วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ศีล 8 ขาดเสียสัจจวาจานิดหน่อย แต่ไม่รักษาเลยคือไม่มีสัจจะเลย, ทำศีลที่เพิ่มมาจากศีล 5 ขาดก็ไม่ทำให้ตกนรก (มีวิเคราะห์โดยนัยยะอภิธรรม)


จริงๆ แล้ว ศีล 4 ข้อของศีล 8 ต่างหาก 
ที่ปาปถึงขั้นทำให้ตกนรก, 
เพราะศีล 4 ข้อนั้น คือ ศีล 5 นั่นเอง, 
การผิดศีล 5 นี่แหละที่บาปถึงขั้นทำให้ตกนรก.

แต่คนส่วนใหญ่กลับไปเข้าใจว่า 
ผิดศีล 8 จะบาปทำให้ตกนรก, 
ซึ่งมันไปกั้นจิตใจให้ไม่กล้ารักษาศีล 8 
บ่อยๆ ครับ. 

----อธิบายอย่างละเอียดตามหลักอภิธรรม----

เวลาความคิดพวกนี้เกิด
ในคนที่ไม่ฉลาด จะมีมิจฉาทิฏฐิ
ศีลพตปรามาส วิจิกิจฉา เกิดสลับกันไป.
เพราะเวลาจิตคิด มันจะคิดเหมาว่า
"ศีล 8 ไม่ควรรักษาบ่อยๆ" ซึ่งมันจะเหมาเอาศีล 5
ที่อยู่ในศีล 8 ไปด้วย ทำให้ขัดกับ
หลักปฏิจจสมุปบาทฝ่ายข้างดับปัจจัย
เพราะปัจจัยดับไม่ได้
ถ้าไม่มีศีล 5 เป็นฐานตั้งมั่นของสมถะวิปัสสนา.

ส่วนในคนที่ฉลาดขึ้นมาระดับหนึ่
ก็จะแยกแยะศีล 5 กับศีล 8 ออกจากกันได้
จากการอ่านโพสต์นี้ แต่ก็จะมีอุปนิสสยปัจจัย
(อกุสลา ธัมมา กุสลัสสะ ธัมมัสสะ
อุปนิสสยปัจจเยนะ ปัจจโย)
จากมิจฉาทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลัพพตปราส
มาทำให้เกิดความคิดขึ้นอีกว่า
"เรารักษาได้แต่ศีล 5 ในตอนนี้, ศีล 8 ยังไม่พร้อม
, เดี๋ยวจะเป็นโคปาลกอุโบสถ"
ความคิดนี้ จะพบว่า ครึ่งแรกญาณสัมปยุต,
ครึ่งหลังเป็นอกุศล.

ทำไมความคิดครึ่งหลังจึงเกิดขึ้น?

เพราะไม่ฉลาดในเป้าหมายของศาสนาพุทธ
ที่ว่า "ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น บรรลุนิพพาน"
ถ้าเอาตามหลักนี้ จะ ศีล 5 หรือ ศีล 8
มันก็เป็นโคปาลกศีลได้ทั้งนั้น
ถ้าคุณไม่ได้ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพานอยู่.

ด้วยความไม่ฉลาดตรงนั้น ก็จะทำให้สำคัญผิดว่า
"ศีล 8 เท่านั้นเป็นโคปาลกะ, ศีล 5 ไม่เป็นโคปาลกะ"
พอไปผนวกกับอุปนิสสยปัจจัยที่กล่าวข้างต้น
ก็ทำให้คนที่ฉลาดสำคัญไปได้ว่า "เรารักษาได้แต่ศีล 5
ในตอนนี้, ศีล 8 ยังไม่พร้อม, เดี๋ยวจะเป็นโคปาลกอุโบสถ".

ซึ่งครึ่งหลังนี้ ถ้าตัดเรื่องโคปาลกะไป
คิดเพียงแต่ "ศีล 8 ยังไม่พร้อม" ยังเป็นกุศลได้อยู่,
แต่ถ้าคิดเรื่องโคปาลกะโดยวิธีข้างต้น
ด้วยโลภะว่า "เป็นอย่างนี้แหละ คือ ศีล 8
เท่านั้นเป็นโคปาลกะ" อย่างนี้
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะโลภะ ถือเอาสิ่งที่ผิดสภาวะ
เป็นอารมณ์ คือ เหตุกับผลไม่สอดคล้องกัน.
ซึ่งต่างจากเรื่องกัลยาณมิตรของพระอานนท์
ที่ท่านเพียงแต่ชั่งน้ำหนักไม่ถูกว่า
กัลยาณมิตรสำคัญต่อพรหมจรรย์เท่าไหร่.
แต่ท่านไม่ได้ปฏิเสธความสำคัญของกัลยาณมิตร.
ซึ่งถ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดก็เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตได้
เพราะอาจพูดเพื่อยกตน อวดตน หรือ
ชื่นชอบในความคิดนี้และสิ่งที่เนื่องกับมันเป็นพิเศษ เป็นต้น.

