อเนื่องเป็นภาวนาให้สมบูรณ์ไม่มีประมาณได้ คือ ทางใจ เท่านั้น เพราะไม่มีใครสามารถไปพูด หรือ ไปทำกิจกรรมร่วมกับสิ่งมีชีวิตทุกอย่างในจักรวาลนี้ได้.

เนื่องจากข้อเท็จจริง คือ คนทุกคนมีจิตเกิดได้ครั้งละดวงเท่ากัน แต่สรรพสัตว์มีจำนวนนับไม่ได้, ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมแม้จะสามารถภาวนาให้จิตมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ได้ แต่ไม่มีใครสามารถพูดหรือประพฤติตามใจคนอื่นได้ทุกอย่าง.

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

โสดาบันเป็นอย่างไร-how to be sotapanna


  1. ไม่มีสักกายทิฏฐิ - ไม่คิดด้วยมิจฉาทิฏฐิ 62 (ความเข้าใจผิดจากหลักเหตุผล 62 แบบ) ในสูตรแรกของพระไตรปิฎก (พรหมชาลสูตร) ด้วยการมีมัชฌิมาปฏิปทาในอริยสัจ. 
    • Sakkāyadiṭṭhi cessation-no 62 micchādiṭṭhi [62 misunderstanding of distorted conditions], which appeared in the first sutta of tipitaka (brahmajālasutta).
  2. ไม่มีวิจิกิจฉา - ไม่ลังเลสงสัยในหลักเหตุผลที่ตรงตามข้อเท็จจริง  (ปฏิจจสมุปบาท)  และไม่ลังเลสงสัยผู้ที่เข้าใจเหตุผลนั้น.
    • Vicikicchā cessation-no any doubt of right understanding of relative conditions and no any doubt of the noble one and their teaching who understanding that relativity.
  3. ไม่มีสีลัพพตปรามาสะ - ไม่ใช้ชีวิตทั้งไม่พูดและไม่ทำตามทิฏฐิ 62 นั้น.
    • Sīlabbataparāmāsa cessation- no living follow those 62 micchādiṭṭhi.


วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความสำคัญของวิสุทธิมรรค

สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค แปล  คนฺถารมฺภกถา (บางส่วน):

ข้าพเจ้าจะเว้นจากคำอธิบายซ้ำๆ กัน แล้วแปลอรรถกถา(กลับจากสิงหลเป็นบาลี) เพื่อความยินดีของคนดี, เพื่อความตั้งอยู่ได้นานของธรรมะ. ส่วนหัวข้อเหล่านี้ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้แล้วในวิสุทธิมรรค คือ: 
  1. สีล, ธุดงค์, 
  2. กัมมัฏฐานทั้งปวง ได้แก่ การจำแนกจริตกรรมฐาน, ฌานสมาบัติอย่างละเอียด, 
  3. อภิญญาทุกอย่าง, 
  4. ประมวลและวินิจฉัยเทศนาเกี่ยวกับปัญญาไว้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่มีเกินไปจากแบบแผนที่สอนสืบๆกันมา ได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท 
  5. รวมถึงวิปัสสนาภาวนาด้วย.
ดังนั้น ข้าพเจ้าจะไม่อธิบายเพิ่มเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านั้น ในอรรถกถานี้อีก(สุมังคลวิลาสินี). ฉะนั้น ก่อนนักศึกษาจะอธิบาย(อรรถกถา)พุทธภาษิตใดๆ ในนิกายทั้ง 4 ออกไป, นักศึกษาต้องตั้งวิสุทธิมรรคนี้ไว้ในท่ามกลางนิกายทั้ง 4 นั้นเสียก่อน, นี้คือจุดประสงค์ที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงวิสุทธิมรรคเอาไว้, ขอท่านทั้งหลายจงเรียน(ท่องจำ)คัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นกับอรรถกถา(สุมังคลวิลาสินี)นี้ แล้วทำความเข้าใจเนื้อความที่อยู่ในทีฆนิกายเถิด.