วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

การแชร์ประจาน มี 2 อย่าง แชร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ กับ แชร์มุ่งประทุษร้าย

การแชร์ประจาน มี 2 อย่าง แชร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ กับ แชร์มุ่งประทุษร้าย.
ในการแชร์ 2 อย่าง แชร์เพื่อประทุษร้าย มีโทษ. 
ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้า ยกชาดกเกี่ยวกับพระเทวทัศมาแสดง จะเห็นได้ว่า เป็นการประจาน แต่ไม่มุ่งประทุษร้ายเลย เป็นเพียงแต่อุทาหรณ์เท่านั้นครับ.
ฉะนั้น การแชร์แบบนี้ ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะเมื่อพิจารณาโดยลักษณะของจิตที่กระทำแล้วไม่มีโทสะประทุษร้ายในอารมณ์(อารมณ์ในที่นี้ คือ ผู้ถูกกล่าวถึง) ครับ.

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ปรมัตถ์ ไม่ได้แปลว่า ประเสริฐ เว้นแต่จะใช้กับกุศล หรือวิบากของกุศล หรือนิพพาน เท่านั้น.

ตรงนี้ต้องแก้นะครับ แปลผิดพลาดร้ายแรงมาก.
ปรมัตถ์ มี ๒ ความหมาย 
๑) สภาวะที่ประเสริฐ คือไม่วิปริต
วิ. ปรโม (อุตฺตโม อวิปรีโต) อตฺโถ ปรมตฺโถ
..............................
อุตฺตมตรงนี้ ไม่แปลว่าประเสริฐ ครับ.
ประเสริฐมาจาก เสฏฺฐ ซึ่งในบาลีแม้จะใช้ในหลายความหมาย แต่ในภาษาไทย มีความหมายไปในทางดี งาม เป็นกุศล หรือวิบากของกุศล หรือนิพพานเท่านั้น ครับ.
อุตฺตมตรงนี้ แปลว่า ที่สุด, ไม่สามารถมากไปกว่านี้ได้ มีแค่นี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงจะสอดคล้องกับ คำขยายที่ว่า อวิปรีตะ. ซึ่งจะเป็นที่สุดของสิ่งที่ดี (ประเสริฐ) หรือ ชั่ว (ไม่ประเสริฐ) ก็ตาม ก็เป็นปรมัตถ์ มีขอบเขตสุดรอบของตัวเองให้จิตเข้าไปกำหนดรู้ สัญญาเข้าไปจดจำ ให้จิตเจตสิกเข้าไปทำกิจกับตนเอง ให้ปัจจัยยังตนเองให้เกิดได้ ให้เกิดปัจจยุปบันของตนเองได้เหมือนๆ กัน ตามขอบเขต ตามที่สุดของตน ตามความไม่วิปริต ไม่เปลี่ยนแปลง มีขอบเขตของตนเอง ครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

ตราบที่ปัจจัยมีอยู่ ปัจจยุปบันนั้นเป็น ต้องเป็นนามหรือรูปเสมอ

นามรูป... จะกำลังเกิดขึ้นอยู่ หรือไม่ได้กำลังเกิดขึ้นอยู่ก็ตาม... นามรูปนั้นก็มีอยู่ ตามปัจจัยของตนที่ยังให้ผลได้อยู่.

ไม่ใช่ว่า "นามรูปที่กำลังเกิดขึ้นอยู่เท่านั้นมีอยู่จริง นามรูปที่ไม่ได้กำลังเกิดอยู่ไม่มีอยู่จริง" แบบที่อุจเฉทวาทีชอบพูดกัน.

ตราบที่ปัจจัยมีอยู่ ปัจจยุปบันนั้นเป็น ต้องเป็นนามหรือรูปเสมอ ไม่ว่ามันจะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ก็ตามนะครับ.

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

จิตกุศลของพระอริยะคิดถึงจิตจะฆ่าได้, แต่จิตจะฆ่าเกิดกับพระอริยไม่ได้เลย

จิตกุศลของพระอริยะคิดถึงจิตจะฆ่าได้, แต่จิตจะฆ่าเกิดกับพระอริยไม่ได้ เลยครับ.

เช่น ขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องปาณาติบาตอยู่ ขณะนั้นจิตกิริยา (ซึ่งเทียบเท่ากับจิตกุศล แต่ไม่ให้วิบากและกรรมชรูป) ของพระองค์ กำลังคิดถึงจิตจะฆ่าชีวิตินทรีย์ที่จะถูกฆ่า. แต่จิตจะฆ่าไม่ได้เกิดขึ้นเลย.

หรือตัวอย่างในคนธรรมดา เช่น ขณะคิดถึงตอนทีตนเองเคยตบยุง ขณะนั้น จิตของเขากำลังคิดถึงจิตจะฆ่ายุงในอดีต คิดถึงยุงที่ถูกฆ่า, แต่เขาอาจจะคิดถึงสิ่งเหล่านั้นอยู่ด้วยกุศลก็ได้ เช่นคิดว่า เราจะไม่ฆ่าแบบนั้นอีก ไม่ให้จิตแบบนั้นเกิดขึ้นอีก เป็นต้น.