นี่ยังไม่รวมถึง การกลัวผิดสัจจวาจาอธิษฐาน
ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว คนที่ไม่พยายามสมาทานศีล 8
เป็นคนไม่มีสัจจะเลยต่างหาก,
การพยายามสมาทานศีล 8 คือ
การพยายามริเริ่มจะมีสัจจะใหม่ๆ
มันไม่ได้ทำให้สัจจะที่มีอยู่เดิมด่างพร้อยเลย
และสัจจะใหม่ คือ ศีล 3 ข้อหลัง
และอพรัหมจริยเวรมณิ ก็ไม่ใช่สัจจะที่มีอยู่แล้ว
ดังนั้น การไม่รักษาเลยนั่นแหละ จึงเป็นการ
ไม่มีสัจจะวาจาอธิษฐานรักษาศีล 8 คือ ขาดศีล 8
ไปโดยสมบูรณ์ ส่วนการพยายามรักษา
แม้จะขาดไปบ้าง ก็ยังไม่ใช่การขาดแบบสมบูรณ์
เป็นการขาดชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
คือ เสียสัจจะแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
การรักษาแล้วขาดไปบ้าง
จึงดีกว่าการไม่รักษาศีล 8 เลยเห็นๆ
เพราะอย่างน้อยๆ ก็ยังมีศีล 8 บ้าง
ไม่ใช่ไม่มีเลย ไม่เคยเลย
และไม่เป็นการผิดสัจจวาจาเลยครับ.

ฉะนั้น พยายามรักษาศีล 8 กันบ่อยๆ เถอะครับ,
ได้มากกว่าเสียแน่นอน.

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

พระใช้ของลิขสิทธิ์ควรหรือไม่?

แม้การที่พระภิกษุใช้ของผิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา* จะไม่ทำให้พระภิกษุต้องอาบัติ เพราะลิขสิทธิ์ไม่ใช่สิ่งของที่เคลื่อนจากฐานได้ และเจ้าหน้าที่รัฐก็รู้เห็นเป็นใจด้วย จึงไม่ครบองค์ขาด. 

แต่พระภิกษุก็ไม่ควรใช้ครับ เพราะ... 

  1. ถ้าเขาฟ้องขึ้นมา ศาลสามารถสั่งปรับสินไหม แล้วต้องชดใช้ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ ที่นี้สมณะธรรมก็ไม่ต้องทำกันแล้ว บิณฑบาตรใช้หนี้ก็คงหมดเวลา ครับ.
  2. พระภิกษุต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชน เพราะก้อนข้าวที่เขาหามาด้วยความยากลำบาก เขาเอามาถวายท่าน ด้วยหวังว่าจะเห็นท่านมีวินัย มีศีล มีคุณธรรม, อย่าทำตัวเป็นคนที่เลี้ยงเสียข้าวสุกครับ.


*ของผิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  ในที่นี้ หมายถึงวัตถุของพระ แต่แนวคิดที่ใช้ทำวัตถุคนที่ทำให้พระไปลอกคนอื่นมา.

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

การตั้งการตอบกระทู้ในเฟซบุคก็ตาม... ในพันทิพก็ตาม... ในธรรมจักรก็ตาม... คนที่กล่าวถูกแล้ว, ไม่ควรต่อความยาว....

การตั้งการตอบกระทู้ในเฟซบุคก็ตาม... ในพันทิพก็ตาม... ในธรรมจักรก็ตาม... คนที่กล่าวถูกแล้ว, ไม่ควรต่อความยาว, ตั้งกระทู้แล้ว, ตอบกระทู้อีกเพียงหนึ่ง ก็ต้องสามารถหยั่งรู้อนาคตได้แล้วว่าควรจะมีการตอบ ที่สอง ที่สาม ต่อหรือไม่? บุคคลบางประเภท ไม่ควรแม้เพียงเพื่อเหลือบตาเห็น. แต่เมื่อจำเป็นต้องเห็น, อย่าเห็นบ่อยๆ อย่าตามเห็น อย่าถกเถียงให้ยืดยาว, เพราะเราจะเสียทั้งเวลา เสียทั้งนิสัยครับ.