วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แม้ยังไม่ได้ได้นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ควรพิจารณาปัฏฐานในชีวิตประจำวัน

ในปฏิสัมภิทามรรค ไม่แสดงนามรูปปริจเฉทญาณไว้นะครับ.

ฉะนั้น การที่ปัฏฐานมีไว้ใช้เจริญปัจจยปริคคหญาณ, ไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่ได้นามรูปปริจเฉทญาณจะพิจารณาปัฏฐานไม่ได้นะครับ.

กลับกัน คนที่พิจารณาปัฏฐานให้ต่อเนื่อง เดี๋ยวก็ได้นามรูปปริจเฉทญาณก่อน ปัจจยปริคคหญาณเองครับ.

ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวนามรูปปริจเฉทญาณไว้ในปฏิสัมภิทามรรค และในนิทเทสจึงแสดงรวบสองญาณนี้ว่า ญาตปริญญา.

ฉะนั้น แม้ยังไม่ได้ได้นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ควรพิจารณาปัฏฐานในชีวิตประจำวันนะครับ.

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทั่วโลก เขาทำสมถะก่อนวิปัสสนากันทั้งนั้น


(ข้างล่างเป็นลิงก์ไฟล์เสียงบรรยายของผู้ทรงพระไตรปิฎก) 
#นิสัยเสีย ของนักเรียนอภิธรรมสมัยนี้ คือ พอเห็นโพสต์เกี่ยวกับสมถะ ก็จะมองข้ามไป ราวกับไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า. บางคนเลยเถิด ถึงขั้นแอนตี้พระภิกษุที่สอนสมถะ. 

ในขณะที่ #ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทั่วโลก เขาทำสมถะก่อนวิปัสสนากันทั้งนั้น, เพราะเขาท่องจำพระไตรปิฎก จึงเคารพลำดับในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่เริ่มด้วยอานาปานัสสติ.

#อย่าคิดว่า เป็นนักอภิธรรม นักวิปัสสนา แล้วจะไม่ต้องทำสมถะ, แค่ฟังธรรมแล้วไม่บรรลุทันที ก็ต้องกลับไปชำระศีลและทำสมถะแล้ว, เพราะถึงจะจับจดทำวิปัสสนาไปก็ไม่บรรลุ หากจิตไม่บริสุทธิจากนิวรณ์ (ต้องไม่มีอกุศลเกิดเลยทุกขณะจิต ด้วยสมถะ พลววิปัสสนาจึงจะเกิดได้).

ขนาดอูอาจิณณะ #เป็นนักอภิธรรมระดับโลก, ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้รักษาพระวินัย และเคร่งครัดปฏิบัติธรรม ท่านก็ยังสอนให้เริ่มทำกรรมฐานที่อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน, ซึ่งเป็นบาทฐานของกรรมฐานทั้งปวง ตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร. เหมือนๆ กับที่พระป่าของไทยทำสืบๆ กันมา.
หลักสูตรของผู้ทรงพระไตรปิฎกนั้นเหมือนกันทุกประเทศ. แม้กระทั่ง อูแลดีสยาดอ ซึ่งอูโชติกะอ้างอิงถึงบ่อยๆ ในหนังสือ ท่านก็ให้ทำอานาปานัสสติก่อนทำวิปัสสนากรรมฐาน ครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เหตุที่ศาสนาเสื่อมในปัจจุบัน และ วิธีแก้ไข

#เหตุที่ศาสนาเสื่อมในปัจจุบัน และ #วิธีแก้ไข:
ระบบเสียเพราะพระเถระและ #ต้องแก้ที่พระเถระ (แต่แก้ไม่ได้เพราะงานสอนงานนิมนต์เยอะมาก ไม่มีเวลาทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) คือ:
#ไม่ทำ สิ่งที่ทำสืบๆกันมา คือ

  • 0. ศรัทธาผู้ทรงจำพระไตรปิฎก เคร่งครัดพระวินัย และกรรมฐาน
  • 1. ท่านจึงสอนให้ฝึกฝนธรรมคือกรรมฐาน + เรียนวินัย
  • 2. #จนบรรลุพลววิปัสสนาขึ้นไป
  • 3. แล้วเรียนบาลี+ทรงจำพระไตรปิฎก
  • 4. แล้วสอนธรรมะ
#กำลังทำ สิ่งที่ปัจจุบันทำกันอยู่ คือ

  • 0. ติดใจอาจารย์สักคนนึง
  • 1. เขาให้อ่านพระไตรปิฎกเข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง
  • 2. #แต่ไม่ทันบรรลุอะไรๆ
  • 3. แล้วเรียนบาลี/สอนธรรมะ/หรือเรียนอื่นๆ เรื่อยเปื่อย
วิธี #ไม่แก้ คือ
เคยอยู่อย่างไร เคยทำอย่างไร เคยติดใจอาจารย์ไหน ก็ทำแบบเดิมๆ นั้น ต่อๆ ไป. พอตัณหาไปชอบสิ่งใหม่ค่อยเปลี่ยน.
วิธี #แก้ คือ
หาให้เจอ : ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก เคร่งครัดพระวินัย และกรรมฐาน
ถ้าหาไม่เจอ: เปลี่ยนสลับอาจารย์ ไม่ติดใจ ไม่ยึดถือใคร ยึดถือท่องจำแค่พระไตรปิฎกอรรถกถาเท่านั้น, จนกว่าจะเจอพระอาจารย์กรรมฐานที่ทุกอย่างจะตรงตามพระไตรปิฎก อรรถกถา ทุกประการ

  • -ทั้งโดยอรรถะ
  • -ทั้งโดยพยัญชนะ
  • -ทั้งโดยลำดับบุพพาปรสนธิอนุสนธิ
  • -ทั้งโดยโดยการประพฤติปฏิบัติ
  • -ทั้งโดยปฏิเวธะ
เรื่องที่หลักฐานพร้อมมูล #ควรตัดสินใจ ก็ตัดสินใจ(อย่าเป็นสัญชัยปริพาชก), เรื่องใดหลักฐานไม่พร้อมมูล #ควรค้นคว้าก่อน ก็ค้นคว้าเพิ่ม (อย่าสักแต่เดาว่าถูกผิด).
ใครให้หลักฐานในพระไตรปิฎก อรรถกถามา ก็ให้ตามไปท่องจำและวิจัยบาลีทั้งหมด ไม่อิดออด, เถียงฉอดๆ ไม่ทันตรวจสอบอะไร, #อย่าคิดว่าเสียเวลากับการค้นคว้าพระไตรปิฎก อย่าคิดว่าเสียเวลากับคำสอนของพระพุทธเจ้า.... หลักฐานจะมาจากตรงไหน ยากหรือง่าย ดูแล้วเข้าใจหรือสงสัยก็ตาม ก็ให้ค้นคว้าให้จบ ให้แตกฉาน แม้จะต้องเริ่มจากศูนย์ก็ตาม.
#ทำไปเรื่อยๆ คู่กับการแสวงหาอาจารย์กรรมฐานที่ทรงจำพระไตรปิฎก
เคร่งครัดพระวินัย ใส่ใจกรรมฐาน, #อย่าหยุดค้นหาท่านผู้นั้น, แล้วก็ฝึกกรรมฐานกับท่าน.